16 ก.ค. วันงูโลก นักล่าผู้รักษาสมดุลโลก
งู (Snake) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไม่มีขา มีตั้งแต่สายพันธุ์ที่เล็กเท่าเส้นสปาเกตตีไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ยาวกว่า 10 เมตร เช่น งูหลามหรืองูอนาคอนดา
งูส่วนใหญ่เป็นผู้ล่าระดับกลางในห่วงโซ่อาหาร (mesopredator) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมประชากรสัตว์ฟันแทะอย่างหนู ที่เป็นศัตรูพืชและพาหะนำโรค เช่น กาฬโรคและโรคฉี่หนู หากไม่มีงู ประชากรหนูอาจพุ่งสูงจนส่งผลเสียต่อการเกษตรและสุขภาพของมนุษย์นอกจากนี้ งูยังเป็นต้นทางสำคัญของการพัฒนายาและเวชภัณฑ์ในทางการแพทย์พิษงูถูกนำมาสกัดผลิตเซรุ่มต้านพิษงูรวมถึงยาแผนปัจจุบันหลายชนิด เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาลดความดันโลหิต และยารักษาโรคหัวใจ ซึ่งมาจากการศึกษาพิษของงูสายพันธุ์ต่าง ๆ
นักอนุรักษ์และนักนิเวศวิทยาชี้ว่างูคือหนึ่งในตัวชี้วัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ป่าเนื่องจากงูอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การลดจำนวนของงูในพื้นที่ใด อาจบ่งชี้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบนิเวศโดยรวม เช่น การตัดไม้ทำลายป่า มลพิษ หรือความเสื่อมโทรมของแหล่งอาหาร
แต่แม้จะมีบทบาทสำคัญ งูกลับเป็นหนึ่งในสัตว์ที่ถูกคุกคามมากขึ้นเรื่อย ๆ จากหลายปัจจัย เช่น
- การสูญเสียถิ่นอาศัยจากการบุกรุกพื้นที่ป่า
- การค้าสัตว์ป่าเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงหรือของแปลก
- ภาวะโลกร้อนที่กระทบต่ออัตราการสืบพันธุ์ของงู
- อคติและความกลัวที่ทำให้คนจำนวนมากทำร้ายหรือล่างูอย่างไม่มีเหตุผล
วันงูโลกจึงไม่ใช่แค่วันแห่งการเฉลิมฉลอง แต่เป็นวันที่ทั่วโลกร่วมกันสร้างความตระหนักว่างูไม่ใช่สัตว์อันตรายเสมอไป และไม่ควรตกเป็นเหยื่อของความเข้าใจผิดองค์กรอนุรักษ์สัตว์หลายแห่งทั่วโลก รวมถึงกลุ่มAdvocates for Snake Preservation (ASP)ได้เรียกร้องให้สังคมปรับมุมมองต่อสัตว์ชนิดนี้ โดยเฉพาะในเชิงการศึกษาและอนุรักษ์ โดยเน้นว่า “การรักษาชีวิตงู คือการรักษาสมดุลของระบบนิเวศทั้งระบบ”
ดังนั้น ในโลกที่ทุกชีวิตต่างเชื่อมโยงกัน การอนุรักษ์งูไม่เพียงแค่ช่วยปกป้องสัตว์ชนิดหนึ่ง แต่ยังหมายถึงการช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและเสถียรภาพของระบบนิเวศโดยรวมให้ดำรงอยู่ต่อไปอย่างสมดุลและยั่งยืน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- “ค้างคาว” ฮีโร่แห่งนาข้าว งานวิจัยชี้ช่วยลดศัตรูพืชได้จริง!
- โลกร้อนทำ “เลิฟบั๊ก” ระบาด จับคู่ผสมพันธุ์กลางอากาศทั่วกรุงโซล
- “นก” กว่า 500 สายพันธุ์ กำลังจะหายไปในศตวรรษนี้ และอาจพลิกระบบนิเวศทั่วโลก
- “หิ่งห้อย” กำลังสูญพันธุ์ สัตว์เรืองแสงที่ใกล้ดับสูญ
- ปลาหมึกทะลักทะเลอังกฤษ โชคดีของชาวประมง หรือภัยเงียบจากโลกร้อน?