โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ลุ้นสหรัฐลดภาษีไทย ไม่เสียเปรียบประเทศในอาเซียน

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

*** คอลัมน์ฐานโซไซตี หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ “ลึก ตรงประเด็น เห็นโอกาส” ฉบับ 4,115 ระหว่างวันที่ 20-23 ก.ค.2568 “ว.เชิงดอย” ประจำการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ที่มีสาระ เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะเช่นเคย

*** เรื่อง “ภาษีส่งออก” ไปสหรัฐอเมริกา หรือที่เรียกว่า “ภาษีทรัมป์” ยังคงต้องจับตากันอย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะเหลือเวลาอีกราว 2 สัปดาห์ ก่อนที่จะถึง “เส้นตาย” ที่ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ สหรัฐขีดเอาไว้ คือ วันที่ 1 ส.ค. 2568 สำหรับ “ประเทศไทย” จะเจอกับการจัดเก็บภาษีตอบโต้ในอัตรา 36%

ก่อนหน้านั้น รัฐบาลสหรัฐ ได้กำหนดภาษีส่งออกในกลุ่มประเทศอาเซียน ดังนี้ ไทย ภาษีส่งออกไปสหรัฐ อยู่ที่ 36%, กัมพูชา ภาษีสูงสุด 49%, ลาว ภาษี 36%, ฟิลิปปินส์ ภาษีเดิม 17% เพิ่มเป็น 20%, อินโดนีเซีย ภาษี 32% ก่อนทำดีลลดเหลือ 19% ผ่านข้อตกลงพิเศษ, มาเลเซีย ภาษีเบื้องต้น 24–25%, เวียดนาม โดน 46% ก่อนเจรจาลดลงเหลือ 20–40% แล้วแต่สินค้า  สำหรับอัตราภาษีในกลุ่มอาเซียน ขณะนี้“ไทย” เสียเปรียบที่สุด รองจากลาว และ กัมพูชา เนื่องจากถูกปรับเป็น 36% สูงกว่าประเทศใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งเวียดนาม และ อินโดนีเซีย

*** เหตุที่“ไทย” จะเจอกับผลกระทบหนักจากมาตรการภาษีของสหรัฐ ก็เนื่องจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออก สินค้าไทยที่ส่งไปสหรัฐ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ อะไหล่ยานยนต์ และ การเกษตร มีสัดส่วนสูง ภาษี 36% จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น กระทบการแข่งขันในตลาดสหรัฐ เสียเปรียบทั้ง เวียดนาม และ อินโดนีเซีย …จะก่อให้เกิดการย้ายฐานการผลิต ผู้ประกอบการไทยอาจถูกบีบให้ย้ายฐานไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม หรือ อินโดนีเซีย เพื่อลดต้นทุนภาษี, ภาษีที่สูงขึ้นจะลดแรงจูงใจของนักลงทุนต่างชาติ ที่จะใช้ไทยเป็นฐานผลิตเพื่อส่งออกไปสหรัฐ

ขณะเดียวกัน หากไทยโดนภาษี 36% จะส่งผลกระทบต้นทุน +36% ปัญหาการแข่งขันสินค้าไทยมีต้นทุนสูงขึ้นทันที ตลาดสหรัฐเผชิญคู่แข่งอื่นที่ภาษีต่ำกว่า ทั้งจากอาเซียน เอง และ จากประเทศนอกอาเซียน, ยอดส่งออกจะหดตัวลงทันที, นักลงทุนสหรัฐ อาจไม่ใช้ไทยเป็นฐานผลิต จะแสวงหาประเทศที่มีภาษีต่ำกว่า เช่น อินโดนีเซีย (19%) หรือ เวียดนาม (20%) , การลงทุนใหม่อาจหดตัว เกิดการเคลื่อนไหวของสายผลิต ย้ายฐาน , แรงกดดันค่าเงินบาท อัตราดอกเบี้ย เงินบาทอาจอ่อนค่า ทำให้นำเข้าสินค้าและวัตถุดิบแพงขึ้น ดันอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นเพื่อดูแลเงินเฟ้อ

*** ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ออกมาพูดถึงข้อกังวลของผู้ส่งออกไทย 8 ประเด็นสำคัญ คื่อ 1.การขึ้นภาษีทำให้ต้นทุนสินค้าของสหรัฐสูงขึ้น ช่วงที่ผ่านมาผู้นำเข้ามีการกดดันต่อรองด้านราคาและให้ช่วยรับภาระค่าภาษี กระทบต้นทุนของผู้ส่งออกไทย ทำให้ผู้ส่งออกต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น 2.ราคาสินค้าในสหรัฐ เริ่มมีการปรับตัวสูง กระทบการบริโภคในประเทศลดลงหาก หลังวันที่ 1 ส.ค. หากประเทศผู้นำเข้าส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถตกลงด้านการลดภาษีนำเข้า จะกระทบต่อราคาสินค้าในตลาดสหรัฐให้สูงมาก และกระทบผู้นำเข้าต้องหาเงินทุนหมุนเวียนในการจ่ายภาษีมากขึ้น

3.เริ่มเห็นสัญญานการลดลงของออเดอร์ส่งออก โดยเฉพาะคำสั่งซื้อระยะยาวที่ลดลง ความกังวลของผู้ส่งออกหากยังคงอัตราภาษี 36% ผู้ประกอบการอยู่ไม่ได้ พบว่า ออเดอร์จากสหรัฐ เริ่มไหลไปเวียดนาม ที่มีอัตราภาษีต่ำกว่าไทย และต้นทุนโดยรวมต่ำกว่าไทย 4.ช่วงตั้งแต่เดือน ก.ค. กำลังการผลิตของผู้ส่งออกเริ่มลดลง และจะรุนแรงมากขึ้น หลังพ้นกำหนดผ่อนผันด้านภาษี กำลังการผลิตที่ลดลงมาจากตัวเลขส่งออกที่ลดลงกระทบเป็นลูกโซ่ในโซ่อุปทาน ทั้งอุตสาหกรรมที่สนับสนุนการส่งออก ภาคโลจิสติกส์ และ ขนส่ง

5.ผู้ส่งออกดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด เนื่องจากแนวโน้มออเดอร์สั่งซื้อที่ลดลงทำให้ “Overhead Cost” สูงขึ้น มีการลดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าไฟฟ้า และการต่อรองราคาวัตถุดิบในประเทศ 6.การแข่งขันในตลาดอื่นนอกสหรัฐ มีความรุนแรง เนื่องจากทุกประเทศได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีทรัมป์ ทำให้ผู้ส่งออกของประเทศต่าง ๆ ล้วนหันไปหาตลาดทดแทนการส่งออกไปสหรัฐ ส่งผลให้มีการแข่งขันด้านราคาอย่างรุนแรง การหาตลาดใหม่จึงไม่ใช่เรื่องง่าย

7.ความผันผวนของราคาค่าระวางเรือ โดยเฉพาะที่มาจากสหรัฐ มีความผันผวนและไม่แน่นอน เช่น ค่าระวางเรือมาจากท่าเรือลอสแองเจลิส ราคาตู้ละประมาณ 638 ดอลลาร์/TEU ขณะที่ตู้ Reefer Container หรือตู้แช่แข็งราคา 4,300 ดอลลาร์/TEU 8.อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทแข็งค่าในช่วง 6 เดือนครึ่งของปี 2568 แข็งค่า 1.286 บาท/ดอลลาร์ หรือแข็งค่าประมาณร้อยละ 3.75 (บางช่วงแข็งค่าถึงร้อยละ 4.8) ทำให้แข่งขันด้านราคาได้ยาก

*** ภาษี 36% ถือเป็นแรงสั่นสะเทือนระดับชาติต่อ “เศรษฐกิจไทย” เพราะจะส่งผลต่อ “อุปทานสินค้า” ที่อาจย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ ส่งผลต่อการจ้างงาน การลงทุน และโอกาสฟื้นฟูเศรษฐกิจในอนาคต …หากไม่สามารถเจรจาได้ ไทยจะกลายเป็นผู้เล่นที่เสียเปรียบในประเทศอาเซียน ดังนั้น ต้องมาร่วมกันลุ้นไม่ให้สหรัฐ เก็บภาษีไทยเต็มอัตราศึก 36% อย่างที่ “ทรัมป์” ประกาศไว้ อย่างน้อยๆ ขอให้เก็บไทยไม่สูงกว่า เวียดนาม (20%) และ อินโดนีเซีย (19%) ก็ยังพอทน…

คอลัมน์ฐานโซไซตี โดย…ว.เชิงดอย หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 4115

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

บีไอจีดัน “ไนโตรเจนคาร์บอนต่ำ” ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่แรกในไทย

12 นาทีที่แล้ว

คนไทยหนุนใช้ “Soft Power” ดันท่องเที่ยว-เทศกาลระดับโลก

32 นาทีที่แล้ว

เที่ยวไทยคนละครึ่ง 2568 หัวหิน แมริออท จองทะลัก ปิดรับลงทะเบียนใช้สิทธิ์ชั่วคราว

49 นาทีที่แล้ว

กระทรวงอุตฯทลายล้างปลั๊กไฟ-พ่วงเถื่อนไร้มอก.กว่า 7.2 ล้าน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่นๆ

“ทรัมป์” ลงนาม GENIUS Act กฎหมาย Stablecoin ฉบับแรก หนุนดอลลาร์ขึ้นแท่นคริปโตโลก

ข่าวหุ้นธุรกิจ

กยศ. แจงกรณีตัดเงินเกิน ผู้กูยืมชำระหนี้แล้ว พร้อมเร่งโอนคืนเภายใน 3 วัน

กรุงเทพธุรกิจ

‘ทรูไอดีซี - อาลีบาบา’ ผนึกกำลังรุกโซลูชัน ‘คลาวด์ - AI’

กรุงเทพธุรกิจ

ด่วน.! เว็บ Lazada-shopee อีก 17 เว็บดัง ต้องปฏิบัติตาม ม.20

The Bangkok Insight

เตือนรับมือพายุ “วิภา” ถล่มไทย 20-24 ก.ค. ฝนถล่ม-คลื่นสูง-น้ำท่วมฉับพลัน

ข่าวหุ้นธุรกิจ

“พายุวิภา” กระทบเที่ยวบินไทย CAAT ย้ำสิทธิผู้โดยสารเปลี่ยนเที่ยวบิน-ขอคืนเงินเต็มจำนวน

ข่าวหุ้นธุรกิจ

‘สามารถ’ เปิดแผน ‘สุวรรณภูมิ’ ชี้ ทอท.ปรับใหม่ ยอมถอยไม่มี ‘เทอร์มินัลตัดแปะ’

กรุงเทพธุรกิจ

“ท๊อป จิรายุส” สรุป 5 ไฮไลท์เศรษฐกิจโลก จากเวทีประชุมผู้นำ Summer Davos 2025

การเงินธนาคาร

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...