โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

หุ้น การลงทุน

ส่องบทเรียนจากอดีต : ผลกระทบสงครามอิสราเอล-อิหร่าน เมื่อราคาน้ำมันสั่นสะเทือนเศรษฐกิจโลก

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 22 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

คอลัมน์ : สถานีลงทุน ผู้เขียน : สวภพ ยนต์ศรี บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด

ตลอดปี 2025 ที่ผ่านมา ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ยังคงเป็นความเสี่ยงที่ติดอันดับต้น ๆ ของแบบสำรวจความกังวลของนักลงทุน รวมถึงเป็นความเสี่ยงที่บทวิเคราะห์จากสถาบันการเงินชั้นนำของโลกหลายแห่งมองว่า เป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในปีนี้

โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่เดือนหลังที่คำนี้มักถูกใช้กับความเสี่ยงที่ตามมาจาก “นโยบายภาษีที่คาดเดาไม่ได้ของสหรัฐ” และในตอนนี้ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ก็กลายมาเป็นปัญหาที่ปรากฏให้เห็นจริง ๆ แต่ไม่เพียงมาจากผลกระทบจากการดำเนินนโยบายด้านภาษีจากสหรัฐเท่านั้น แต่ยังมาจากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ในรูปแบบดั้งเดิม นั่นก็คือความขัดแย้งจากสงครามในภูมิภาคตะวันออกกลาง ระหว่างอิสราเอลกับอิหร่าน ซึ่งกำลังคุกคามเสถียรภาพของอุปทานน้ำมันโลก

โดยราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นทันที 12% หลังอิสราเอลเปิดฉากโจมตีเป้าหมายนิวเคลียร์ในอิหร่าน และความตึงเครียดยิ่งปะทุขึ้นเมื่ออิสราเอลโจมตีจุดยุทธศาสตร์อื่นเพิ่มเติม รวมถึงท่าเรือน้ำมันหลักในกรุงเตหะราน และอิหร่านตอบโต้ด้วยการยิงขีปนาวุธโจมตีอิหร่านด้วยเช่นเดียวกัน ถึงแม้การเจรจาและยุติความรุนแรงอาจเกิดขึ้นได้ แต่หากความขัดแย้งยังคงรุนแรงและบานปลาย ก็อาจกระทบกับราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งปัจจุบันอิหร่านผลิตน้ำมันราว 3.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน และส่งออกประมาณ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะที่ความต้องการน้ำมันทั่วโลกโดยรวมอยู่ที่ราว 103.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามข้อมูลจาก International Energy Agency ทั้งนี้ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีศักยภาพในการเพิ่มกำลังการผลิตได้รวมกว่า 3.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งจะสามารถช่วยลดแรงกระแทกจากการหยุดชะงักของอิหร่านได้ในระดับหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันสะท้อนความกังวลว่า สถานการณ์อาจบานปลายจนถึงขั้นที่อิหร่านปิดช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นทางเดินเรือหลักของน้ำมันโลก หรืออาจโจมตีโรงกลั่นน้ำมันของประเทศเพื่อนบ้าน โดยในอดีตที่ผ่านมาความเชื่อมโยงระหว่างปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ราคาน้ำมัน และเศรษฐกิจโลกนั้นไม่เคยเรียบง่าย และบางครั้งก็แสดงออกอย่างซับซ้อนเกินคาด

อ้างอิงจากงานวิจัยของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่เผยแพร่ในปี 2023 ยกตัวอย่างว่า ราคาน้ำมันดิบเบรนต์พุ่งขึ้น 5% หลังเหตุการณ์วินาศกรรม 9/11 เนื่องจากนักลงทุนหวั่นว่าอาจเกิดสงครามในตะวันออกกลาง แต่ราคากลับลดลงถึง 25% ภายในสองสัปดาห์ เพราะความกลัวต่อภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยที่อาจกดดันอุปสงค์น้ำมันอย่างรุนแรง เหตุการณ์เดียวกันเกิดขึ้นหลังรัสเซียรุกรานยูเครนในปี 2022 เมื่อราคาน้ำมันพุ่ง 30% ในช่วงสัปดาห์แรก ก่อนจะลดลงสู่ระดับก่อนเกิดเหตุภายในเวลาเพียง 8 สัปดาห์เท่านั้น

งานวิจัยของ ECB ยังอธิบายว่า ผลกระทบจากความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์มักแสดงออกผ่านสองช่องทางสำคัญ ได้แก่ ช่องทางความเสี่ยง (Risk Channel) ซึ่งมีผลในระยะสั้น เมื่อเกิดความกังวลว่าอุปทานน้ำมันจะขาดแคลน ราคาสัญญาน้ำมันจะปรับขึ้น โดยสะท้อนผ่าน “Convenience Yield” หรือผลตอบแทนจากการถือครองจริง และในระยะยาวจะผ่านช่องทางกิจกรรมเศรษฐกิจ (Economic Activity Channel) ที่ความไม่แน่นอนจะบั่นทอนการลงทุน การบริโภค และการค้า ส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันลดลงตามมา กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์มักไม่ยั่งยืนนัก

แต่ก็ไม่ใช่ทุกครั้งที่สถานการณ์จะคลี่คลายเช่นนี้ ย้อนกลับไปในวิกฤตราคาน้ำมันปี 1973 และ 1979 สหรัฐต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยหลังเกิดเหตุ และโอกาสที่ราคาน้ำมันจะเป็นตัวจุดชนวนปัญหาเศรษฐกิจโลก ยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่นักลงทุนและทุกฝ่ายไม่อาจมองข้าม

อย่างไรก็ดี งานศึกษาล่าสุดจากธนาคารกลางสาขาดัลลัสของสหรัฐพยายามวิเคราะห์แยกแยะ “ความไม่แน่นอนด้านราคาน้ำมัน” ออกจาก “ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจโดยรวม” พบว่า แม้จะมีความเสี่ยงด้านอุปทานระดับเดียวกับวิกฤตในอดีต เช่น ปี 1973 หรือ 1979 ผลกระทบต่อการผลิตเศรษฐกิจจริงน่าจะจำกัดอยู่เพียง -0.12% เท่านั้น

สรุปคือ แม้ราคาน้ำมันจะตอบสนองต่อความไม่แน่นอนในระยะสั้นอย่างรุนแรง แต่หากความเสี่ยงเหล่านั้นไม่เกิดขึ้นจริง ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกก็มีแนวโน้มอยู่ในวงจำกัด แนวโน้มนี้ยังปรากฏในตลาดการเงินอื่นเช่นกัน รายงาน Global Financial Stability Report ของ IMF ระบุว่า เหตุการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 มักทำให้ราคาหุ้นปรับลดเล็กน้อยในระยะสั้น แต่ไม่ส่งผลกระทบถาวร ตัวอย่างเช่น ตลาดหุ้นโลกสามารถฟื้นตัวได้ทั้งจากเหตุการณ์อิรักบุกคูเวตในปี 1990 และรัสเซียบุกยูเครนในปี 2022 ข้อยกเว้นสำคัญยังคงเป็นปี 1973 ที่การคว่ำบาตรน้ำมัน ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกลดลงอย่างรุนแรงภายในเวลาเพียง 12 เดือน

ท้ายที่สุด สิ่งที่ตัดสินผลกระทบทางเศรษฐกิจก็คือ “ระยะเวลา” และ “ระดับความรุนแรง” ของความขัดแย้ง หากสถานการณ์ระหว่างอิสราเอลและอิหร่านไม่ยืดเยื้อหรือรุนแรงเกินควบคุม เช่นเดียวกับช่วง “สงครามเรือบรรทุกน้ำมัน” ในทศวรรษ 1980 ที่อิหร่านและอิรักโจมตีเรือกว่า 200 ลำในช่องแคบฮอร์มุซ ราคาน้ำมันก็ยังสามารถทรงตัวได้ในระยะยาว สะท้อนว่าหากไม่มีการหยุดชะงักครั้งใหญ่ในอุปทาน ผลกระทบที่แท้จริงต่อเศรษฐกิจโลก ก็อาจอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : ส่องบทเรียนจากอดีต : ผลกระทบสงครามอิสราเอล-อิหร่าน เมื่อราคาน้ำมันสั่นสะเทือนเศรษฐกิจโลก

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.prachachat.net

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ประชาชาติธุรกิจ

สถิติหวย ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวด 1 ก.ค. ย้อนหลัง 10 ปี

47 นาทีที่แล้ว

ราคาทองวันนี้ (27 มิ.ย. 68) ร่วงลง 500 บาท ทองรูปพรรณ 51,600 บาท

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เชียงรายฝนถล่ม น้ำป่าไหลหลาก-ท่วมฉับพลัน อ.พญาเม็งราย และ อ.เวียงชัย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่ม หลังดัชนีดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความหุ้น การลงทุนอื่น ๆ

PRTR ผนึก Biz Resource ลุยขยายธุรกิจ Outsource เฉพาะทาง รับดีมานด์พนักงานขับรถองค์กร และพนักงานทำความสะอาด

Share2Trade

Readyplanet จับมือ FlowAccount เชื่อมการขาย การตลาด และบัญชี ยกระดับธุรกิจไทยยุคใหม่ ใช้ MarTech ได้แบบไร้รอยต่อ

Share2Trade

เวสต์เทกซัส 65.24 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล เบรนท์ 67.73 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล

กรุงเทพธุรกิจ

“UOBAM”…แนะโอกาสการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสิงคโปร์ เสนอขาย IPO “กองทุนเปิด ยูไนเต็ด พันธบัตรรัฐต่างประเทศ 6 เดือน 10” (UFGOV6M10) IPO 27 มิ.ย. – 2 ก.ค. 68

Wealthy Thai

“บลจ.ทิสโก้”...เพิ่มทุน “TEMxCH” เป็น 1,200 ล้านบาท รับความต้องการลูกค้าเพิ่ม หลังเศรษฐกิจไต้หวันฟื้น - การเมืองเกาหลีใต้นิ่ง

Wealthy Thai

Gold Futures : บล.โกลเบล็ก ราคาทองวันนี้ 3,294.82 U$/ทรอยเอาน์ซ

กรุงเทพธุรกิจ

ใครเจ๋งกว่ากัน "CBG" VS "OSP"

Share2Trade

Gunkul ปลดล็อค เพิ่มศักยภาพขยายการลงทุน พลังงานสีเขียว ทั้งไทยและทั่วเอเชียรวมถึงลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ (New S Curve Growth)

Share2Trade

ข่าวและบทความยอดนิยม

ส่องบทเรียนจากอดีต : ผลกระทบสงครามอิสราเอล-อิหร่าน เมื่อราคาน้ำมันสั่นสะเทือนเศรษฐกิจโลก

ประชาชาติธุรกิจ

‘พิชัย’ ดึงแอร์เอเชียช่วยผลไม้ ซื้อ ‘ลำไย-มังคุด’ ทำเมนูเสิร์ฟบนเครื่อง

ประชาชาติธุรกิจ

‘บิ๊กซี’ ยังมั่นใจแผนลงทุนปี’68 ผุด 7 สาขาโฟกัสนักท่องเที่ยว

ประชาชาติธุรกิจ
ดูเพิ่ม
Loading...