โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

แห่งแรกในไทย ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ฯผลิตยา’ยาอิมครานิบ’ รักษาโรคมะเร็งมุ่งเป้า

ไทยโพสต์

อัพเดต 4 กรกฎาคม 2568 เวลา 19.31 น. • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

การรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างมาก หนึ่งในนวัตกรรมการรักษาที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ “ยารักษาโรคมะเร็งชนิดมุ่งเป้า” หรือ Targeted Therapy ซึ่งเป็นการใช้ยาที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งสามารถทำลาย หรือยับยั้งเซลล์มะเร็งเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ ช่วยลดการทำลายเซลล์ปกติในร่างกาย เป็นการลดผลข้างเคียงจากการรักษาแบบดั้งเดิม เช่น เคมีบำบัด นอกจากนี้ยังสามารถสามารถปรับแผนการรักษาได้อย่างรวดเร็วตามลักษณะการดำเนินโรคของผู้ป่วยแต่ละราย

ด้วยพระปรีชาสามารถและพระวิสัยทัศน์กว้างไกลของ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงมีพระปณิธานอันแน่วแน่ในการพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศไทย ด้วยทรงตระหนักถึงความยากลำบากของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ขาดโอกาสเข้าถึงเภสัชภัณฑ์ประสิทธิภาพสูง ทรงจัดตั้งโรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ในพระดําริ ณ พระตําหนักพิมานมาศ อําเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในปี พ.ศ. 2563 เพื่อให้เป็นโรงงานต้นแบบผลิตเภสัชภัณฑ์ที่จะเข้ามาเพิ่มขีดความสามารถการวิจัยและการพัฒนาเภสัชภัณฑ์สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งให้ต่อเนื่องสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย โรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ในพระดำริ เป็นโรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็งแห่งแรกของประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานวิธีการที่ดีในการผลิตยาและการกระจายยา GMDP PIC/s ตามมาตรฐานสากลและมีศักยภาพด้านการวิจัยทางเภสัชกรรม ซึ่งมีความสามารถนำองค์ความรู้จากการวิจัยมาต่อยอดเป็นการผลิตระดับอุตสาหกรรม เพื่อให้มียารักษาโรคมะเร็งเพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศไทยซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และเสริมสร้างองค์ความรู้แก่บุคลากรในด้านการผลิตเภสัชภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูงให้แก่ประเทศไทย

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงวางพระนโยบายการวิจัย และผลิตยารักษาโรคมะเร็งอย่างรอบคอบ ทรงให้ความสำคัญต่อการดูแลผู้ป่วยในทุกมิติ ด้วยแนวพระนโยบายที่กว้างขวางนี้จึงเกิดการวิจัยที่หลากหลาย และครอบคลุมการรักษาโรคมะเร็งในทุกรูปแบบ โดยยารักษาโรคมะเร็งชนิดมุ่งเป้าที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซีนไคเนส (Tyrosine Kinase Inhibitors) เป็นหนึ่งในยาที่ทรงสนพระทัยเนื่องจากเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้รักษาโรคมะเร็งได้หลากหลายชนิด ให้ผลการรักษาดี มีอาการข้างเคียงต่ำ เป็นที่ยอมรับจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา

ตลอดการดำเนินโครงการทรงมีพระวิริยะอุสาหะ และใส่พระทัยติดตามความก้าวหน้าของโรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ในพระดำริ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ด้วยพระองค์เอง โดยทรงร่วมในกระบวนการตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องมือ เครื่องจักรต่าง ๆ และทรงร่วมปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ณ ห้องปฏิบัติการควบคุมคุณภาพของโรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ในพระดำริ ทรงใช้พระสติปัญญาและพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกลนำคณะทำงานของโรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ในพระดำริเพื่อการพัฒนามาตรฐานเภสัชกรรมอย่างยั่งยืนเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากโรงงานแห่งนี้มีคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานสากล โดยทรงปฏฺิบัติการพิสูจน์เอกลักษณ์ และทรงวิเคราะห์หาปริมาณสารปนเปื้อน ความชื้นในวัตถุดิบด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ทางเคมีฟิสิกส์ชั้นสูง นอกจากนี้ ยังทรงปฏิบัติการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ยาสำเร็จรูป เช่น พฤติกรรมการปลดปล่อยตัวยาสำคัญ มิติความแข็ง ความกร่อนของเม็ดยาเม็ด เป็นต้น

ผลจากการทรงงานด้านเภสัชกรรมด้วยพระวิริยะอุตสาหะ และพระปณิธานอันแน่วแน่ตลอดหลายปี เกิดเป็นคุณูประการสำคัญต่อวงการสาธารณสุข คือ ยาเม็ดรักษาโรคมะเร็งชนิดมุ่งเป้าตำรับแรกที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย “อิมครานิบ 100 / IMCRANIB 100" โดยประกอบด้วยตัวยาสำคัญอิมาทินิบ (IMATINIB) 100 มิลลิกรัม โดยได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 และพร้อมสำหรับการนำไปใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

“ยาอิมครานิบ” มีคุณสมบัติยับยั่งการทำงานของเอ็นไซม์ไทโรซีนไคเนสอย่างจำเพาะเจาะจง เป็นการทำลายเซลล์มะเร็งอย่างแม่นยำช่วยให้การควบคุมการแพร่กระจายของเซลล์ มะเร็งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้รักษาโรคมะเร็งได้หลายชนิด เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดซีเอ็มแอล มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดฟิลาเดลเฟียบวก มะเร็งเนื้อเยื่อในระบบทางเดินอาหาร (GIST) มะเร็งผิวหนังชนิดหายาก (DFSP) โดยจะได้นำมาให้บริการรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป ซึ่งจะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้ายาจากต่างประเทศที่มีมูลค่าสูงและเป็นการเพิ่มโอกาสให้ประชาชน ชาวไทยสามารถเข้าถึงการรักษาและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

ความสำเร็จนี้นับเป็นพระกรุณาธิคุณที่ไม่เพียงช่วยเหลือประชาชนคนไทยให้พ้นจากทุกข์ภัยของโรคมะเร็งเท่านั้น แต่ยังเป็นการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะความชำนาญด้านการพัฒนาตำรับ การผลิต การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ การทดสอบทางเภสัชวิทยา และการขึ้นทะเบียนยารักษาโรคมะเร็งให้แก่บุคลากรและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เป็นการยกระดับความสามารถด้านเภสัชอุตสาหการและเทคโนโลยีเภสัชกรรมและบุคลากรทางด้านนี้ของประเทศไทยให้พร้อมรองรับการผลิตและการวิจัยยารักษาโรคมะเร็งตำรับอื่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป สร้างความมั่นคงทางยาให้กับประเทศในระยะยาวเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยอย่างยั่งยืน.

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

‘นิพิฏฐ์’ จี้พรรคประชาชน พูดความจริง อย่าพูดเรื่อยเปื่อยไปวันๆ

21 นาทีที่แล้ว

กรมอุตุฯ อัปเดตเส้นทาง ‘พายุดีเปรสชัน’ ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน

35 นาทีที่แล้ว

‘จักรภพ’ จ่อนั่งโฆษกรัฐบาลคนใหม่ กรอกประวัติ ตรวจคุณสมบัติแล้ว

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

🛑LIVE ยุบ-ไม่ยุบสภา!? | ห้องข่าวไทยโพสต์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

หมออ๋อง ฟาด! พรรคไหน? อาการเกินเยียวยา เพราะอำนาจตัวเองสั่นคลอน

TOJO NEWS

อุตุฯ เผยปัจจัย ทำให้เกิดสึนามิ ย้ำ มีเวลา 1 ชม. แจ้งเตือนภัยล่วงหน้า

คมชัดลึกออนไลน์

ฮุน เซน ผลักดันแก้กฎหมายเพิกถอนสัญชาติชาวกัมพูชา ที่ทรยศชาติ ไม่จงรักภักดี

Khaosod

อุตุฯ ฉบับ 2 คาดดีเปรสชัน บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน จะทวีกำลังแรงเป็นโซนร้อน

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

เปิดนาที ฝ่ายปกครอง บุกทลาย "บ่อนสะพานใหม่" นักพนันพากันวงแตก ของกลางเพียบ

Khaosod

มูลนิธิเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ยื่นหนังสือต่อ 'รองนายกฯ และ รมว.มท. สอบ 'กฟน. - กฟภ. - กทม.' หลังกลิ่นทุจริตโชยหึ่ง

Manager Online

International Studies Center Launches Books Marking 50 Years of Thai-China Relations

สำนักข่าวไทย Online
วิดีโอ

"นั่งสุข ลุกสบาย" เปลี่ยนชีวิตใหม่ให้ผู้สูงอายุ - คนพิการ จ.ปทุมธานี

Thai PBS

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...