โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ มองอนาคต ธุรกิจสุขภาพอาเซียนเติบโตยั่งยืน

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา
รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์

การจัดงาน International Healthcare Week (IHW) 2025 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ได้เปิดโอกาสสำคัญให้ประเทศไทยในการพัฒนาระบบสุขภาพอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการเรียนรู้ประสบการณ์จากมาเลเซียที่มีโครงสร้างประชากรและระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าคล้ายคลึงกัน

เนื่องจากตลาดสุขภาพของมาเลเซีย มีโอกาสเติบโตจาก 575.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2024 เป็นกว่า 939 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2032 ขณะที่รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) จะพุ่งแตะ 1.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเวลาเดียวกัน

“รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์” ผู้อำนวยการ กลุ่มโครงการภูมิภาคอาเซียน บริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ในฐานะบริษัทจัดงานแสดงสินค้าสำหรับธุรกิจ อุตสาหกรรม และนวัตกรรมทั่วโลก เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมสุขภาพเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเติบโตต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของโลก การขยายตัวของเมืองและการเพิ่มขึ้นของกลุ่มรายได้ปานกลาง

มาเลเซียกำลังขยายตลาดการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ โดยเฉพาะตลาดมุสลิม ด้วยการตั้งตำแหน่งเป็น “โรงพยาบาลเป็นมิตรกับมุสลิม” เป้าหมายตลาดยูเออีและประเทศอ่าวเปอร์เซีย

ปัจจุบันรับคนไข้มุสลิมจากประเทศอ่าวและอินโดนีเซีย 200,000 คนต่อปี โดยคนไข้อินโดนีเซียสามารถบินมาตรวจในตอนเช้าและได้ผลในวันเดียวกัน ในราคาที่ถูกกว่าโรงพยาบาลเอกชนในประเทศตนเอง

ตลาดสุขภาพอาเซียนขยายตัว

สำหรับประเทศไทย งานแสดงนี้เป็นโอกาสในการศึกษาแนวทางการจัดการด้านสุขภาพที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการเรียนรู้จากมาเลเซียที่เป็นศูนย์กลางการผลิตอุปกรณ์การแพทย์อันดับ 5 ของโลก และสามารถผลิตยาสามัญประจำบ้านได้ 70% ของความต้องการภายในประเทศ

“การสร้างแพลตฟอร์มการค้าที่ครอบคลุมและลดข้อจำกัดด้านการขนส่งและภาษีภายในอาเซียน ผ่านความร่วมมือระหว่างสมาคมต่าง ๆ รวมถึงสมาคมผู้ผลิตยาไทย จะช่วยสร้างมาตรฐานและระบบการค้าที่เชื่อมโยงกันมากขึ้น”

ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมสุขภาพที่ยั่งยืนในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

มาเลเซียได้วางตำแหน่งตนเองเป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาลที่เป็นมิตรกับมุสลิม และดึงดูด
ผู้ป่วยกว่า 200,000 คนต่อปี ซึ่งไทยสามารถนำประสบการณ์นี้มาปรับใช้ในการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวสุขภาพของตนเอง

โดย IHW 2025 ได้โชว์นวัตกรรมสำคัญที่นำเสนอในงาน เช่น ยาส่วนบุคคล เทคโนโลยีการติดตามสุขภาพแบบไร้สาย ยาที่ใช้แคปซูลฮาลาล และยาที่มีฤทธิ์ยาวนานสำหรับผู้สูงอายุ จะช่วยให้ไทยพัฒนาอุตสาหกรรมสุขภาพให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนการรักษาพยาบาล และตอบสนองต่อความท้าทายด้านค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ

รุ้งเพชรกล่าวต่อว่า ภายในงานนี้มีคนไทยเข้าร่วมกว่า 300 คน จากผู้เข้าร่วมกว่า 900 บูท ใช้พื้นที่ 26,000 ตารางเมตร ครอบคลุม 6 ชั้นของ Malaysia’s Largest International Trade & Exhibition Centre (MITEC) มีผู้จัดแสดงสินค้าทั้งหมด 900 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่กรุงเทพฯ ประมาณ 150 ราย

ในปีนี้ได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรท้องถิ่นในแต่ละประเทศ อาทิ สมาคมผู้ผลิตยาไทย (Thailand Pharmaceutical Manufacturers Association) จากประเทศไทย รวมถึงองค์กรพันธมิตรจากฟิลิปปินส์ PCPI, อินโดนีเซีย TP Pharmacy และเวียดนาม NPCA เป็นต้น

ความท้าทาย อุตฯสุขภาพ

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมสุขภาพเผชิญความท้าทายด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ในมาเลเซีย 50% ของค่าใช้จ่ายสาธารณสุขมาจากภาครัฐ แม้ผู้ป่วยจ่ายเพียง 1 ริงกิต แต่รัฐบาลต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

ในส่วนของประเทศไทยเองยังไม่มีหน่วยงานไหนที่ทำงานโดยตรงเกี่ยวกับการให้บริการและการจัดการด้านสุขภาพ เพื่อป้องกัน วินิจฉัย รักษา และฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้คน

โดยความสนใจหลักของคนไทยพุ่งไปอยู่ที่ “30 บาทรักษาทุกโรค” ซึ่งด้านของความมั่นคงและปลอดภัยถือว่ายังน้อยอยู่

“รุ้งเพชร” แนะว่า สิ่งที่รัฐต้องมองคือ ความมั่นคงด้านสาธารณสุข เพราะหากไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยและต้องรักษาตัวแล้วไม่มีระบบพื้นฐานที่รองรับประชากรได้อย่างเพียงพอ ประเทศจะค่อย ๆ ถดถอย เพราะไม่มีกำลังคนที่เพียงพอ อาจส่งผลให้ต้องนำเข้าแรงงานต่างชาติมาทำงานในประเทศ

“ประเทศไทยควรเริ่มปรับเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน การให้บริการและการจัดการด้านสุขภาพได้แล้ว ไม่ต้องรอวันที่ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นจนครบ 25% แล้วค่อยทำ จะทำให้คนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน และส่งผลให้ธุรกิจด้านการให้บริการและการจัดการด้านสุขภาพเติบโตมากขึ้น”

นอกจากนี้ การพัฒนาเทคโนโลยี AI ในโรงพยาบาลยังต้องเผชิญประเด็นความปลอดภัยไซเบอร์และการปกป้องข้อมูลผู้ป่วย รวมถึงปัญหาการต้านทานยาปฏิชีวนะจากการใช้ยาในโรงพยาบาล

ความยั่งยืนของระบบสุขภาพไม่ได้จำกัดเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ แต่รวมถึงการแก้ไขปัญหาความต้านทานของเชื้อโรคต่อยาปฏิชีวนะ การพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลผู้ป่วย และการใช้เทคโนโลยี AI ในการดูแลสุขภาพ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนายาและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างยั่งยืน

การเข้าร่วมงานนี้จึงเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทยในการสร้างระบบสุขภาพที่พร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคตและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ มองอนาคต ธุรกิจสุขภาพอาเซียนเติบโตยั่งยืน

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.prachachat.net

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ประชาชาติธุรกิจ

ธุรกิจโบรกเกอร์แย่กว่าปีก่อน บิ๊ก ‘เอเซียพลัส’ สะท้อน 3 ปมใหญ่ ฉุดกำไร

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เส้นทางแฟชั่นของ'แป้ง-อรประพันธ์'กับอัตลักษณ์แห่ง 'VICKTEERUT'

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน’ รู้ทันสัญญาณเตือน ป้องกันก่อนเกิดอัมพาต

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ดร.นิเวศน์ เล่านิทาน VI ยกเป็นอุทาหรณ์เตือนสตินักลงทุน

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสังคมอื่น ๆ

โมเมนต์อบอุ่นใจ สามทหารเสือ ไปด้วยกัน เจ็บด้วยกัน ดูแลไม่ทิ้งกัน

สยามนิวส์

รับมอบวีลแชร์ให้ผู้ป่วยโรคไต Give Never Stop โครงการมอบอุปกรณ์ช่วยชีวิต โดยกรุงเทพประกันภัย และ สวพ.FM91

สวพ.FM91

สุดอาลัย “คุณยายลีโอ” ผู้สร้างตำนาน “ไอ้หนูของยาย” เสียชีวิตแล้ว

THE ROOM 44 CHANNEL

“อ.ปณิธาน” เผย ปิดพื้นที่ปราสาทพิพาท ไม่เป็นผลดี ทำให้เข้าเกม “กัมพูชา”

THE ROOM 44 CHANNEL

นักวิชาการหนุนเงินแสนวัด พระเสมือน จนท.รัฐแต่ ป.ป.ช. เข้าไม่ถึง

Thai PBS

แฉภาพลับ “พระธรรมวชิรธีรคุณ” เจ้าคณะนครสวรรค์ แอบใช้ชีวิตลับกับสีกา – สึกเงียบ อ้างสุขภาพไม่ดี!

THE ROOM 44 CHANNEL

ทุกข์ซ้ำกรรมซ้อน แม่เลี้ยงเดี่ยว พิการทางสมอง ร่ำไห้ หลังถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอก เงินเก็บหมดตัว

สยามนิวส์

โฆษก ศบ.ทก. เร่งหารือปมทุ่นระเบิดช่องบก หลัง ทภ.2 แถลงเป็นทุ่นระเบิดที่ถูกนำมาวางใหม่

สวพ.FM91

ข่าวและบทความยอดนิยม

ดร.นิเศน์ เล่านิทาน VI ยกเป็นอุทาหรณ์เตือนสตินักลงทุน

ประชาชาติธุรกิจ

รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ มองอนาคต ธุรกิจสุขภาพอาเซียนเติบโตยั่งยืน

ประชาชาติธุรกิจ

เปิดมุมคิด 2 บิ๊ก ‘SCBX’ ปรับเกมธุรกิจรับมือวิกฤตภาษี ‘ทรัมป์’

ประชาชาติธุรกิจ
ดูเพิ่ม
Loading...