โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

SAPPE ซีอีโอหญิงไทยบนเวทีระดับโลก ‘Global Summit of Women 2025’ ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี

เดลินิวส์

อัพเดต 9 กรกฎาคม 2568 เวลา 17.21 น. • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
SAPPE ซีอีโอหญิงไทยบนเวทีระดับโลก ‘Global Summit of Women 2025’ ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ถ่ายทอดวิสัยทัศน์ธุรกิจไทยยุคใหม่ที่กล้ายืนหยัดต่อประเด็นสังคมระดับโลก

บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) หรือ SAPPE ตอกย้ำภาพลักษณ์ในฐานะองค์กรไทยที่ก้าวสู่เวทีโลกอีกครั้ง เมื่อปิยจิต รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ได้รับเกียรติร่วมเป็นหนึ่งในผู้ร่วมเสวนาบนเวที Global Summit of Women 2025 งานประชุมสุดยอดผู้นำหญิงระดับนานาชาติที่ทรงอิทธิพลที่สุดงานหนึ่งของโลก ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 35 ภายใต้ธีม “Women: Restoring Values in the Digital Age” ระหว่างวันที่ 3–5 กรกฎาคม 2568 ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี โดยมีผู้นำจากกว่า 60 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง เวทีเสวนา Women CEO Forum ในปีนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ Should Companies Take a Position on Socio-Cultural Issues?” โดยมีคุณ Irene Natividad ประธานการประชุม Global Summit of Women เป็นผู้ดำเนินรายการ ร่วมพูดคุยกับผู้นำหญิงระดับสูงจากองค์กรชั้นนำระดับโลก อาทิ Commerzbank (Germany), Dow Europe (Switzerland), McCann Worldgroup Europe (Spain) และ SAPPE PCL. (Thailand) ในการแลกเปลี่ยนมุมมองอย่างเข้มข้น สะท้อนบทบาทของผู้หญิงยุคใหม่ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงผู้ใช้นวัตกรรม แต่ยังเป็นผู้นำในการฟื้นคืนคุณค่าและจริยธรรมให้แก่โลกธุรกิจและสังคมในยุคดิจิทัล

ในช่วงเสวนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SAPPE ได้ถ่ายทอดเส้นทางที่น่าประทับใจของเซ็ปเป้ จากจุดเริ่มต้นที่เรียบง่ายในฐานะธุรกิจอาหารขนาดเล็กของครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นที่สอง สู่การเป็นบริษัทเครื่องดื่มนวัตกรรมที่ส่งออกไปยังกว่า 100 ประเทศทั่วโลก เธอเติบโตมาในครอบครัวที่มีพี่น้องชายสามคน และเป็นลูกสาวเพียงคนเดียว ก่อนจะเริ่มต้นอาชีพในสายการเงินกับสถาบันระดับโลก เช่น Deutsche Bank, Barclays Capital และ BNP Paribas กระทั่งช่วงเวลาที่ SAPPE กำลังเตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งถือเป็นหมุดหมายสำคัญของบริษัท ครอบครัวจึงเรียกตัวเธอกลับมาเพื่อใช้ความเชี่ยวชาญทางการเงินร่วมวางรากฐานองค์กรในฐานะ CFO ก่อนจะได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่ง CEO ภายหลังจากที่พี่ชายคนโตของเธอตัดสินใจลงจากตำแหน่ง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปิยจิตได้ขับเคลื่อน SAPPE อย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นหนึ่งในแบรนด์ไทยที่แข็งแกร่งในระดับนานาชาติ

เธอได้กล่าวอย่างชัดเจนบนเวทีว่า SAPPE ยึดมั่นในบทบาทขององค์กรที่ “กล้ายืนหยัดเพื่อคุณค่าที่เชื่อ” ไม่ใช่แค่ในเชิงกลยุทธ์ทางการตลาด แต่เป็นการส่งเสียงอย่างมีจุดยืนในประเด็นที่มีความสำคัญต่อสังคมและวัฒนธรรม โดยมีคุณค่าหลักขององค์กรที่ถูกหล่อหลอมไว้ใน DNA ได้แก่ ความเป็นนักนวัตกรรม การส่งเสริมบทบาทผู้หญิง และความหลากหลายเท่าเทียม SAPPE เป็นผู้บุกเบิกเครื่องดื่มหมวดหมู่ใหม่ของโลกที่เรียกว่า “Snack Drink” หรือเครื่องดื่มที่เคี้ยวได้ โดยแบรนด์ Mogu Mogu น้ำผลไม้ผสมวุ้นมะพร้าว (Nata de Coco) ได้สร้างปรากฏการณ์ในตลาดโลกและเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไปโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ บริษัทยังพัฒนาผลิตภัณฑ์ “Sappe Beauti Drink” ซึ่งเป็นเครื่องดื่มฟังก์ชันที่สะท้อนจุดยืนของบริษัทในการส่งเสริมให้ผู้หญิงดูแลตนเอง รักและภาคภูมิใจในความงามจากภายใน โดยเมื่อปีที่แล้วได้เปิดตัวแคมเปญ “สวยเรา ไม่ต้องสวยใคร” หรือ Self-Love ภายใต้แนวคิดว่า “ผู้หญิงไม่ควรรอให้ใครมายืนยันคุณค่า แต่ควรเป็นคนที่เชื่อมั่นในความงามของตนเอง และสามารถเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้”

SAPPE ยังยึดมั่นในเรื่องความเท่าเทียม ความหลากหลาย และการเปิดกว้าง โดยมีพนักงานหญิงคิดเป็น 53% ของพนักงานทั้งหมด และในระดับผู้บริหารระดับสูงมีสัดส่วนถึง 60% ซึ่งสะท้อนวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยคุณค่าที่แท้จริง ในด้านการบริหารองค์กร ปิยจิตกล่าวถึงความสำคัญของโครงสร้างที่ไม่เป็นลำดับชั้น (Flat Organization) ซึ่งเอื้อต่อการมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนข้อมูลในทุกระดับ โดยมีการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียผ่านหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการประชุมกับผู้ถือหุ้นรายไตรมาส การสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์และ Social Listening ตลอดจนการเปิดพื้นที่ให้ทีมงานทุกระดับสามารถเข้าถึงผู้บริหารได้โดยตรง

ฉันเปิดประตูไว้เสมอให้ทีมงานเข้ามาพูดคุย ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม และสนับสนุนให้ทุกคนกล้าแสดงความคิดเห็นภายใต้ความเคารพซึ่งกันและกัน เพราะนั่นคือสิ่งที่จะทำให้องค์กรเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน” ปิยจิตกล่าว

ในฐานะผู้นำองค์กรระดับโลก SAPPE ให้ความสำคัญกับการเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรม ไม่ยึดหลัก “One Size Fits All” ในการบริหารจัดการในแต่ละประเทศ พร้อมเน้นย้ำว่า ซีอีโอต้อง “Walk The Talk” หรือเป็นผู้ลงมือทำจริงในทุกเรื่องที่องค์กรยึดถือ ไม่ว่าจะเป็นความโปร่งใส ความซื่อสัตย์ หรือความรับผิดชอบ ทั้งต่อพนักงาน ผู้บริโภค และสังคมโดยรวม

สำหรับการสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์กับคนรุ่นใหม่ ปิยจิตได้ยกตัวอย่างว่า ปัจจุบัน SAPPE มีพนักงาน Gen Z ถึง 20% ขององค์กร และคนกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับ “Purpose” หรือเป้าหมายในการทำงานอย่างมาก “พวกเขาอยากรู้ว่าทำอะไร ทำไปเพื่ออะไร และทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้นเราจึงให้ความสำคัญกับการสื่อสารพันธกิจ ค่านิยม และเป้าหมายขององค์กรให้ชัดเจน พร้อมทั้งส่งเสริมสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร และออกแบบระบบประเมินผลงานที่ชัดเจนและเป็นธรรม เพื่อให้พวกเขารู้สึกว่าตนมีคุณค่าในองค์กรอย่างแท้จริง” เธอกล่าว พร้อมเน้นว่าแนวคิดนี้เองที่ทำให้ SAPPE สามารถขับเคลื่อนด้วยไอเดียใหม่ ๆ และเชื่อมโยงกับความเปลี่ยนแปลงในยุคสมัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเข้าร่วม Global Summit of Women ครั้งนี้จึงไม่ใช่เพียงเวทีแลกเปลี่ยนความคิดระดับโลก แต่ยังเป็นโอกาสสำคัญที่ผู้หญิงไทยคนหนึ่งได้แสดงให้โลกเห็นว่า “องค์กรไทย” ก็สามารถเติบโตได้บนเวทีโลก ด้วยความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย วิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และความกล้าที่จะยืนหยัดในคุณค่าที่ตนเชื่อ ความสำเร็จของ SAPPE ในครั้งนี้ยังสะท้อนพลังของ “ความยั่งยืนเชิงวัฒนธรรม” ที่ไม่ได้วัดกันแค่ตัวเลขหรือมาตรฐาน แต่คือพลังของผู้คนในองค์กรที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงโลกอย่างรับผิดชอบ

สำหรับงาน Global Summit of Women เป็นเวทีประชุมระดับนานาชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และจัดต่อเนื่องมาแล้วถึงปีที่ 35 โดยในปีนี้มีผู้เข้าร่วมกว่าพันคนจากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมทั้งภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ และภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้นำระดับสูง อาทิ รัฐมนตรี ผู้อำนวยการอาวุโส และซีอีโอจากบริษัทชั้นนำระดับโลก เช่น IBM, EY, UNCTAD, Huawei, Adecco, Bayer, Mercedes-AMG, National Bank of Australia และ Commerzbank งานประชุมประกอบด้วยเนื้อหาหลากหลาย ทั้งในเวที Plenary ที่มุ่งเน้น Megatrends และนโยบายระดับโลก การพัฒนาอาชีพของผู้หญิงในยุคดิจิทัล ตลอดจนการประชุมระหว่างรัฐและเอกชนที่เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติจริง (Skills-building) จากหลายประเทศทั่วโลก เวทีนี้ไม่เพียงเป็นแหล่งสร้างแรงบันดาลใจ แต่ยังส่งผลเชิงนโยบายและความร่วมมือข้ามพรมแดนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในด้านการลดช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศ การขยายโควต้าผู้หญิงในตำแหน่งบริหาร และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลต่อการเติบโตของ GDP อย่างเป็นรูปธรรมในระยะยาว

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

“อนุชา” รมช.สาธารณสุข มอบนโยบายฯ กรมอนามัย อยากให้คนไทยสุขภาพดี

22 นาทีที่แล้ว

จีนเล็งพัฒนา “นิคมอุตสาหกรรม” ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์

25 นาทีที่แล้ว

“วิชูทิศ” พ่าย “พิชญบัณฑิต” แบบสุดมัน ศึกลูกหนัง “เดลินิวส์ คัพ 2025”

26 นาทีที่แล้ว

“โยเคเรส” อาจฝันสลายอดไป “ปืนใหญ่”

27 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

ZTE บิ๊กเทคจีน เล็งขยายลงทุนในไทย หนุน AI-Cloud-Data Center

การเงินธนาคาร

เริ่มจ่ายเงินสงเคราะห์บุตร อัตราใหม่แล้ว ตรวจสอบผู้ได้รับสิทธิ ยื่นเรื่องได้ 2 ช่องทาง

สยามนิวส์

ธปท.ชี้ผลกระทบภาษีทรัมป์ไม่รุนแรงเท่าวิกฤตการเงินโลก-โควิด แต่ซึมยาว แนะนโยบายการเงินผ่อนคลายรับมือความเสี่ยง

สยามรัฐ

จีนเล็งพัฒนา “นิคมอุตสาหกรรม” ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์

เดลินิวส์

“แพทองธาร” โต้ “อนุทิน” ปมจีนเบรกเที่ยวไทย เหตุความปลอดภัย ไม่ใช่ผุดกาสิโน

การเงินธนาคาร

ฟินโนมีนา ชี้ทางรอดใต้เงานโยบายทรัมป์ แนะลงทุน Multi Asset กระจายเสี่ยง

ฐานเศรษฐกิจ

บขส.ทุ่ม 3 พันล.จัดหารถใหม่ 311 คันให้บริการประชาชน

ไทยโพสต์

ธปท.รับศก.ไทยครี่งปีหลังทรุด โตต่ำกว่าศักยภาพ พร้อมปรับนโยบายการเงินสู้เสี่ยง ยันไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด

MATICHON ONLINE

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...