นักวิชาการความมั่นคง บอกต้องทำไปพร้อมๆ กัน หลัง “ทักษิณ” บอกต้องประท้วงก่อนเจรจาปัญหาชายแดน
นักวิชาการความมั่นคง บอกต้องทำไปพร้อมๆ กัน หลัง “ทักษิณ” บอกต้องประท้วงก่อนเจรจาปัญหาชายแดน ชี้ควรเอาการทูตนำทหาร การเมืองก่อนเสริมเศรษฐกิจ มองถอนตัวจากสนธิสัญญาออตตาวาไม่เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ โดยเฉพาะกัมพูชา
วันที่ 20 ก.ค. 68 รศ.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว The Room 44 ถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายรัฐมนตรี บอกว่าอยากให้มีการประท้วงและไปเจรจากันภายหลังมองว่าการประท้วงไปก่อนและเจรจากันนั้นจะส่งผลดีมากกว่าที่จะเจรจาก่อนหรือไม่ อ.ปณิธาน เผยว่าการดำเนินการระหว่างประเทศต้องทำหลายอย่างพร้อมกันไม่มีใครทำอะไรก่อนหลัง เพราะเราไม่สามารถบอกได้ว่าสุดท้ายกัมพูชาจะมีการตอบรับในเรื่องของอะไร อย่างเช่นการควบคุมด่านคัดกรองบุคคลหรือการจับกุมกระบวนการผิดกฎหมายของกัมพูชาในประเทศไทย ซึ่งต้องชี้แจงให้นานาชาติทราบและตอบโต้โดยตรงกับสมเด็จฮุนเซน ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้ทำไปพร้อมๆกันแต่ทำไปในบางเรื่องและชะงักในบางเรื่อง ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกัมพูชาได้ อย่างเช่น เราไม่มีการโต้ตอบฮุนเซนโดยตรงตั้งแต่แรก เพราะทุกอย่างต้องดำเนินการไปในลักษณะเชิงรุกเชิงรับไปพร้อมพร้อมกัน เช่น กระทรวงการต่างประเทศก็มีท่าทีที่ปรองดองเพื่อเป็นแนวทางทางการพูดแต่การทหารก็ต้องเข้มข้นในการควบคุมพื้นที่และทางการเมืองก็ต้องเข้มข้นที่สุดต้องมีการชิงหัวชิงพริบมีการโต้ตอบอย่างทันท่วงทีซึ่งในการทาง การเมืองระหว่างประเทศถือว่าไม่เสียหายทำอยู่ทุกวันและทำด้วย ฉะนั้นทางการพูดถ้าเราประยุทธ์กระทรวงการต่างประเทศเป็นหลักการทูตผลออกมาก็เหมือนกับการประชุม เจบีซี เราก็จะแถลงแต่เรื่องที่เราร่วมมือเรื่องที่ดีที่เราไม่ขัดแย้ง แต่กัมพูชาเลือกแถลงในสิ่งที่ขัดแย้งกันอย่างเช่น เรื่องแผนที่ ซึ่งมองว่าต้องปรับแนวทางไม่ใช่เอาการฑูตนำทางทหารแต่เป็นการฑูตนำการเมืองซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้การเมืองระหว่างประเทศ การทหาร การทูตและเศรษฐกิจเสริมเข้าไป
เมื่อถามถึงกรณีที่หากถอนตัวจาก สนธิสัญญาตะวานั้นจะส่งผลเสียหรือไม่อย่างไร อ.ปณิธาน เผยว่าส่งผลเสียอย่างแรกคือภาพลักษณ์จะไม่ดีเพราะสนธิสัญญานี้เป็นสนธิสัญญาที่ก้าวหน้าเป็นสนธิสัญญาที่ทุกประเทศในสหประชาชาติ 190 ประเทศลงนามกว่า 160 ประเทศซึ่งก็ถือว่าภาพรวมไม่ดีแต่ประเทศที่ถอนตัวก็มีเหตุผลของเขาอย่างเช่นประเทศสหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย ก็มีเหตุผลคือการผลิตอาวุธหรือขายอาวุธเข้าสู่สมรภูมิหลายสมรภูมิก็ใช้กับระเบิดทุ่งสังหารซึ่งได้ผล แต่ถ้าเราถอนตัวแล้วเราไม่ได้ไปประเทศมหาอำนาจหรือได้ผลิตอาวุธเราก็ไม่ได้กระโดดจากการถอนตัวในแง่ของภาพลักษณ์และในแง่ความช่วยเหลือสำหรับเรากับกัมพูชาก็ยังสำคัญอยู่เพราะเมื่อเป็นภาคีแล้วสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศรวมทั้งองค์กรภาคเอกชน สมทบรายได้เข้ามาช่วยในการกู้ทุ่นระเบิดที่มีอยู่ในพื้นที่ที่หลงเหลือมาจากสงครามเวียดนาม ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากในการในการฝึกการกู้ระเบิดทั้งคนของเราและคนของกัมพูชา และส่วนสุดท้ายคือ การขอเงินเยียวยาจากผู้ที่ได้รับผลกระทบถูกกับระเบิดได้ในบางเรื่อง ซึ่งเป็นผลบวกต่อกัมพูชามากกว่าเพราะกัมพูชาอาจจะต้องใช้การสนับสนุนนี้มากกว่าเราเนื่องจากประเทศไทยมีงบประมาณอยู่แล้วที่จะสามารถดูแลเยียวยาได้ แต่ของกัมพูชาส่วนใหญ่จะพึ่งเงินจากนานาชาติเพราะฉะนั้นถ้าทำผิดข้อตกลงอาจจะไม่ได้เงินทุนในนี้ ซึ่งเป็นการลงโทษทางอ้อมได้เหมือนกัน