โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

จับตาสงครามภาษีสหรัฐฯ เสี่ยงฉุดเศรษฐกิจชะลอตัว หวั่นย้ายฐานผลิตสู่คู่แข่ง

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 23 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 14 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สถานการณ์การค้าโลกที่ทวีความผันผวน หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ประกาศเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากหลายประเทศในอัตราสูงถึง 36% กำลังเป็นประเด็นที่สร้างความกังวลอย่างมีนัยสำคัญต่อประเทศไทย โดยเฉพาะภาคการส่งออกและศักยภาพในการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ

ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล อุปนายกฝ่ายกิจกรรม การสื่อสารและการตลาดยั่งยืน สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และหัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้มุมมองและประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยอย่างละเอียดกับ"ฐานเศรษฐกิจ"

ผศ.ดร.เอกก์ ประเมินว่า การที่ภาษีนำเข้าพุ่งสูงขึ้นถึง 36% ทำให้เกิดข้อกังวลว่า ฐานการผลิตของอุตสาหกรรมสำคัญๆ ของไทย เช่น อะไหล่รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนโทรศัพท์มือถือ อาจจะพิจารณาย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นที่มีต้นทุนภาษีที่เอื้ออำนวยกว่า

"เวลาเราดูเรื่องนี้ เราไม่ได้ดูที่ 36% อย่างเดียว เราดูที่การเปรียบเทียบระหว่างคู่แข่ง"

ผศ.ดร.เอกก์ อธิบาย โดยชี้ว่าคู่แข่งหลักของไทยในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย กำลังอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบไทยอย่างมาก "คนที่โดนภาษีน้อยกว่าเราที่เป็นคู่แข่งเรา ปรากฏว่าเขาโดนน้อยกว่า เวียดนามโดน 20% เราโดน 36% อินโดนีเซียและมาเลเซียได้เปรียบเรา"

ผลกระทบจากการขึ้นภาษีไม่ได้จำกัดอยู่แค่สินค้ากลุ่มยานยนต์เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมที่ไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ รวมถึงส่วนประกอบโทรศัพท์มือถือ และผลิตภัณฑ์จากยางพารา

"ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนโทรศัพท์มือถือ และผลิตภัณฑ์ยาง คือเซคเตอร์ที่เราส่งออกไปสหรัฐฯ เยอะ"

ผศ.ดร.เอกก์ ระบุ ขณะที่บางภาคส่วน เช่น เครื่องประดับและอัญมณี กลับได้รับผลกระทบน้อยกว่า เนื่องจากสหรัฐฯ ไม่ใช่ตลาดส่งออกหลักในหมวดสินค้านี้

ผศ.ดร.เอกก์ ประเมินว่า แม้การขึ้นภาษีจะทำให้สหรัฐฯ ได้รับเงินจากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นในระยะสั้น แต่ในระยะยาว เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจชะลอตัว เนื่องจากราคาสินค้านำเข้าที่สูงขึ้นจะส่งผลให้ผู้บริโภคชาวสหรัฐฯ มีกำลังซื้อลดลง

ผลกระทบ 3 ระยะต่อเศรษฐกิจไทย

ผศ.ดร.เอกก์ ได้ประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะสั้น (ผลกระทบทางตรง): ภาคการส่งออกที่เกี่ยวข้องกับสหรัฐฯ จะได้รับผลกระทบทันที โดยต้นทุนและราคาจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 36% อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ชิ้นส่วนยานยนต์, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, ชิ้นส่วนโทรศัพท์มือถือ และผลิตภัณฑ์ยางพารา
  • ระยะกลาง (การลงทุนใหม่): การดึงดูดนักลงทุนใหม่เข้ามาในประเทศไทยอาจทำได้ยากขึ้น เนื่องจากกำแพงภาษีที่สูงกว่าประเทศคู่แข่ง ทำให้การลงทุนใหม่ลดลง และอาจเห็นการพิจารณาย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีภาษีต่ำกว่า
  • ระยะยาว (ภาพรวมเศรษฐกิจ): ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยจะได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ มีการประเมินว่า GDP ของไทยในปีนี้ ซึ่งเดิมคาดการณ์ไว้ประมาณ 3% อาจลดลงเหลือเพียง 1% กว่าๆ และในระยะยาวอาจถึงขั้นติดลบได้ ซึ่งถือเป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด

เร่งเจรจา "เฉือนเนื้อ" รักษาขีดความสามารถ

เมื่อถูกถามถึงแนวทางที่ภาครัฐควรดำเนินการ ผศ.ดร.เอกก์ ให้ความเห็นว่า "ในนโยบายของรัฐ ยังไงก็ตามอาจจะต้องพยายามกลับไปเจรจากับเขาว่า สหรัฐฯ มีอำนาจต่อรองสูงมาก และสถานการณ์นี้กำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมหาศาล เราต้องหาทางเฉือนเนื้อที่เจ็บน้อยที่สุด เพื่อที่จะรักษาชีวิตไว้ เพราะ 36% เราอยู่ไม่ได้"

ผศ.ดร.เอกก์ ชี้ว่า การเจรจาในครั้งที่แล้วอาจจะ "ให้น้อยไป" ทำให้ไทยต้องเผชิญกับอัตราภาษีที่สูงติด 1 ใน 20 ของโลก เมื่อเทียบกับประเทศที่ถูกขึ้นภาษี ซึ่งบางประเทศก็ไม่ได้เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่เท่าไทย ทำให้ไทยเสียเปรียบอย่างมาก

พร้อมทั้งกล่าวถึงข้อสังเกตว่า เวียดนามเป็นประเทศหนึ่งที่สามารถต่อรองกับสหรัฐฯ ได้ดีในระดับโลก ซึ่งอาจเป็นเพราะเวียดนามยอมเสียบางอย่างเพื่อแลกกับข้อตกลงที่ดีกว่า เช่น การที่สินค้าอเมริกันนำเข้าเวียดนามได้รับภาษี 0% ซึ่งอาจส่งผลให้เห็นรถยนต์และเครื่องจักรในโรงงานของเวียดนามส่วนใหญ่เป็นแบรนด์อเมริกัน รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น เนื้อหมูจากสหรัฐฯ ที่จะเข้ามาในราคาถูก อาจกระทบต่อเกษตรกรเวียดนามเอง

"โดนัลด์ ทรัมป์ ยิง 'ทารีฟ' (Tariff) เป็นขีปนาวุธทางเศรษฐกิจ"

ผศ.ดร.เอกก์ เปรียบเทียบ เพื่อสะท้อนความรุนแรงของมาตรการนี้ พร้อมเสริมว่า "36% เราอยู่ไม่ได้" ซึ่งตอกย้ำถึงความจำเป็นที่รัฐบาลไทยจะต้องเร่งประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบ และเตรียมมาตรการเชิงรุกในการเจรจาต่อรอง หรือปรับกลยุทธ์ทางการค้าเพื่อลดผลกระทบ และรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีโลก

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

ขึ้นทางด่วนฟรี วันหยุด 28 ก.ค.68 เช็กด่านยกเว้นค่าผ่านทางที่นี่

55 นาทีที่แล้ว

ราคาน้ำมันวันนี้2568 (20 ก.ค. 68) ปตท. บางจาก อัปเดตราคาล่าสุด

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กรมอนามัย รับสมัครพนักงานราชการ 24 อัตรา เงินเดือนสูงสุด 2.36 หมื่นบาท

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สภาพอากาศวันนี้ -25 ก.ค.ไทยฝนตกหนักบางแห่ง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่นๆ

บสย. ช่วย SMEs รายย่อยแล้ว 2.1 หมื่นราย มียอดค้ำประกันสินเชื่อครึ่งปีแรกเกือบ 2 หมื่นล้านบาท

VoiceTV

สำรวจราคาบิทคอยน์ สูงสุด - ต่ำสุด ปี 2568 แค่ปีทองของคริปโต หรือ จุดเริ่มต้นของคลื่นลูกใหม่ สู่ระบบการเงินโลก ?

TNN ช่อง16

ส่อง เต่าบิน สเตชั่น ตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ 24 ชม. มีตั้งแต่ขนม ยันถุงยาง-ผ้าอนามัย

MATICHON ONLINE

GULF เตรียมออกหุ้นกู้ครั้งแรกภายใต้บริษัทใหม่ที่แข็งแกร่งขึ้น อันดับเครดิตสูงที่ AA- เสนอขายผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่ และประชาชนทั่วไป

Manager Online

ธอส. เผยเครึ่งปีแรก ปี68 ปล่อยสินเชื่อใหม่ 1.07 แสนล. มั่นใจทั้งปีแตะ 2.41 แสนลบ.

PostToday

ออมสิน-ธ.ก.ส. ปล่อยกู้แก้หนี้นอกระบบแล้วกว่า 2.5 พันล้านบาท

PostToday

80 ปี ตำนานซอสเด็กสมบูรณ์สู่อนาคตในยุคเจนสาม l 19 ก.ค. 68 FULL l BTimes Weekend

BTimes

การบินไทย จับมือ ซัมซุง ร่วมมือเชิงกลยุทธ์ ยกระดับประสบการณ์การเดินทางผ่าน Samsung Wallet

การเงินธนาคาร

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...