โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

เนื้องอกจิ๋ว สร้างจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ช่วยหาวิธีรักษามะเร็ง

Techhub

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

[เร่งความเร็ว] จาก ‘จานเพาะเชื้อ’ สู่ ‘แบบจำลองเสมือนจริง’ พบนักวิจัยสร้างเนื้องอกจิ๋วด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ช่วยให้หาวิธีรักษาโรคมะเร็งได้เร็วยิ่งขึ้น และอาจช่วยทดสอบยารักษามะเร็งเฉพาะบุคคลได้ด้วย

ก้าวใหม่ของการวิจัยมะเร็ง TissueTinker บริษัทสตาร์ทอัพที่แยกตัวออกมาจากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ (แต่ยังได้รับการสนับสนุน) ได้รวบรวมทีมนักวิจัยมากฝืมือ ช่วยกันสร้างเนื้องอกจิ๋วด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติได้สำเร็จ

จากการพิมพ์ 3 มิตินี้ ก็ทำให้ทีมวิจัยสามารถผลิตเนื้อเยื่อได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะจุดในการวิจัยมะเร็งได้เลย และยังได้ผลลัพธ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตามพารามิเตอร์ที่กำหนดอย่างแม่นยำนี้ เปิดโอกาสให้ศึกษาผ่านกล้องจุลทรรศน์ ที่ปกติไม่สามารถทำได้ง่าย

เป้าหมายของ TissueTinker คือการหาวิธีทดสอบสำหรับการบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ด้วยการสร้างตัวอย่างเนื้อเยื่อชนิดเดียวกันสองชิ้น โดยชิ้นหนึ่งเป็นเนื้อเยื่อปกติ และอีกชิ้นเป็นเนื้อเยื่อที่เป็นโรค ซึ่งจากการเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างที่สร้างเองทั้งหมด ก็ช่วยให้ทีมวิจัยสามารถศึกษาโรคมะเร็งได้ดียิ่งขึ้น

ในส่วนเนื้องอกจิ๋วที่สร้างด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิตินั้น ก็มีขนาดเล็กเพียง 300 ไมครอน โดยทาง Benjamin Ringler หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง TissueTinker เผยเป็นขนาดเหมาะสมที่สุดแล้ว เนื่องจากช่วยให้สังเกตคุณสมบัติเฉพาะได้ ซึ่งภายในเนื้องอกจะมีบริเวณที่มีภาวะขาดออกซิเจน อันเป็นปัจจัยก่อมะเร็ง ซึ่งทีมจะสามารถศึกษาโรคมะเร็งได้ง่ายขึ้นในขนาด 300 ไมครอนนี้เอง

ท้ายนี้การพิมพ์วัสดุชีวภาพแบบ 3 มิติเพื่อการวิจัยนี้ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ ซึ่งอาจต้องรอวิจัยอีกซักพัก เก็บผลการทดลองอีกยาว แต่ก็ถือว่าย่นเวลาการหาทางรักษาโรคมะเร็ง ไปได้อีกขั้นแล้ว

ที่มา : Tomshardware


⭐️Techhub รวม How To , Tips เทคนิค อัปเดตทุกวัน

กดดูแบบเต็มๆ ที่ www.techhub.in.th

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Techhub

AI จะแก้ปัญหาคอร์รัปชันในไทยได้จริงหรือไม่ สรุปข้อมูล งานเสวนา Corruption Disruptors

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ชิปใหม่ AR1+ Gen 1 รองรับ AI เน้นใช้กับแว่นอัจฉริยะ

1 วันที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอทีอื่น ๆ

นักวิจัยเผยกลไกร่างกายงูพบเซลล์ชนิดใหม่ช่วยในการย่อยกระดูกสมบูรณ์

TNN ช่อง16

นักดาราศาสตร์บันทึกภาพการกำเนิดของระบบดาวเคราะห์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

TNN ช่อง16

OPPO A5 5G ความจุใหม่ 6GB + 128GB วางจำหน่ายแล้วในราคาสุดคุ้ม 6,499 บาท

Insight Daily

รุ่น Pro ไม่ได้ไปต่อ! iPhone 17 Air จะเป็น 'รุ่นเดียวในซีรีส์' ที่ได้ใช้วัสดุไทเทเนียม

BT Beartai

จีนผงาด! จำนวน “ยูนิคอร์น” เพิ่มขึ้น ครองสัดส่วน 40% ทั่วโลก (คลิป)

เดลินิวส์

AI จะแก้ปัญหาคอร์รัปชันในไทยได้จริงหรือไม่ สรุปข้อมูล งานเสวนา Corruption Disruptors

Techhub

ข่าวและบทความยอดนิยม

จงตุยซะ !! นักวิจัยสแตนฟอร์ดพัฒนาโมเลกุลใหม่ให้ เซลล์มะเร็ง ฆ่าตัวตายเอง

Techhub

งานวิจัยใหม่ ฆ่า มะเร็งกระดูก ด้วยเหล็กพิษ เพิ่มโอกาสรอดได้มากกว่า

Techhub

AI สแกนให้ ระบุตำแหน่งจากภาพถ่าย ช่วยวินิจฉัยโรคมะเร็ง

Techhub
ดูเพิ่ม
Loading...