โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ยานยนต์

เครื่องเสียงโบราณกับวัยรุ่นยุคใหม่

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

อัพเดต 18 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 18 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ภาพไฮไลต์

นอกจากเครื่องเสียงติดรถยนต์ที่ผมมักจะรีวิวเป็นประจำในคอลัมน์ทดสอบรถแล้ว…สำหรับนักเล่นเครื่องเสียงวินเทจ เวลาอุ้มเครื่องเก่าออกมาจากโกดัง กลับถึงบ้าน เสียบปลั๊ก ต่อสายสัญญาณ ต่อสายลำโพง เปิดสวิชท์ บิดวอลลุ่ม แล้วมีเสียงออกมาปกติ วอลลุ่มอาจมีคอกๆ แคกๆ บ้าง เนื่องจากความเก่า ความชื้นและฝุ่นขัดขวางการทำงานทางไฟฟ้า บางตัวนอนจมกองฝุ่นหลังเจ้าของเดิมเสียชีวิตมานานหลายสิบปี พอเห็นมันกลับมาทำงานอีกครั้ง นั่นเป็นความรู้สึกที่ยากจะอธิบา

เครื่องเสียงเก่าญี่ปุ่นที่ผมซื้อ มีแค่เครื่องเดียวที่เปิดแล้ว อยู่ไปได้แค่ 1-2 วัน หม้อแปลงก็ไหม้เพราะน้ำยาหุ้มทองแดงหมดสภาพ นอกนั้น อีกสามสิบกว่าเครื่อง เล่นได้ปกติ ทั้งๆที่ส่วนใหญ่ ผ่านเวลามานานกว่า 55 ปีแล้วเป็นเรื่องน่าเศร้าใจที่ทุกวันนี้ บริษัทเครื่องเสียงญี่ปุ่นซึ่งเคยโด่งดังในยุค 70/80 ไม่ผลิตอุปกรณ์เครื่องเสียงอีกต่อไป หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เลิกผลิตไปเลยโลกของนักฟังเพลงรุ่นคุณพ่อของเรา เคยมีเครื่องเล่นและลำโพงเจ๋งๆอย่าง Nakamichi, Sansui, Akai, Aiwa, Sony, JVC, NEC, Sanyo, Kenwood, Pioneer แต่ทุกวันนี้ บริษัทที่ยังไปต่อกับเครื่องเสียงเหลือแค่ Yamaha, Denon/Marantz, Teac/Esoteric, Luxman, Rotel และ Technics เท่านั้น แต่ก็ผลิตออกมาน้อยเต็มทน และได้เห็นมันในงานอีเว้ทน์เครื่องเสียงยุโรปกับอเมริกาเท่านั้น

ช่วงเวลาอันแสนสุขในยุค 70 และ 80 ตอนเป็นเด็กที่ได้ยินเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง เพลงสากลที่ไพเราะ ผ่านลำโพงที่มีรูปทรงเหมือนกรงนก เสียงอันไพเราะ ดังก้องกังวานอยู่ในโสตประสาทของเด็กน้อยในวันนั้น ประสิทธิภาพของระบบสเตริโอในยุค 70 ดึงความสนใจของเด็กในวัย 7-8 ขวบให้ชะงักและพยายามหาที่มาของเสียงเพลง เด็กในวันนั้น ซึ่งวันนี้กลายเป็นคนแก่อายุ 60 ปี ยังคงมีความทรงจำครั้งแรกที่ดีงามกับเครื่องเสียงญี่ปุ่นปี 1968 ไปจนถึงปี 1985

เครื่องเสียงไฮเอนด์ของญี่ปุ่นได้รับความนิยมอย่างมาก มันจะมาพร้อมชิ้นงานอะลูมีเนียมและโลหะพวกเหล็กซิ้งค์ที่ใช้หุ้มตัวเครื่องซึ่งพ่นสีหรือเคลือบวัสดุไวนิลเกรดสูง เพลตอะลูมิเนียมของเครื่องเสียงญี่ปุ่นในยุครุ่งเรือง หรือยุคทอง 1970-1980 มักมีขนาดใหญ่หรือเล็กลดหลั่นกันไปตามวัตถุประสงค์ของวิศวกรและบริษัทผู้ผลิต ชิ้นงานอัลลอยที่ใช้โชว์หน้าตา มีสีเงิน สีทองแชมเปญ หรือแม้แต่สีน้ำตาลที่ค่อนข้างหายาก เพลตอัลลอย ถูกเซาะร่องลึกบอกรุ่นและแบรนด์ด้วยความละเอียดอ่อนของงานประดิษฐ์ที่คุณจะไม่มีวันได้เห็นในเครื่องอเมริกันหรือยุโรป ปุ่มหมุนต่างๆ คล้ายกับส่วนบังคับของอากาศยานที่ทันสมัย บางเครื่องหุ้มไม้วีเนียร์มาอย่างสวยงามราวกับกล่องเก็บเครื่องเพชรราคาแพง

มิเตอร์ VU ขนาดใหญ่ เรืองแสงสีฟ้า ขาว ส้ม เหลือง หรือเขียว ราวกับมิตเตอร์ในเรือดำน้ำเยอรมัน อีควอไลเซอร์ที่เรืองแสงตรงปลายก้านของชุดปรับ ตัวปรับแต่งเสียงแอคโค่ 4 แชลเนลที่มีจอ VU เรียงซ้อนกันสี่จอ มีทั้งสีส้ม หรือสีฟ้า เครื่องวิเคราะห์สเปกตรัม RTR ลำโพงที่หนักและใหญ่พอๆกับตู้กับข้าว เทปรีล หรือเครื่องเล่นเทป 8 แทรคที่ปัจจุบัน เริ่มสาบสูญ กลายเป็นของเก่าหรือขยะอีเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มหมดสภาพทุกวันนี้

ถึงแม้ดนตรีสมัยใหม่ จะได้รับความนิยมจากคนรุ่นใหม่อย่างไม่เสื่อมคลาย แต่สไตล์และแนวเพลง เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงจนคนสูงวัยบางคนถึงกับรับไม่ได้ เสียงเพลงไม่ได้มีบทบาทในชีวิตของคนหนุ่มสาวเหมือนกับในคนรุ่นเก่าอีกต่อไป เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ทางดนตรีของคนแก่ ดูจะมีความแข็งแกร่งกว่ามาก

นวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่ ทำให้ความสนใจในเสียงไฮไฟค่อยๆจางหายไป เราจะเห็นคนรุ่นใหม่ของญี่ปุ่น หลังคุณพ่อเสียชีวิตแล้วยกบ้านให้ทั้งหลังก็จะเทขายเครื่องเสียงคุณภาพดี หรือไม่ก็เอาไปส่งที่โกดังแบบยกให้ฟรีๆไปเลย ลำโพงที่ครั้งหนึ่งเคยมีคนต้องการถึงกับแย่งกันซื้อ แต่ตอนนี้มันมากองรวมกันอยู่ในโกดังขายของเก่าในไทยแบบไร้ค่า การขนส่งที่เกิดจากความไม่รู้ ทำให้ลำโพงดีๆ ต้องเสียหายไปกับการเข้าไปอยู่ในตู้คอนเทรนเนอร์คนรุ่นใหม่ชอบใส่หูฟังเล็กๆ โดยไม่สนใจที่จะเล่นเครื่องเสียงที่ดูเหมือนจะยุ่งยากวุ่นวายและจ่ายแพงกว่าการมีหูฟังแล้วก็ฟังเพลงได้เหมือนกัน

คนรุ่นใหม่ก็ชอบดนตรีไม่ได้แตกต่างไปจากคนรุ่นเก่า แต่การเล่นเครื่องเสียงนั้นถูกมองข้ามไปไกลแล้ว เด็กๆ ทุกวันนี้ มีโอกาสสัมผัสกับดนตรีอะคูสติกสดๆ น้อยกว่าคนรุ่นเก่า และไม่สนใจที่จะเรียนรู้ว่า ดนตรีที่งดงาม ควรมีลักษณะอย่างไร ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับรายละเอียดของทุกสิ่ง โดยเฉพาะสิ่งประดิษฐ์ ตั้งแต่ศิลปะการทำซูชิ งานประกอบภายในของ Lexus อันประณีตบรรจง ไปจนถึงความงดงามอันเงียบสงบของศิลปะการชงชา คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับงานฝีมือ นวัตกรรม และความซื่อสัตย์ในทุกที่ที่เราพบเห็น

สิ่งเหล่านี้ได้ถ่ายทอดออกมาในแนวทางของพวกเขาที่มีต่ออุตสาหกรรมเครื่องเสียง วิศวกรรมของญี่ปุ่นเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นจุดสูงสุดของเครื่องเสียงระดับไฮเอนด์ จากประเพณีอันยาวนานของความเป็นเลิศ ทั้งในด้านงานฝีมือและประสิทธิภาพ แบรนด์เครื่องเสียงของญี่ปุ่น สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองในอุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้าตั้งแต่ปลายยุค 60 จนถึงทุกวันนี้การรับฟังอุปกรณ์เครื่องเสียงระดับไฮเอนด์ของญี่ปุ่นไม่ได้เป็นเพียงการได้ยินเสียงเท่านั้น แต่ยังเป็นการสัมผัสกับประสบการณ์ทางดนตรีในแบบที่ศิลปินตั้งใจไว้ให้ออกมาแบบน้ั้น

อาคม รวมสุวรรณ
EMail chang.arcom@thairath.co.th
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcomhttps://
www.facebook.com/ARCOM-CHANG-Thairath-Online-525369247505358/

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : เครื่องเสียงโบราณกับวัยรุ่นยุคใหม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

"ทิดสฤษดิ์" อดีตพระธรรมวชิรธีรคุณ สึกกลางดึก หลังลาออกจากตำแหน่ง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“โอต์กูตูร์” ซีซันฟอลล์/วินเทอร์ 2025-2026 ฉีกกรอบการเล่าเรื่องของโลกแฟชั่นชั้นสูง

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ดูดวงรายวัน ประจำวันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม 2568

7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

โซเชียลอาลัย "พี่แม๊ค" เจ้าของช่องยูทูบ "บุญอ้วน ไรเดอร์" เสียชีวิตแล้ว

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความยานยนต์อื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

เครื่องเสียงโบราณกับวัยรุ่นยุคใหม่

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

น่าจัด! JAECOO 6 EV ลด 2 แสน พร้อมแคมเปญกลางปี

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

สามห่วงทะลวงหรู Toyota Crown Sport The 70th

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์
ดูเพิ่ม
Loading...