งานวิจัยใหม่ ใช้ 'แบคทีเรีย' กรองน้ำดื่ม ช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทน
งานวิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยรัดเบาด์ไนเมเคินของเนเธอร์แลนด์ ค้นพบว่า ระบบกรองน้ำที่ใช้กันมานานกว่า 100 ปีนั้น เป็นระบบที่จะใช้ทรายในการกรองให้น้ำสะอาด โดยจะมีกระบวนการทางจุลชีววิทยาและเคมีที่จะทำความสะอาดทรายอีกที ซึ่งวิธีนี้มีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดการปล่อย 'ก๊าซมีเทน' สู่ชั้นบรรยากาศโดยที่เราไม่รู้ตัว
หากอ้างอิงจากข้อมูลของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ต้องจัดหาแหล่งน้ำ 70% จากใต้ดินขึ้นมากรองเป็นน้ำดื่มเพื่อตอบสนองคนทั้งประเทศนั้น พบว่ากระบวนการดังกล่าวได้ปล่อยก๊าซมีเทนสู่อากาศปริมาณมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนยิ่งกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 28 เท่า ในทุกๆ 100 ปี
นักวิจัยจึงได้ทดลองพัฒนาระบบที่ใช้ตัวกรองแห้งแบบปิด ซึ่งมี 'แบคทีเรย' เป็นองค์ประกอบสำคัญ โดยพวกเขาได้ฉีดน้ำเข้าไปในถังกรองน้ำขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยทราย เพื่อให้แบคทีเรียดูดซับมีเทนจำนวนมากและเปลี่ยนมีเทนเป็นคาร์บอน แน่นอนว่าคาร์บอนเหล่านั้นยังคงเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม แต่มันสร้างความเสียหายต่อชั้นบรรยากาศน้อยกว่าเมื่อเทียบกับมีเทน
โดยปกติแล้ว มลพิษมีเทน ประมาณ 50-65% ของโลก มักจะเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในประจำวัน เช่น การเกษตร การผลิตพลังงาน กระบวนการอุตสาหกรรมหลุมฝังกลบและการจัดการน้ำเสีย
ขณะที่นักวิจัยเชื่อว่า หากสามารถปรับปรุงกระบวนการกรองน้ำได้สำเร็จ ก็จะสามารถช่วยลดมลพิษและสามารถส่งต่อน้ำดื่มสะอาดแก่ผู้คนทั่วโลกที่ยังเข้าถึงน้ำไม่ได้ อีกราว 4.4 พันล้านคน