โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ตุ๊กแก ในบันทึกของฝรั่งสมัยพระนารายณ์-รัชกาลที่ 3

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เผยเรื่องราวของ ตุ๊กแก ในบันทึกของฝรั่ง น่ากลัว ขนลุก และอันตราย

ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในสยาม ไม่ว่าจะในยุคกรุงศรีอยุธยาหรือกรุงรัตนโกสินทร์ มักบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ของสยามไว้มากมายหลายด้าน ทั้งประวัติศาสตร์ การเมือง วิถีชีวิต ภูมิศาสตร์ ทรัพยากร ธรรมชาติ ฯลฯ

ชาวต่างชาติหนึ่งในนั้นมี เฟรเดอริก อาร์เธอร์ นีล (Frederick Arthur Neale) ชาวอังกฤษที่เดินทางเข้ามายังบางกอกสมัยรัชกาลที่ 3 และได้มีโอกาสรับราชการในตำแหน่งทหารเรือและทหารบกอีกด้วย

เรื่องราวหนึ่งที่สร้างประสบการณ์น่าขนลุกให้กับนีล นั่นคือการได้รู้จักกับ “ตุ๊กแก” ในบางกอก นีลบันทึกเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้เอาไว้ว่า…

“…นอกจากหนูแล้วยังมีสัตว์เลื้อยคลานอีกหลายชนิด ตามริมตลิ่งแม่น้ำก็มีงู กบ และมีอยู่ชนิดหนึ่งที่น่ารังเกียจที่สุดยิ่งกว่าจิ้งจกก็คือ ตุ๊กแก ตุ๊กแกที่บางกอกนี้มีลักษณะประหลาดมาก เพราะในบางฤดูตัวมันจะโตมาก โตยิ่งกว่าทากนา ลักษณะของตุ๊กแกนี้คล้าย ๆ จระเข้ (แม้ว่าตัวจะเล็กกว่ามาก) หนังก็ขรุขระ แล้วเวลามันร้องก็ส่งเสียงชอบกล ตัวข้าพเจ้าเองนั้นเห็นจะลืมไม่ลงทีเดียวเมื่อได้ยินเสียง ตุ๊กแกร้องเป็นครั้งแรก

คือ คืนหนึ่งเมื่อกำลังนอนหลับสบาย พอถึงประมาณเที่ยงคืน ก็ตกใจตื่นเพราะได้ยินเสียงร้องประหลาด ๆ ว่า ‘ตุ๊กแก ตุ๊กแก’ เสียงนี้ฟังดูอยู่ไม่ไกลเท่าใด คงจะเป็นเหนือศีรษะข้าพเจ้า แต่กลับปรากฏว่าอยู่ในมุ้งนี้เอง โดยที่ในขณะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างก็มืดไปหมดมองไม่เห็นอะไรเลย ก็เลยไม่ทราบว่าตัวต้นเสียงนั้นเป็นอะไร เทียนก็ดับหมด ข้าพเจ้าจึงรีบออกจากมุ้งไปหาไม้ขีด พอจุดไฟได้ถึงมองเห็นว่ามีนัยน์ตาประหลาดน่ากลัวจ้องอยู่ แล้วเจ้าตัวน่าเกลียดนี้ก็เกาะอยู่ที่เสาเตียงนอน อยู่ห่างจากหมอนที่ข้าพเจ้าหนุนอยู่สักฟุตหนึ่งได้

ข้าพเจ้าแทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง ข้าพเจ้าเคยเดินทางเที่ยวไปทั่วประเทศอินเดีย ได้เคยเห็นสัตว์ต่าง ๆ มานับชนิดไม่ถ้วน แต่ยังไม่เคยเห็นตัวอะไรเหมือนอย่างที่มองอยู่ในตอนนั้น ข้าพเจ้ารู้สึกขนลุกขนพองขึ้นมาอีกเมื่อคิดถึงเหตุการณ์ในตอนนั้น คือ คิดว่ามันอาจจะกระโดดเข้ามาใส่ตัวข้าพเจ้า จึงรีบไปปลุกเพื่อนของข้าพเจ้าชื่อนายเฮย์ส (Hayes) ชายหนุ่มผู้เป็นหุ้นส่วนของนายฮันเตอร์ เขานอนอยู่ในห้องถัดจากข้าพเจ้า แต่แทนที่จะได้รับการปลอบใจ นายเฮย์สกลับหัวเราะชอบใจ แล้วยังบอกว่าเป็นเรื่องเกิดขึ้นปกติธรรมดาทุกวัน

จากนั้นเรื่องต่อมาที่ข้าพเจ้าเจอก็คือ ถึงจะไม่มีครูสตรีตามโรงเรียนประจำเดินตรวจตามใต้โต๊ะและตู้ในห้องนอน ถึงแม้จะพบสัตว์ตาย ผู้ชาย แต่ก็ไม่มีสิ่งใดที่จะน่ากลัวมากไปกว่าการพบตุ๊กแกเหล่านี้ยามค่ำคืน

หลายครั้งหลายหนแล้ว ที่ข้าพเจ้าเคยสู้กับมันก่อนที่จะเอามันออกไปนอกห้องได้ ตุ๊กแกนี้มีลักษณะยืดหยุ่นได้ดีอย่างประหลาด จนมันสามารถกระโดดจากผนังด้านที่มันเกาะออกไปได้ไกลหลาย ๆ หลา ด้วยเหตุนี้เองข้าพเจ้าจึงต้องมีไม้ยาว ๆ เตรียมไว้ใกล้ตัวให้หยิบได้ทันที เขาบอกกันว่าตุ๊กแกนี้เป็นสัตว์ไม่มีพิษ แต่อย่างไรข้าพเจ้าก็ยังไม่ชอบมันอยู่ดี…”

ตุ๊กแก ในบันทึกของฝรั่ง ยังปรากฏในหลักฐานสืบย้อนไปได้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาอีกด้วย

ชาวต่างชาติอีกคนหนึ่งคือ นิโกลาส์ แชร์แวส (Nicolas Gervaise) บาทหลวงฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ บันทึกเกี่ยวกับ “ตุ๊กแก” เอาไว้ว่า

“…มีสัตว์อีกสองชนิดซึ่งมีพิษร้ายมาก ชนิดหนึ่งเรียกว่าตะขาบหรือ cent-pieds (แปลว่าหนึ่งร้อยตีน) เพราะว่ามันมีตีนหนึ่งร้อยข้าง ตัวดำ และยาวตั้งปิเอด์ พิษของมันแล่นรวดเร็วเท่าแมงป่อง แต่ก็ไม่ร้ายเท่าตุ๊กแก (tocquet) ที่เรียกชื่อกันดังนี้เพราะลางยามในเวลากลางคืน มันร้องเสียงดังชัดเจนหลายครั้งว่า ‘ตุ๊กแก ตุ๊กแก’ คำนี้เนื่องมาจากเสียงในลำคอของมัน อันไม่น่าฟังเลย

รูปร่างมันเหมือนจิ้งจก แต่ตัวใหญ่กว่าในประเทศเรา หัวของมันกว้างและแบนหนังมีสีจัด ๆ หลายสี เราเห็นมันทั้งกลางวันกลางคืน ออกล่าหนูตามหลังคาเรือน มันมีดีอยู่อย่างที่ไม่ทำร้ายใครก่อน แต่ถ้าใครไปรังควานมันเข้าแล้ว มันจะหันหน้าเข้าสู้ทันที และถ้ามันได้ทีกัดได้มันจะงับไว้แน่น เอาออกยากเหลือกำลัง พิษกัดของมันทำให้ถึงตายได้ ถ้าไม่ชิงตัดเนื้อตรงบริเวณที่ถูกกัดทิ้งเสียโดยด่วน…”

เรื่องราวของ ตุ๊กแก ในบันทึกของฝรั่งทั้งสองคนนี้คงจะฉายภาพให้เห็นแล้วว่า ตุ๊กแกไม่ว่าจะในสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ หรือสมัยรัชกาลที่ 3 ต่างก็ทำให้รู้สึกขนพองสยองเกล้าแก่ผู้พบเห็น และเชื่อว่าแม้แต่คนไทยเองไม่ว่าจะยุคโบราณหรือยุคนี้ ก็ต้องมีคนกลัว “ตุ๊กแก” ขึ้นสมองแน่นอน แล้วจะนับประสาอะไรกับฝรั่งมังค่า…

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

เฟรเดอริก อาร์เธอ นีล เขียน, ลินจง สุวรรณโภคิน แปละและเรียบเรียง. (2564). “ชีวิตและความเป็นอยู่ในกรุงสยามในทัศนะของชาวต่างประเทศ ระหว่าง พ.ศ. 2383-2384 (ค.ศ. 1840-1841)”. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

นิโกลาส์ แชรแวส เขียน, สันต์ ท. โกมลบุตร แปล. (2550). “ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม (ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช). พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : ศรีปัญญา.

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 19 กันยายน 2567

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : ตุ๊กแก ในบันทึกของฝรั่งสมัยพระนารายณ์-รัชกาลที่ 3

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

หม่อมราชวงศ์ตาด สตรีที่ ร.4 ทรงเตรียมให้เป็นภรรยาพระราชทาน “พระองค์ราชาวดี” แห่งกัมพูชา

10 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“รายจ่ายพระราชทรัพย์” ของกษัตริย์อยุธยา ในแต่ละปี มีอะไรบ้าง?

10 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

วิดีโอ

ยินดีที่ได้ทัก : เบื้องหลังเยือน "บางปะอิน"

Thai PBS

MOODY: พลาดหนึ่งครั้ง จดจำตลอดไป เมื่อเราผูก ‘Self-Esteem’ ไว้กับ ‘ความสำเร็จ’ เพียงอย่างเดียว จนมองไม่เห็นคุณค่าแท้จริงของตัวเอง

BrandThink

ตามไปดู “เซเว่น อีเลฟเว่น” เปิดร้านอาหารญี่ปุ่นแห่งแรก ที่ไหน ขายเมนูอะไรบ้าง

ฐานเศรษฐกิจ

“วัดไตรมิตร” งามวิจิตร “พระพุทธรูปทองคำ” ใหญ่ที่สุดในโลก...เมื่อทองแท้ไม่กลัวไฟ พระแท้ย่อมไม่กลัวคำครหาเท็จ

Manager Online

KARINA วง aespa อยากลองทำงานทุกอย่างที่ทำได้ในวงการ ทั้งการแสดงและเป็นพิธีกร

THE STANDARD

Forms of Expression นิทรรศการที่ มานิตา ส่งเสริม ไทโปกราฟิกดีไซเนอร์บอกกับทุกคนว่า ตัวอักษรก็มีความรู้สึกไม่ต่างจากเรา

Thairath Plus - ไทยรัฐพลัส

ถ่ายทอดสด แมนยู พบ ลีดส์ ฟุตบอลอุ่นเครื่อง ดูบอลสด วันนี้ 19 ก.ค.68

PostToday

ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ‘ไอ้หนูยอดผัก สวนสยาม’ หอมกลิ่นกระทะ

กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ตุ๊กแก ในบันทึกของฝรั่งสมัยพระนารายณ์-รัชกาลที่ 3

ศิลปวัฒนธรรม

หม่อมราชวงศ์ตาด สตรีที่ ร.4 ทรงเตรียมให้เป็นภรรยาพระราชทาน “พระองค์ราชาวดี” แห่งกัมพูชา

ศิลปวัฒนธรรม

“รายจ่ายพระราชทรัพย์” ของกษัตริย์อยุธยา ในแต่ละปี มีอะไรบ้าง?

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...