ลำพูนผุด “ทุ่งหัวช้างโมเดล ” ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาผ้าลำพูน ให้พื้นที่อำเภอทุ่งหัวช้าง เป็นพื้นที่ต้นแบบการผลิตผ้าพื้นถิ่นของจังหวัด
ลำพูน ผุด “ทุ่งหัวช้างโมเดล ” ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาผ้าลำพูน ให้พื้นที่อำเภอทุ่งหัวช้าง เป็นพื้นที่ต้นแบบการผลิตผ้าพื้นถิ่นของจังหวัด
วันที่ 22 กรกฎาคม 2568 ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน นายวิวัฒน์ อินทร์ไทยวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เปิดพื้นที่เรียนรู้ การผลิตผ้าพื้นถิ่นลำพูน “ทุ่งหัวช้างโมเดล” ภายใต้โครงการส่งเสริมกระบวนการพัฒนาผ้าลำพูน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ต้นแบบการผลิตผ้าพื้นถิ่นลำพูน สู่ “ทุ่งหัวช้างโมเดล”
นายวิวัฒน์ อินทร์ไทยวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า จังหวัดลำพูนมีผ้าทอยกดอกเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก รวมทั้งผ้าแบบอื่นๆที่มาจากลำพูนเป็นคุณค่าเป็นความภูมิใจที่ต้องสืบสาน ต่อยอด คนรุ่นใหม่ ที่จะต้องต่อยอดสืบทอดจากพ่อแม่ เป็นโมเดล ต่อยอดไปได้ มีช่องทางการตลาดพัฒนาของสำนักงานพัฒนาชุมชน ในงานทุ่งหัวช้างโมเดลมีฐานทอผ้า มีการพัฒนา มีจุดอ่อนจุดด้วยที่จะปรับปรุงทำให้ดีขึ้นไป เอาคนรุ่นใหม่เข้ามาข่วยโดยเฉพาะการย้อมสีธรรมชาติ และสีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ผ้าไหมมีสีสวยงามมีสีเข้มสวย สามารถเพิ่มมูลค่าให้ผ้าขึ้น พัฒนาชุมชนก็จะหาตลาดหาช่องทางขายให้ ช่วงเทศกาลต่างของจังหวัด เช่น ช่วงเดือนที่ผ่านมาจัดงานมหกรรมผ้าที่ขัวมุงท่าสิงห์ หน้าวัดพระธาตุ จำหน่ายได้กว่า 5 ล้านบาท สามารถกระตุ้นการจำหน่ายได้มาก มุ่งหัวช้างโมเดลก็จะสามารถเป็นต้นแบบเป็นจุดแข็งต่อไปของจังหวัดต่อไปได้
นายประจักษ์จิตร สายนะที พัฒนาการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า ทุ่งหัวช้างโมเดลสนับสนุน ยกระดับผ้า ลำพูน ครบกระบวนการทั้งในระดับต้นน้ำ แบบครบวงจร ทำ ให้ผู้ผลิตออกแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมตลาด ออนไลน์ออฟไลน์ และสร้างความยั่งยืน ต้นแบบผ้าลำพูน ผ้าจากพื้นถิ่นเป็น แหล่งเรียนรู้ แก่ประชาชน ทุ่งหัวช้างโมเดล จะเป็นแหล่งทอผ้า ที่มีในพื้นที่ให้ผู้สนใจสืบทอด อัตลักษณ์ ของลำพูนให้มั่นคง โดยในงานมีการสาธิตในฐานต่างๆเกี่ยวกับกานทอผ้าในแต่ละฐาน ให้ผู้สนใจและเป็นการประขาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปรับรู้ ด้วย
สำหรับ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต้นแบบการผลิตผ้าพื้นถิ่นลำพูน “ทุ่งหัวช้างโมเดล” ในครั้งนี้ ได้เลือกพื้นที่อำเภอทุ่งหัวช้าง เป็นพื้นที่ต้นแบบในการพัฒนา เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตผ้าทออัตลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดลำพูน ทั้งผ้าทอยกดอก ผ้าฝ้ายทอมือ และผ้าทอชาติพันธุ์ เพื่อเป็นการพัฒนาพื้นที่อำเภอทุ่งหัวช้างให้เป็นพื้นที่เรียนรู้การผลิตผ้าอัตลักษณ์พื้นถิ่นของจังหวัดลำพูน ด้วยการออกแบบและพัฒนาฐานการเรียนรู้กระบวนการผลิตผ้าอัตลักษณ์ลำพูนในพื้นที่อำเภอทุ่งหัวช้าง เพื่อให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้และลงมือฝึกปฏิบัติในกระบวนการผลิตผ้าอัตลักษณ์ลำพูน
ทั้งนี้เพื่อเป็นการสืบสาน รักษา ต่อยอด และประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาการผลิตผ้าอัตลักษณ์ของจังหวัดลำพูนให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับประชาชน และกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานรากให้มั่นคง ซึ่งประกอบด้วย 5 ฐานการเรียนรู้ อาทิ ฐานการปั่นด้าย ย้อมสีธรรมชาติ การทอผ้า และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมืองลำพูน ที่ สะท้อนถึงวิถีการผลิตผ้าแบบดั้งเดิม ผสานกับนวัตกรรมการออกแบบและการตลาดยุคใหม่