โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

'นักวิชาการ มธ.' จี้รัฐใช้ 4 กลไกระหว่างประเทศสู้เกม 'กัมพูชา'

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จากกรณีที่ พล.ต.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก ยืนยันผลการตรวจสอบทุ่นระเบิดที่ทำให้กำลังพลได้รับบาดเจ็บจำนวน 3 นาย ว่าเป็นทุ่นระเบิดใหม่ และยังตรวจพบเพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นการละเมิดต่ออนุสัญญาออตตาวา ว่าด้วยการห้ามใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล โดยหน่วยจะรายงานข้อเท็จจริงถึงกองทัพบกและรัฐบาล เพื่อประท้วงผ่าน องค์การสหประชาชาติ (UN) ต่อไป
ผศ. ดร.ธนภัทร ชาตินักรบ อาจารย์ประจำศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า แม้กองทัพบกจะออกมายืนยันว่าทุ่นระเบิดดังกล่าวจะเป็นของใหม่ ซึ่งอาจทำให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวลและความไม่พอใจในสังคมไทย

"สถานการณ์ในขณะนี้ยังถือว่าอยู่ในขั้นตอนการรวบรวมข้อเท็จจริงและตรวจสอบทางเทคนิค จึงควรดำเนินการด้วยความรอบคอบตามกรอบของกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อเป็นหลักประกันว่า หากมีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดในอนาคตหลังจากนี้ ไทยจะยังได้รับการยอมรับในเวทีระหว่างประเทศ"

ผศ. ดร.ธนภัทร กล่าต่อว่า สิ่งที่รัฐบาลควรต้องเร่งดำเนินการตอนนี้ คือการใช้กลไกต่างประเทศในทุกช่องทางที่มีเพื่อสร้างภาพความชอบธรรมของการที่ไทยเป็นผู้ถูกรุกราน หลังจากที่ผ่านมาฝ่ายกัมพูชาพยายามสื่อสารต่อเวทีโลกว่ากัมพูชาถูกไทยรุกรานมาโดยตลอด ซึ่งไม่เป็นความจริง

"พูดตามตรงว่าขณะนี้ยังไม่ปรากฏท่าทีชัดเจนจากรัฐบาลในสื่อสารกับประชาชนหรือประชาคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนนโยบายต่างประเทศและการประสานงานกับองค์การระหวางประเทศ” นักวิชาการธรรมศาสตร์ กล่าว

ผศ. ดร.ธนภัทร กล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลควรเริ่มต้นเร่งดำเนินการทันที คือดำเนินการตามขั้นตอนอนุสัญญาออตตาวาโดยรวบรวมพยายานหลักฐานต่างๆ ให้ชัดและส่งไปยังที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาออตตาวา พิจารณาจัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญสืบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งถึงเวลาที่รัฐบาลควรส่งได้แล้ว และสิ่งที่ควรดำเนินการขนาบข้างกันไปคือการเรียกร้องผ่าน UN โดยคณะผู้แทนถาวรไทยประจําสหประชาชาติ ทั้งที่นครนิวยอร์กและนครเจนีวา ซึ่งมีหน้าที่ต้องดำเนินการสามารถเดินหน้าได้แล้วเช่นกัน

นอกจากนี้ ในฐานะที่ประเทศไทยเพิ่งได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHRC) วาระปี 2568 – 2570 ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการขับเคลื่อนได้เช่นกัน เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นกับทหารไทย 3 นาย ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน
ผศ. ดร.ธนภัทร กล่าวอีกว่า นอกจากการแจ้งผ่านหน่วยงานที่เป็นทางการแล้ว ไทยยังสามารถแจ้งไปยังองค์กรเครือข่ายภาคประชาสังคมระดับนานาชาติที่ชื่อว่า องค์กรรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อการห้ามทุ่นระเบิด (International Campaign to Ban Landmine หรือ ICBL) ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งเมื่อปี 1992 เพื่อยุติการผลิต การสะสม การใช้

ที่สำคัญการส่งออกทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดสนธิสัญญาออตตาวา ซึ่งเป็นองค์กรที่เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ที่คอยตรวจสอบและรายงานการละเมิดการใช้ทุ่นระเบิดจากประเทศต่างๆ ซึ่งไทยสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนไปยัง ICBL ได้เช่นกัน

“การใช้ทั้ง 4 กลไกระหว่างประเทศในช่วงเวลานี้ ไม่เพียงเป็นการตอบสนองเชิงรับต่อเหตุการณ์ทุ่นระเบิด แต่ยังเป็นการวางหมากทางยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างสถานะของไทยในฐานะรัฐที่ยึดมั่นในหลักสันติวิธีและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลอย่างมากต่อภาพลักษณ์ในเวทีโลก"

ทั้งนี้หากข้อพิพาทชายแดนขยายตัวในอนาคต ไม่ว่าจะในรูปแบบการทูตหรือข้อพิพาททางกฎหมายระหว่างประเทศ การที่ไทยได้แสดงออกถึงความร่วมมือกับกลไกระหว่างประเทศ เช่น การแจ้งต่ออนุสัญญาออตตาวา การสื่อสารผ่าน UN และ UNHRC หรือการอาศัยเครือข่ายภาคประชาสังคมระดับโลก จะช่วยทำให้ไทยมีความชอบธรรมสูงกว่าในสายตาประชาคมโลก พร้อมลดน้ำหนักข้อกล่าวหาของกัมพูชา และช่วยให้ไทยเป็นฝ่ายกำหนดกรอบการพูดคุยในอนาคต แทนที่จะต้องคอยตอบโต้หรือแก้ตัวอยู่เพียงฝ่ายเดียว” นักวิชาการธรรมศาสตร์ กล่าว

ผศ. ดร.ธนภัทร กล่าวด้วยว่า การสื่อสารอย่างชัดเจนจากฝ่ายนโยบายเป็นสิ่งจำเป็นต่อการรักษาความเชื่อมั่นของประชาชนและพันธมิตรระหว่างประเทศ ส่วนตัวเห็นว่าการแถลงของกองทัพเป็นไปในแนวทางที่พยายามอธิบายข้อเท็จจริงบนพื้นฐานของหลักการและข้อมูลที่มีอยู่ในขณะนี้ได้อย่างเหมาะสม พร้อมยืนยันถึงการยึดหลักสันติวิธี และปฏิบัติหน้าที่ในการปกป้องอธิปไตยและเกียรติภูมิของชาติด้วยความรอบคอบเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในสายตาสังคมโลก

สำหรับถ้อยแถลงของกองทัพได้ชี้ว่า พบทุ่นระเบิดใหม่ในฝั่งไทย และอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานเพื่อเสนอต่อรัฐบาล ซึ่งเป็นแนวทางตามกระบวนการปกติในการนำเสนอข้อมูลต่อองค์การระหว่างประเทศ เช่น UN เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงและขอให้มีการติดตามประเด็นนี้ในระดับระหว่างประเทศต่อไป

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

รัฐบาลประณามกัมพูชาใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลขัด กม.ระหว่างประเทศร้ายแรง

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สพฐ.ระดม11ภาคีทำแผน Zero Dropout ไม่ปล่อยให้เด็กหลุดนอกระบบ

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

‘ทวี’ เปิดโครงการส่งเสริมทักษะด้านภาษาเพื่อการสื่อสารและจริยธรรมให้เยาวชนภูเก็ต

เดลินิวส์

กต.ออกแถลงการณ์ประท้วง ประณาม 'กัมพูชา' ในการใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล

VoiceTV

เขมรไม่ต้องเคลม! อ.ชาญวิทย์ พูดถึงต้นแบบที่มาอักษรในชาติย่านนี้

Khaosod

‘สส.คงกฤษ ’ร้องคมนาคม ปลดล๊อกแก้ปัญหา รถโดยสารประจำทาง จ.ระนอง

เดลินิวส์

‘วิสุทธิ์’ แย้ม ‘ทักษิณ’ ร่วมวงดินเนอร์พรรคร่วม 22 ก.ค.นี้

The Bangkok Insight

กต.ออกแถลงการณ์ ประณามการใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ชี้ ละเมิดอธิปไตย

The Reporters

ข่าวและบทความยอดนิยม