โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

‘อีสาน’ จากพื้นที่ยากจน สู่เมืองแห่งโอกาส กับ 3 สิ่งที่ต้องทำเพื่อปลดล็อกศักยภาพ

THE STANDARD

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • thestandard.co
‘อีสาน’ จากพื้นที่ยากจน สู่เมืองแห่งโอกาส กับ 3 สิ่งที่ต้องทำเพื่อปลดล็อกศักยภาพ

“เคล็ดลับความสำเร็จของการพัฒนาประเทศไทยอยู่ที่นี่”

คำกล่าวเปิดประเด็นของ Melinda Good, World Bank Division Director for Thailand and Myanmar บนเวที Unlocking Isan’s Potential in a Changing Economy ปลดล็อกอีสาน พลิกโอกาสเศรษฐกิจใหม่ ฉบับ World Bank ภายในงาน The Secret Sauce Business Weekend อีสาน 2025 ที่จังหวัดขอนแก่น สะท้อนไปยังกลุ่มผู้ประกอบการ นักลงทุน และคนรุ่นใหม่ที่เธอมองว่าเป็นผู้กำหนดอนาคตของภูมิภาคนี้และประเทศไทย

เมื่อ 20 ปีก่อน รายงานของธนาคารโลกฉบับหนึ่งได้ฉายภาพ ‘ภาคอีสาน’ หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไว้ค่อนข้างมืดมน เป็นภูมิภาคที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง มีความยากจนสูง และการลงทุนต่ำมาก แต่ภาพที่เราเห็นในวันนี้แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง อีสานได้เปลี่ยนผ่านจาก ‘พื้นที่แห่งความยากจน’ กลายเป็น ‘ดินแดนแห่งโอกาส’ ที่เต็มไปด้วยพลวัต

แต่ท่ามกลางโลกที่กำลังเผชิญกับความท้าทายรอบด้าน ทั้งความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี AI และสภาพภูมิอากาศ คำถามสำคัญคือ อีสานจะปลดล็อกศักยภาพมหาศาลที่มีอยู่ เพื่อก้าวไปสู่บทต่อไปของการเติบโตได้อย่างไร?

จากความยากจนสู่ศูนย์กลางแห่งใหม่ของภูมิภาค: การเดินทาง 20 ปีของอีสาน

ภาพของอีสานในวันนี้พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือเมื่อเทียบกับ 2 ทศวรรษก่อน Melinda บอกว่า จากอัตราความยากจนที่สูงถึง 17% หรือเกือบ 1 ใน 5 ของประชากรในอดีต ปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 4% GDP ต่อหัวเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า สะท้อนว่าประชากรมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน

เมืองใหญ่อย่าง ขอนแก่น, โคราช, อุดรธานี และอุบลราชธานี ได้กลายเป็นฮับของภูมิภาคอย่างแท้จริง มีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอย่าง 5G ที่ครอบคลุม และการเชื่อมต่อทางกายภาพทั้งถนนและทางรถไฟที่เชื่อมต่อไปยังโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ Greater Mekong Subregion (GMS)GMS และจีน ทำให้เกิดระบบนิเวศโลจิสติกส์และการค้าชายแดนที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

และที่สำคัญที่สุด คือการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของ ‘คน’

“เมื่อสองทศวรรษที่แล้ว อีสานเป็นประตูสู่การย้ายถิ่นฐานของแรงงานเป็นหลัก คนหนุ่มสาวกำลังย้ายออกไปทำงานที่มีผลิตภาพและค่าแรงต่ำ แต่ปัจจุบันภูมิภาคนี้ได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษา เป็นแม่เหล็กดึงดูดแนวคิดใหม่ๆ และการลงทุน” Melinda กล่าว

มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีนักศึกษามากกว่า 40,000 คน และมีหลักสูตรนานาชาติถึง 57 หลักสูตร นี่คือภาพสะท้อนว่าอีสานไม่ได้เป็นแค่แหล่งแรงงานอีกต่อไป แต่เป็นแหล่งบ่มเพาะและดึงดูดผู้มีความสามารถ (Talent) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในยุคที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและ AI

3 สิ่งที่ต้องทำเพื่อปลดล็อกศักยภาพอีสานสู่การเติบโตขั้นต่อไป

“สิ่งที่พาเรามาถึงจุดนี้ จะไม่ได้พาเราไปสู่ก้าวต่อไป” Melinda ย้ำ “โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รูปแบบการเติบโตในอดีตที่พึ่งพาเกษตรกรรมพื้นฐาน, บริการมูลค่าต่ำ และการย้ายถิ่นฐาน จะไม่สามารถขับเคลื่อนความเจริญรุ่งเรืองในอนาคตได้อีกต่อไป”

ธนาคารโลกได้นำเสนอแนวคิด ‘4 การเปลี่ยนผ่าน’ (Four Transitions) ที่กำลังกิดขึ้นกับประเทศไทย

  • จากเกษตรกรรมพื้นฐานไปสู่อุตสาหกรรมที่มีผลิตภาพมากขึ้น
  • จากเศรษฐกิจชนบทไปสู่เศรษฐกิจเมือง
  • จากบริการค่าแรงต่ำไปสู่การจ้างงานที่มีมูลค่าสูงขึ้น
  • จากการมีธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่เป็นทางการจำนวนมากไปสู่การเติบโตของธุรกิจที่มีผลิตภาพมากขึ้น

จากการเปลี่ยนแปลง 4 ด้านที่กำลังเกิดขึ้น สำหรับอีสานที่ต้องการจะพัฒนาต่อไปอีกขั้น การส่งเสริมเมืองที่แข็งแกร่งซึ่งสามารถเป็นเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทยในด้านการลงทุน การจ้างงาน และนวัตกรรม อีสานต้องสร้างเมืองที่สามารถทำได้อย่างน้อย 3 สิ่ง

  • จัดการกับความหนาแน่นที่เพิ่มขึ้นได้ คุณดึงดูดผู้มีความสามารถ แต่คุณต้องพัฒนาเมืองที่น่าอยู่ สร้างสรรค์ และสามารถแข่งขันได้
  • หาวิธีลดระยะทาง ทำให้ผู้คนเดินทางไปทำงานได้ง่ายขึ้น ทำให้บริษัทนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้ง่ายขึ้น ทำให้บริษัทส่งออกผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น
  • ดึงดูดผู้มีความสามารถและการลงทุนโดยมีกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สร้างสรรค์ ค่าแรงสูง และครอบคลุม

พลิกโฉมเศรษฐกิจฐานรากสู่ ‘อุตสาหกรรมมูลค่าสูง’

เป้าหมายไม่ใช่การละทิ้งเกษตรกรรมซึ่งเป็นรากฐานที่แข็งแกร่ง แต่คือ ‘การเพิ่มมูลค่า’ ให้กับมัน อีสานมีศักยภาพมหาศาลในการเป็นผู้นำด้านการแปรรูปทางการเกษตร (Agro-processing), โลจิสติกส์, โปรตีนจากพืช, พลังงานสะอาด, เกษตรอัจฉริยะ และเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotech)

ขณะเดียวกัน ต้องสร้างระบบนิเวศที่เอื้อให้ธุรกิจขนาดเล็กและไม่เป็นทางการ (Informal Sector) ซึ่งเป็นธุรกิจส่วนใหญ่ในภาคอีสาน สามารถเติบโตและเข้าสู่ระบบ (Formalize) ได้ เพื่อให้พวกเขาเข้าถึงเทคโนโลยี, แหล่งเงินทุน และตลาดส่งออก ซึ่งจะนำไปสู่การจ้างงานที่มีคุณภาพและผลิตภาพที่สูงขึ้น

ขณะเดียวกันเมืองคือกลไกขับเคลื่อนโอกาสในยุคใหม่ แต่การจะดึงดูดผู้มีความสามารถ (Talent) และการลงทุนได้นั้น เมืองต้องมี 3 สิ่งสำคัญ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานที่พร้อม, เมืองที่น่าอยู่ และเชื่อมโยงการศึกษากับอุตสาหกรรม

และกุญแจสำคัญที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง คือ ‘การให้อำนาจแก่เมือง’ รัฐบาลท้องถิ่นจำเป็นต้องมีอำนาจหน้าที่ (Authority), ขีดความสามารถ (Capacity) และที่สำคัญที่สุดคือ เครื่องมือทางการเงิน (Financial Tools) ที่จะสามารถระดมการลงทุนจากภาคเอกชนเข้ามาในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ได้

“นี่ไม่ใช่เรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่เป็นการเสริมสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจของเมืองต่างๆ โดยสิ้นเชิง” Melinda ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างโมเดลทางการเงินใหม่ๆ เช่น แพลตฟอร์มเมืองคาร์บอนต่ำ (Low Carbon City Platform) ที่รวบรวมการลงทุนจากหลายแหล่ง หรือโครงการพัฒนาที่เน้นการขนส่งสาธารณะ (Transit-Oriented Development) ซึ่งมีความน่าสนใจในสายตาของนักลงทุน

Melinda ทิ้งท้ายด้วยความเชื่อมั่นว่า อีสานใหม่กำลังจะเกิดขึ้น และอยู่ในจุดที่พร้อมจะสร้างความก้าวหน้าครั้งสำคัญ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจขึ้นไปทางเหนือเชื่อมต่อกับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) ในขณะที่รูปแบบการค้าของโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไป

“สิ่งที่เกิดขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้าจะสร้างความแตกต่างอย่างแท้จริง โลกยังคงก้าวไปข้างหน้า ดังนั้น การมีความตื่นตัวและแนวคิดที่รอบคอบในการก้าวไปข้างหน้าของอีสานเพื่อหลุดพ้นจากรูปแบบในอดีตจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง”

โอกาสสำคัญกำลังจะมาถึง เมื่อธนาคารโลกและ IMF จะมาจัดการประชุมประจำปีที่ประเทศไทยในปี 2026 ซึ่งเปรียบเสมือนโอลิมปิกทางเศรษฐกิจ และจะเป็นเวทีสำคัญที่เรื่องราวของอีสานในฐานะขั้วการเติบโตแห่งใหม่ของภูมิภาคจะถูกบอกเล่าสู่สายตาชาวโลก นี่คือช่วงเวลาสำคัญที่อีสานต้องคว้าโอกาสไว้ เพื่อสร้างอนาคตที่รุ่งเรืองและยั่งยืนอย่างแท้จริง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE STANDARD

PEA มุ่งผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ โอกาสทอง SMEs และอนาคตของ ‘อีสาน’

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เมื่อไทยไม่ใช่แค่กรุงเทพ! 3 กุญแจปลดล็อกโอกาสธุรกิจในอีสาน ในมุม ‘เซ็นทรัลพัฒนา’

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

ตร.พบหลักฐานสำคัญ ‘ยางรถยนต์ 5 เส้น’ ใต้ท้องรถ อดีต สส.ปชป.ไฟไหม้

สยามคาร์ - Siamcar

ระทึก! ไฟไหม้โกดังเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ ใช้เวลาเกือบ 2 ชม. ควบคุมเพลิงไว้ได้

เดลินิวส์

ราชกิจจาฯ ประกาศแต่งตั้ง 4 นายตำรวจ เป็นราชองครักษ์ประจำพระองค์

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์
วิดีโอ

การกลับมาของเรียลลิตี้ The Face ยุคคนไม่ดูทีวี

Thai PBS

เตือนภัยผู้ปกครอง เด็ก 2 ขวบกิน "เยลลี่กัญชา" ต้องหามส่งโรงพยาบาล 2 รอบ

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

อาลัย ส.ต.ท.ธัญเทพ วัย 24 มุ่งมั่นเป็นตำรวจ เลือกลงยะลา ถูกคนร้ายซุ่มยิงดับ

Khaosod
วิดีโอ

"ณเดชน์" ไม่กดดันถูกเทียบเสียงพากย์กับมืออาชีพ

Thai PBS

ป่วนนราธิวาสต่อเนื่อง ลอบเผารถเก๋งต้องสงสัย พื้นที่รือเสาะ

Khaosod

ข่าวและบทความยอดนิยม

เจาะกลยุทธ์การตลาด 2025 ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ สร้างแบรนด์ยุคใหม่

THE STANDARD

‘อีสาน’ คือพลังสร้างสรรค์เขย่าโลก เปิดยุทธศาสตร์ท่องเที่ยว ‘Global Isan’

THE STANDARD

อะไรคือ Checklist ที่นักลงทุนมองหาจากผู้ประกอบการ?

THE STANDARD
ดูเพิ่ม
Loading...