ป่วน นักท่องเที่ยวชาวกัมพูชา แสดงเชิงสัญลักษณ์ ป่วนปราสาทตาควาย | สนามข่าว 7 สี
1 ดูสนามข่าว 7 สี - สถานการณ์ความตึงเครียดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา มีนักท่องเที่ยวกัมพูชาป่วน แสดงเชิงสัญลักษณ์ บริเวณปราสาทตาควาย ทำให้ทหารไทยที่ประจำการในพื้นที่เตือนอย่าหลงกลกับการยั่วยุ นักท่องเที่ยวชาวกัมพูชา ป่วนปราสาทตาควาย คลิปภาพเหตุการณ์ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวกัมพูชาเดินเข้าไปป่วนที่ปราสาทตาควาย อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ โดยมีพฤติกรรม คือ คาดผ้าขาวม้า ติดธงชาติกัมพูชา แสดงสัญลักษณ์ ทำให้ทหารไทยต้องรีบเข้าไประงับไม่ให้เหตุการณ์บานปลาย แต่นักท่องเที่ยวกัมพูชาไม่เข้าใจ ทหารไทยต้องทำเสียงขึงขัง ยืนยันว่า การท่องเที่ยวต้องยึดกฎกติกา ต้องเคารพสถานที่ และหากมั่นใจว่า ปราสาทตาควาย เป็นของนักท่องเที่ยวให้ยกกลับไป ก่อนมีนักท่องเที่ยวไทยเข้ามาตักเตือน บอกว่า อย่าเก่งมาก ๆ หวิดเกิดเหตุชุลมุน แต่สุดท้ายเหตุการณ์จบลงด้วยดี นักท่องเที่ยวแห่เที่ยว ปราสาทตาเมือนธม คึกคัก ผลจากเสียง พล.ท.บุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2 เชิญชวนคนไทยเข้ามาเที่ยวชมปราสาท 3 แห่ง ของจังหวัดสุรินทร์ คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และ ปราสาทตาควาย ทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยวช่วงสุดสัปดาห์ เฉพาะที่ปราสาทตาเมือนธม อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ มีนักท่องเที่ยวล้นหลาม ทำให้การจราจรติดขัดยาวเหยียดร่วมกิโลเมตร เรื่อยไปจนถึงปราสาทตาเมืองโต๊ด แน่นอนว่าพอนักท่องเที่ยวเยอะขนาดนี้ ส่งผลให้พ่อค้าแม่ค้าพลอยขายสินค้าทั้งอาหาร เครื่องดื่ม ขายดิบขายดีกว่าทุกวัน แต่ก็เผลอไม่ได้ มีมิจฉาชีพแฝงตัวมาในคราบนักท่องเที่ยว ฉกตะกร้าใส่เงินทอนของแม่ค้าขายถั่วต้มหายไปทั้งตะกร้า มีเงินอยู่ประมาณ 300-400 บาท ขณะเดียวกัน มีนักท่องเที่ยวชาวกัมพูชาที่แห่มาเที่ยวชมปราสาทตาควายหลายคน พกเงินสดสกุลเงินเรียล เดินแจกให้ทหารกัมพูชา ได้คนละ 2,000 เรียล หรือประมาณ 16 บาทไทย แถมด้วยลูกอมอีกคนละ 2 เม็ด กระทรวงการต่างประเทศ ยืนยัน MOU 43 ไม่ใช่สนธิสัญญา ที่ให้ปักปันเขตแดน แต่เป็นการให้สำรวจพื้นที่ พูดคุยใน JBC ที่ทำเหมือนกับเพื่อนบ้านพื้นที่ติดกัน กลับกัน พ่อ-ลูก ผู้นำกัมพูชา โพสต์กล่าวหาว่า ไทยลงนามให้ปักปันเขตแดน ฮุน เซน-ฮุน มาเนต พร้อมใจโพสต์ MOU 43 สมเด็จฯ ฮุน เซน ประธานวุฒิสภา และอดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา และ นาย ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา พร้อมใจกันโพสต์เอกสาร MOU 43 หรือ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่ชัดเจนเรื่องแนวเขตชายแดนแนวเดิม เหมือนต้องการสร้างความชอบธรรมในการยื่นศาลโลก ทั้ง ๆ ที่ในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว อ้างถึง แผนที่สมัยสนธิสัญญา กำหนดเขตแดน สยาม-ฝรั่งเศส จริง แต่ไม่ได้เป็นสนธิสัญญาหรือข้อผูกมัดตามกฎหมาย เป็นเพียงการตกลงกันเกี่ยวกับขั้นตอนการสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนใหม่ โดยความร่วมมือระหว่าง 2 ประเทศ เท่านั้น กระทรวงการต่างประเทศไทย ยืนยัน บันทึกความเข้าใจ หรือ MOU 43 ที่ระบุว่า ทั้งไทย และกัมพูชา จะต้องเจรจาหารือกันในกรอบทวิภาคี โดยใช้กลไกคณะกรรมาธิการร่วมชายแดน หรือ JBC ประเทศไทยยึดมั่นอย่างเคร่งครัด เช่นเดียวกับการแก้ไขปัญหาเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ในกลไก JBC ที่คืบหน้าเป็นที่น่าพึงพอใจ โดยการเจรจาเขตแดนทางบกระหว่างกับ มาเลเซีย และ สปป.ลาว สำเร็จกว่า 90 ที่เหมือนกับกัมพูชาใช้ JBC กับประเทศเพื่อนบ้านของตัวเองเช่นกัน อยากเรียกร้องให้กัมพูชาปฏิบัติตามพันธกรณีที่ให้ไว้ ที่ไทยรอคอยมา 12 ปี แต่กัมพูชาละเมิดไม่ยอมเจรจาชายแดน รวมถึงการนำพื้นที่ขัดแย้ง 4 จุด เข้าหารือใน JBC ทำให้การประชุมหยุดชะงัก กดติดตามช่อง CH7HD News ได้ที่ : https://cutt.ly/YTch7hdnews ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ https://news.ch7.com #สนามข่าว7สี #ข่าวช่อง7 #CH7HDNEWS ติดตาม CH7HD News และ TERO Digital ได้ที่ : https://linktr.ee/ch7hdnews_tero
เล่นอัตโนมัติ