ผลสำรวจนิด้าโพล “วิกฤตพระพุทธศาสนา” คนศรัทธาลดลง
สำนักข่าวไทย Online
อัพเดต 20 กรกฎาคม 2568 เวลา 21.24 น. • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • สำนักข่าวไทย อสมท20 ก.ค.-“นิด้าโพล” เผยผลสำรวจเรื่อง “วิกฤตพระพุทธศาสนา” พบประชาชนส่วนใหญ่มองพระสงฆ์จำนวนหนึ่งตัดไม่ขาดจากทางโลก จนเกิดข่าวฉาว ทำความศรัทธาลดลง
“นิด้าโพล” เปิดเผยผลการสำรวจ เรื่อง “วิกฤตพระพุทธศาสนา !” จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 76.11 ระบุว่า พระสงฆ์จำนวนหนึ่ง ตัดไม่ขาดจากทางโลกทำให้มีข่าวฉาวเป็นประจำ เช่น เสพยาบ้า ดื่มสุรา เล่นการพนัน ยุ่งสีกา รองลงมา ร้อยละ 45.95 ระบุว่า พระสงฆ์จำนวนหนึ่ง หลงในลาภ ยศ สรรเสริญและตำแหน่งทางสงฆ์ ร้อยละ 45.80 ระบุว่า พระสงฆ์จำนวนหนึ่ง หลงในวัตถุนิยมหรือบริโภคนิยม ร้อยละ 40.00 ระบุว่า พระสงฆ์จำนวนหนึ่ง ออกบวชเพราะมองว่าพระคืออาชีพหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ ร้อยละ 29.16 ระบุว่า วัดบางแห่ง มีความเป็นพุทธพาณิชย์
ร้อยละ 27.63 ระบุว่า วัดบางแห่ง มีการบริหารจัดการทรัพย์สิน ที่ไม่โปร่งใส ร้อยละ 25.42 ระบุว่า องค์กรที่ดูแลพระพุทธศาสนาอ่อนแอขาดประสิทธิภาพในการตรวจสอบป้องกัน ร้อยละ 23.74 ระบุว่า พระสงฆ์จำนวนหนึ่ง ไม่อยู่ในหลักพระธรรมวินัยมีพฤติกรรมก้าวร้าว ร้อยละ 16.72 ระบุว่า ญาติโยม/ลูกศิษย์จำนวนหนึ่ง ชอบชักนำให้พระสงฆ์ประพฤติหรือทำกิจกรรมที่ผิดหลักพระธรรมวินัย และการปกครองภายในวัดไม่มีประสิทธิภาพทำให้มีข่าวฉาวเป็นประจำ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 13.59 ระบุว่า พระสงฆ์จำนวนหนึ่ง หลงตัวเอง ชอบโฆษณาอภินิหารเกินความจริง (อวดอุตริมนุสธรรม)
ร้อยละ 11.60 ระบุว่า วัดบางแห่ง โฆษณาชวนเชื่อให้คนทำบุญเกินตัว/เกินเหตุจำเป็น ร้อยละ 8.32 ระบุว่า พระสงฆ์จำนวนหนึ่ง มีคำสอนที่บิดเบือนคำสอนทางพระพุทธศาสนา ร้อยละ 7.79 ระบุว่า พระสงฆ์จำนวนหนึ่ง เน้นพิธีกรรมทางไสยศาสตร์มากกว่าคำสอนทางพุทธศาสนา ร้อยละ 1.68 ระบุว่า พระสงฆ์จำนวนหนึ่ง ชอบยุ่งการเมือง/เลือกข้าง และร้อยละ 0.46 ระบุว่า พระพุทธศาสนาในปัจจุบันไม่มีปัญหาใด ๆ เลย
ด้านความศรัทธาของประชาชนต่อศาสนาและพระสงฆ์ จากกรณีข่าวฉาวของพระสงฆ์ในปัจจุบัน พบว่า ความศรัทธาในพระสงฆ์ ตัวอย่าง ร้อยละ 58.40 ระบุว่า ลดลง และร้อยละ 41.60 ระบุว่า เท่าเดิม ส่วนความศรัทธาในศาสนาพุทธ ตัวอย่าง ร้อยละ 68.55 ระบุว่า เท่าเดิม และร้อยละ 31.45 ระบุว่า ลดลง
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมพุทธศาสนิกชนในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาที่กำหนดโทษจำคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ พระสงฆ์และ/หรือฆราวาส ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม พบว่า พระสงฆ์ที่ต้องอาบัติปาราชิก หรือประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัย ตัวอย่าง ร้อยละ 80.76 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 13.59 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 3.82 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 1.83 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย 2. หญิงหรือชายสมัครใจเสพเมถุนกับพระภิกษุหรือสามเณร ตัวอย่าง ร้อยละ 17 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 15.03 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 3.97 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 2.60 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย และร้อยละ 0.23 ระบุว่า ไม่ตอบ 3. พระสงฆ์อวดอุตริมนุสธรรม ตัวอย่าง ร้อยละ 63 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 17.56 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 8.55 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 4.89 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย และร้อยละ 0.37 ระบุว่า ไม่ตอบ 4. ผู้ทำการล้อเลียน ดูหมิ่น ทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญของพระพุทธศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 35 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 19.92 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 10.84 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 4.81 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ไม่ตอบ 5. ผู้กล่าวหาพระสงฆ์ให้มีมลทินโดยไม่มีหลักฐาน ตัวอย่าง ร้อยละ 44 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 20.84 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 11.76 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 4.96 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย -สำนักข่าวไทย