กรมอุตุนิยมวิทยา 7 วันข้างหน้า เตือนพายุวิภา ฝนถล่มหนัก 20-24 ก.ค.นี้
กรมอุตุนิยมวิทยา 7 วันข้างหน้า เตือนพายุโซนร้อนกำลังแรง “วิภา” และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีกำลังแรง ส่งผลมีฝนตกหนักถึงหนักมาก 60-80% ของพื้นที่ ในหลายจังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก รวมกทม.และปริมณฑลด้วย ช่วง 20-24 ก.ค.นี้ ย้ำพายุเคลื่อนตัวเร็ว
กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศทั่วไป 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 20 – 26 กรกฎาคม 2568 ว่า ในช่วงวันที่ 20 – 24 ก.ค. ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก เนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ประเทศลาวตอนบน และประเทศเวียดนามตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรง
สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 2 – 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 25 – 26 ก.ค. ประเทศไทยจะมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อัพเดตพายุโซนร้อนกำลังแรง “วิภา(WIPHA)”
อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง “วิภา” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวลงสู่อ่าวตังเกี๋ย และเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 21 – 22 ก.ค.2568
กรมอุตุฯระบุเพิ่มเติมว่า ล่าสุดพายุโซนร้อนกำลังแรง “วิภา” มีศูนย์กลางอยู่บริเวณชายฝั่งเมืองเจียงเหมิน มณฑลกวางตุ้ง กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตก (พายุนี้เคลื่อนตัวเร็ว) คาดว่าจะเคลื่อนตัวตามแนวชายฝั่งประเทศจีน เข้าสู่อ่าวตังเกี๋ยและขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามเวียดตอนบน ช่วงวันที่ 21-22 ก.ค.68 และจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณ สปป.ลาว ตามลำดับ
แม้พายุนี้จะกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำแล้วก็ตาม แต่จะส่งผลกระทบทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ภาคกลางด้านตะวันตก ต้องระวังฝนตกหนัก ฝนตกสะสม อาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ในพื้นที่ดังกล่าว
โดยเฉพาะช่วง 22-24 ก.ค.68 ต้องเตรียมการรับมือและเตรียมความพร้อมหากจำเป็นต้องอพยพ โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.น่าน พะเยา เชียงราย อิทธิพลของพายุฯจะทำให้มรสุมมีกำลังแรง ตั้งแต่ 20 – 24 ก.ค.68 ทำให้ภาคใต้ภาคใต้ฝั่งอันดามันและภาคตะวันออก มีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมมีกำลังแรง ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระวัง คลื่นลมแรง เรือเล็กงดออกจากฝั่งโดยเด็ดขาด ต้องติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด โทรสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182
ข้อควรระวัง
ในช่วงวันที่ 20 – 24 ก.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม
ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดจากฝั่ง
คาดหมายอากาศรายภาค
วันที่ 20 – 26 ก.ค. 2568
ภาคเหนือ
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 21 – 24 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 33 องศาเซลเซียส
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 20 – 24 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคในช่วงวันที่ 21 – 23 ก.ค.
ส่วนในช่วงวันที่ 25 – 26 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม.
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 20 – 24 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาคในช่วงวันที่ 21 – 24 ก.ค.
ส่วนในช่วงวันที่ 25 – 26 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 20– 24 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 – 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 – 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 25 – 26 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 – 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 34 องศาเซลเซียส
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 20 – 22 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 – 40 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 – 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 23 – 26 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 – 40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 – 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
ในช่วงวันที่ 20 – 23 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 – 45กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 – 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 – 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 24 – 26 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 – 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 – 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป :ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 – 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 33 องศาเซลเซียส
กรุงเทพและปริมณฑล
ในช่วงวันที่ 20 – 24 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ส่วนในช่วงวันที่ 25 – 26 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 34 องศาเซลเซียส
(ออกประกาศ 20 กรกฎาคม 2568)
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : กรมอุตุนิยมวิทยา 7 วันข้างหน้า เตือนพายุวิภา ฝนถล่มหนัก 20-24 ก.ค.นี้
ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.prachachat.net