โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ภาวะ “หวาดระแวงเกินเหตุ” Paranoid Attribution โรคระบาดเงียบในออฟฟิศ มองทุกอย่างเป็นสัญญาณอันตราย

Thairath Money

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ภาพไฮไลต์

ในยุคที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มนุษย์ออฟฟิศจำนวนมากไม่เพียงแต่ต้องรับมือกับนโยบายองค์กรปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว หลายคนกำลังจมอยู่กับความรู้สึกหวาดระแวง ท่ามกลางกระแสการปลดคน การรุกคืบของ AI ที่โหมกระหน่ำเข้ามาพร้อมกัน ความไม่มั่นคงทางอาชีพกำลังกัดกินจิตใจคนทำงานอย่างช้า ๆ

แม้อัตราการเลิกจ้างโดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับอดีต แต่ในใจของคนทำงานความเสี่ยงเหล่านี้บ่มเพาะและกัดกินใจอยู่ทุกวัน หลายคนพยายามจับสัญญาณล่วงหน้าว่าการปลดคนครั้งต่อไปกำลังมาและตัวเองจะรอดหรือไม่ จาก ‘ท่าทีแข็งกร้าวของหัวหน้า’ ‘การถูกปฏิเสธคำขอเล็ก ๆ น้อย ๆ’ หรือ ‘นัดประชุมทาวน์ฮอลล์ที่โผล่ขึ้นมาในมีตติ้งอย่างกะทันหัน’ จนความหวาดระแวงเหล่านี้เริ่มกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน

ความรู้สึกไม่มั่นคงกำลังกัดกินคนทำงานจากภายใน โดยเฉพาะพนักงานที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่คาดเดาไม่ได้ นี่คือปรากฏการณ์ที่นักจิตวิทยาเรียกว่า "Paranoid Attribution" หรือ “ความหวาดระแวงเกินเหตุ” ที่กำลังเป็นโรคระบาดเงาในที่ทำงานสมัยใหม่

ความรู้สึกหวาดระแวงที่เพิ่มขึ้นในที่ทำงาน

รายงานระบุว่า "Paranoid Attribution" คือ การตีความสิ่งเล็กน้อยว่าเป็นสัญญาณร้ายเพราะรู้สึกว่าไม่มั่นคง พฤติกรรมที่เราพยายามตีความสิ่งเล็ก ๆ ในที่ทำงานว่าเป็น “สัญญาณอันตราย” ทั้งที่บางครั้งมันอาจไม่มีอะไรเลย เช่น ทำไมวันนี้ขนมในออฟฟิศดูน้อยลง ออฟฟิศร้อนขึ้นเท่ากับบริษัทกำลังลดค่าแอร์หรือเปล่า โดยเฉพาะความรู้สึกหวั่นใจทุกครั้งที่หัวหน้าขอประชุมด่วนโดยไม่บอกเหตุผล หรือแม้กระทั่งการเข้าใช้งานระบบที่ติดขัด

ยกตัวอย่าง พนักงานไอทีสาววัย 28 ปี คนหนึ่งที่เผชิญกับการเลิกจ้างครั้งที่สองภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี เธอกลายเป็นตัวแทนของคนทำงานยุคนี้ที่ใช้ชีวิตท่ามกลางความไม่แน่นอน โดยเฉพาะเมื่อเรื่องธรรมดาในที่ทำงานอย่างการเรียกประชุมกระทันหัน หรือคำขอแบบไม่ทันตั้งตัวจากหัวหน้า กลายเป็น "สัญญาณอันตราย" ที่อาจหมายถึง “วันสุดท้ายในที่ทำงาน”

แม้การเลิกจ้างจะไม่ใช่เรื่องใหม่ในโลกธุรกิจ แต่บริบทปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีและการรื้อโครงสร้างองค์กร ยิ่งทำให้คนทำงานรู้สึกหมดอำนาจควบคุม และมองเหตุการณ์รอบตัวด้วยความระแวงมากขึ้น

AI กับความกลัวถูกแทนที่

มากไปกว่านั้น AI ที่องค์กรทั่วโลกกำลังผสานใช้ในที่ทำงานที่กลายเป็นดาบสองคม AI เข้ามาเร่งประสิทธิภาพในหลายอุตสาหกรรม แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้พนักงานจำนวนมากรู้สึกว่าความสามารถของตนอาจไม่ใช่จุดแข็งอีกต่อไป

มิเชล วิลเลียมส์ ศาสตราจารย์ด้านการบริหารและผู้ประกอบการจากมหาวิทยาลัยไอโอวา เปรียบความรู้สึกนี้ว่าใกล้เคียงกับช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 ที่ผู้คนเริ่มอ่านสัญญาณล่วงหน้าเพื่อเอาตัวรอด แม้บางครั้งสิ่งที่อ่านอาจไม่มีมูลเลยก็ตาม ความกลัวเช่นนี้ทำให้พนักงานเริ่มตีความเหตุการณ์ธรรมดาว่าเป็นลางร้าย เช่น เมื่อหัวหน้าเงียบหายไปหรือไม่ตอบอีเมลก็อาจถูกมองว่าเป็นสัญญาณของการถูกเลย์ออฟ ทั้งที่จริงอาจไม่มีอะไรเลย

นอกจากนี้ผลกระทบของภาวะหวาดระแวงไม่ได้อยู่แค่ในใจคนทำงาน แต่ยังแสดงออกมาในผลงานและวัฒนธรรมองค์กรที่เปลี่ยนไป คนทำงานอาจเริ่มปิดบังข้อมูลแทนที่จะร่วมมือกันอย่างเปิดเผย เพราะเชื่อว่าการเป็นผู้รู้มากกว่าคนอื่นจะทำให้ปลอดภัยกว่า นอกจากนี้หลายคนยอมทุ่มเวลานอกเวลางานเพื่อพิสูจน์คุณค่ากลายเป็นชีวิตที่ไร้สมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว ความเครียดและภาวะหมดไฟ (Burnout) จึงเกิดขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะในองค์กรที่ยังคงยึดติดกับแนวคิด “ผลลัพธ์ต้องมาก่อนเสมอ”

หลายองค์กรในปัจจุบันหันมาใช้แนวทางที่เน้นผลลัพธ์มากขึ้น บางแห่งรื้อระบบบริหาร ลดบทบาทของผู้จัดการระดับกลางลงจนทำให้พนักงานรู้สึกว่าไม่มีคนเป็นสะพานเชื่อมถึงผู้บริหารอีกต่อไป หรือขณะเดียวกันการทำงานแบบรีโมตหรือไฮบริดก็ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับองค์กรห่างเหินกว่าเดิม การพูดคุยน้อยลงอาจเปิดช่องให้ความไม่แน่ใจและความหวาดระแวงเข้าแทรกได้ง่าย

เหล่านี้คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในหัวใจคนทำงานยุคใหม่ คำถามสำคัญ คือ แล้วเรากำลังรับมือกับยุคแห่งความหวาดระแวงนี้อย่างไร?

วิธีรับมือกับ “Paranoid Attribution”

การแก้ไขต้องเริ่มจากทั้งสองฝ่าย รายงานระบุว่า ในระดับองค์กร ควรสื่อสารให้ชัดเจน โปร่งใส สม่ำเสมอ สร้างช่องทางให้พนักงานได้พูดคุย สอบถาม และได้รับข้อมูลอย่างทั่วถึง เพื่อลดช่องว่างแห่งความไม่รู้ ที่มักถูกแทนที่ด้วยความกลัว ในระดับบุคคล พนักงานควรวางขอบเขตการทำงาน-ชีวิตส่วนตัวให้ชัด ใช้เทคนิคดูแลใจ เช่น การฝึกสติ การออกกำลังกาย และพยายามพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน เพื่อไม่ให้รู้สึกโดดเดี่ยว

สุดท้ายคนที่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงบรรยากาศการทำงานได้มากที่สุดคือ “ผู้นำ” ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการคลายความกังวล ความเข้าอกเข้าใจ การเปิดใจฟัง โดยรายงานระบุว่า องค์กรที่ลงทุนในสุขภาวะพนักงาน เช่น สนับสนุนวันลาหยุด การทำงานยืดหยุ่น และพัฒนาทักษะในระยะยาว จะมีแนวโน้มรักษาคนเก่งไว้ได้ดีกว่าในยุคที่ความไม่แน่นอน

ที่มาข้อมูลจาก Business Insider

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ -

https://www.facebook.com/ThairathMoney

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : ภาวะ “หวาดระแวงเกินเหตุ” Paranoid Attribution โรคระบาดเงียบในออฟฟิศ มองทุกอย่างเป็นสัญญาณอันตราย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Thairath Money

โมเดลธุรกิจ Western Union ยักษ์การเงินที่โตจากความเหลื่อมล้ำเพราะยังมีคนนับล้านต้องส่งเงินกลับบ้าน

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Options Wizard เครื่องมือเด็ดช่วยเทรด Options

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

‘แมวกินปลา’ สตาร์ทอัพที่อยากให้คนกิน ‘อาหารทะเลดี ๆ ’ แบบ ‘ไม่ทำร้ายธรรมชาติ’

Positioningmag

จีนสร้างสรรค์ “เทคโนโลยีสีเขียว-คาร์บอนต่ำ” สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน

เดลินิวส์

รู้จักกฎ 8-8-8 แนวคิดจัดสรรเวลาแต่ละวันให้ชีวิตลงล็อก

Positioningmag

ด่วน กยศ. ขอโทษผู้กู้ยืม หักเงินเกินอัตโนมัติ เร่งคืนเงินเร็วที่สุด ภายใน 3 วัน

Thaiger

พาณิชย์ ผนึก H Mart ห้างค้าปลีกสหรัฐ เพิ่มสินค้าอาหารไทย ต่อยอดร้าน TOPTHAI

Khaosod

นักวิชาการ มองลด ภาษีสหรัฐฯ 0% เสี่ยง “สินค้าทะลัก” กระทบในประเทศหนัก

การเงินธนาคาร

"วิทัย รัตนากร" ชี้ 3 แนวทางลดหนี้ครัวเรือน 16.4 ล้านลบ.ให้ต่ำลง คนเข้าถึงเงินกู้ในระบบ

TNN ช่อง16

CoinDCX โดนเจาะกระเป๋าดำเนินงาน! สูญ 1,425 ล้านบาท ยัน “เงินลูกค้าปลอดภัย”

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

ภาวะ “หวาดระแวงเกินเหตุ” Paranoid Attribution โรคระบาดเงียบในออฟฟิศ มองทุกอย่างเป็นสัญญาณอันตราย

Thairath Money

TTB กำไร Q2/68 ร่วง 7.2% แจงรายได้ดอกเบี้ยหด เหตุจากวัฎจักรดอกเบี้ยขาลง และผลมาตรการคุณสู้เราช่วย

Thairath Money

ซื้อบ้านมือสอง ราคาดีจากแบงก์ เปิดข้อมูลทรัพย์ NPA คือ อะไร ซื้อแล้วคุ้มจริงไหม?

Thairath Money
ดูเพิ่ม
Loading...