คนไทยหนุนใช้ “Soft Power” ดันท่องเที่ยว-เทศกาลระดับโลก
สถาบันศิโรจน์ผลพันธิน ได้ดำเนินการร่วมกับ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นเรื่องบทบาทมหาวิทยาลัยไทยกับ Soft Power จากประชาชนกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศจำนวน 1,128 คน ระหว่างวันที่ 15-18 ก.ค.68
โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าไทยควรใช้ Soft Power เป็นยุทธศาสตร์หลักในการสร้างภาพลักษณ์และความได้เปรียบในเวทีโลกด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยและเทศกาลระดับโลก และมองว่าเรื่องที่มีศักยภาพสูงในการผลักดันเศรษฐกิจไทยในอนาคต คือ ธุรกิจสุขภาพ ความงาม และการดูแลสุขภาพแบบไทย
สำหรับมหาวิทยาลัยไทยควรมีบทบาทในการพัฒนา Soft Power ของประเทศด้วยการเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม Soft Power ขณะที่นักศึกษาไทยควรมีบทบาทเป็นผู้เผยแพร่วัฒนธรรมไทยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ โดยภาพรวมมองว่ามหาวิทยาลัยมีศักยภาพขับเคลื่อน Soft Power ในบางสาขาและยังต้องพัฒนาเพิ่มเติม ให้มหาวิทยาลัยไทยร่วมมือกับต่างประเทศในการพัฒนาหลักสูตรความร่วมมือระดับนานาชาติ
ประเทศไทยควรใช้ Soft Power เป็นยุทธศาสตร์หลักในการสร้างภาพลักษณ์และความได้เปรียบในเวทีโลกอย่างไร
- อันดับ 1 ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยและเทศกาลระดับโลก 70.78%
- อันดับ 2 ส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เช่น อาหาร แฟชั่น ดนตรี ภาพยนตร์ 68.12%
- อันดับ 3 ใช้สื่อดิจิทัลและแพลตฟอร์มออนไลน์เผยแพร่ความเป็นไทยสู่โลก 57.64%
Soft Power เรื่องใดที่ประชาชนเห็นว่ามีศักยภาพสูงสุดในการผลักดันเศรษฐกิจไทยในอนาคต
- อันดับ 1 ธุรกิจสุขภาพ ความงาม และการดูแลสุขภาพแบบไทย 58.24%
- อันดับ 2 ดนตรี ศิลปะ แฟชั่น และภาพยนตร์ 55.85%
- อันดับ 3 ศิลปิน-นักออกแบบร่วมสมัย และอุตสาหกรรมดิจิทัลครีเอทีฟ 53.63%
มหาวิทยาลัยไทยควรมีบทบาทอย่างไรในการพัฒนา Soft Power ของประเทศ
- อันดับ 1 เป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม Soft Power 61.08%
- อันดับ 2 เป็นเวทีแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม จัดนิทรรศการ การแสดง งานเทศกาลวัฒนธรรมไทย 59.40%
- อันดับ 3 เปิดหลักสูตรหรือวิชาเกี่ยวกับ Soft Power ไทย 51.24%
นักศึกษาไทยควรมีบทบาทอย่างไรในการส่งเสริม Soft Power ของประเทศ
- อันดับ 1 เป็นผู้เผยแพร่วัฒนธรรมไทยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ 64.18%
- อันดับ 2 มีส่วนร่วมในงานวิจัยหรือโครงการด้าน Soft Power ร่วมกับมหาวิทยาลัย 62.50%
- อันดับ 3 เป็นนักสร้างสรรค์เนื้อหา (content creator) ที่เชื่อมโยงความเป็นไทยกับโลก 58.33%
มหาวิทยาลัยไทยมีศักยภาพที่จะขับเคลื่อน Soft Power ให้เกิดผลกระทบในระดับนานาชาติหรือไม่
- อันดับ 1 มีศักยภาพในบางสาขา แต่ยังต้องพัฒนาเพิ่มเติม 43.97%
- อันดับ 2 มีศักยภาพและควรได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง 29.08%
- อันดับ 3 ศักยภาพยังไม่เพียงพอ ควรเน้นสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ 20.66%
- อันดับ 4 ยังไม่สามารถประเมินได้ 6.29%
ประชาชนอยากเห็นความร่วมมือด้านใดมากที่สุดระหว่างมหาวิทยาลัยไทยกับต่างประเทศในการพัฒนา Soft Power
- อันดับ 1 มีหลักสูตรความร่วมมือระดับนานาชาติ 65.72%
- อันดับ 2 ร่วมวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้าน Soft Power 56.66%
- อันดับ 3 ผลิตบุคลากรคุณภาพให้กับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 54.53%