โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

"วิทัย รัตนากร" ชี้ 3 แนวทางลดหนี้ครัวเรือน 16.4 ล้านลบ.ให้ต่ำลง คนเข้าถึงเงินกู้ในระบบ

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ผู้อำนวยการธนาคารออมสินเปิดเผยถึงแนวทางการลดหนี้ครัวเรือน สามารถดำเนินการได้ใน 3 แนวทาง ซึ่ง 1 ในแนวทางคือ การปรับลดดอกเบี้ย เพื่อช่วยให้ยอดจ่ายหนี้ที่เท่ากันลดลงได้เร็วขึ้น มีโอกาสลดหนี้ครัวเรือนลงอย่างมีนัยสำคัญ และลดต่ำกว่า 80% ต่อ GDP ได้ในระยะ 2-3 ปี จากปัจจุบันในไตรมาสแกปี 2568 อยู่ประมาณ 16.4 ล้านล้านบาท แต่ทั้งหมดทุกฝ่ายต้องรวมมือกันทำและไม่สามารถทำได้สำเร็จในมาตรการเดียว

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน แคนดิเดตผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนใหม่ กล่าวถึงมุมมองในการแก้ไขหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงของประเทศไทย ในช่วงหนึ่งของการบรรยายในโครงการพัฒนาศักยภาพ ผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจระดับสูง ประจำปี 2568 “รู้ทันโลกการเงิน ทลายหนี้สู่ความยั่งยืน“ ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยน่าจะไม่ดี และน่าจะซึมลึกยาวนาน เนื่องจากภาคการส่งออกและท่องเที่ยวที่เป็นกำลังขับเคลื่อนหลักเริ่มน่ากังวล จากความเปลี่ยนแปลงและไม่แน่นอนจากการดำเนินนโยบายภาษีของสหรัฐ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้างในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นหนี้ครัวเรือน การกระจายรายได้ สังคมสูงวัย และความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งการฟื้นเศรษฐกิจให้กลับมาคงไม่สามารถทำได้ในมาตรการเดียว

สำหรับการเดินหน้าแก้ไขหนี้ครัวเรือนบ้านเรา มองว่าสามารถดำเนินการได้ใน 3 แนวทางสำคัญ ที่จะมีส่วนทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนที่อยู่ประมาณ 16.4 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 87 % ต่อ GDP ในไตรมาสแรกปี 2568 ให้ทยอยปรับลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ คือ

1.ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ( GDP) หรือเศรษฐกิจเติบโตได้มากกว่าเงินเฟ้อ เพราะ GDP โต คือเศรษฐกิจโตคนมีรายได้มากขึ้น และชำระหนี้ได้มากขึ้น และกระจายรายได้ออกไปมากขึ้น ให้SMEs หรือ คนฐานรากมีรายได้มากขึ้นด้วย ซึ่งเมื่อขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้นสัดส่วนหนี้ครัวเรือนจะลดลง

2.ดอกเบี้ยต้องลดลง เพราะถ้าจ่ายหนี้เท่าเดิม แต่ดอกเบี้ยลดลงมันจะตัดเงินต้นได้มากขึ้น เพราะเมื่อทยอยๆ ตัดเงินต้นมากขึ้น หนี้ครัวเรือนก็จะลดลงในท้ายที่สุด สภาพการเงินส่วนบุคคลจะดีขึ้น คนมีกำลังซื้อกลับมาได้ และจะช่วยลดหนี้ครัวเรือนในภาพใหญ่ลงเร็ว

และ 3. การพิจารณออกมาตรการพิเศษออกมาช่วยการแก้หนี้ ซึ่งอันนี้ยังไม่อยากกล่าวถึง

อย่างไรก็ดี การแก้ไขหนี้ไม่สามารถดำเนินการได้โดยใครหรือหน่วยงานใดหน่วยงนาหนึ่ง ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ขณะเดียวกันลูกหนี้ก็ต้องดูแลสิทธิและเข้าใจการเงินเพื่อให้บริหารจัดกาารหนี้ให้ดีขึ้นด้วย เช่น การรีไฟแนนซ์หนี้ อย่าวสินเชื่อเพื่อการกู้ซื้อซื้อที่อยู่อาศัยเมื่อมีการผ่อนชำระที่ดี ไม่ผิดนัดชำระหนี้เลย เมื่อครบ 3 ปีควรขอปรับลดดอกเบี้ยกับธนาคารที่กู้เพื่อขอลดดอกเบี้ยได้ ซึ่งลูกหนี้ที่มีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ดีมีวินัยสามารถทำได้ เป็นต้น

"พอเศรษฐกิจที่ดีขึ้น หมายถึงรายได้โต GDP โต คือ รายได้โต รายได้มากขึ้นก็มีเงินชำระหนี้มากขึ้น แค่นั้นเอง รายได้มากขึ้น calculation ก็ให้ตัวหารหนี้ต่อ GDP มันลง ลองคิดดูว่า GDP Nominal Term เวลา GDP โตมันเป็น Real Term ถ้า Nominal Term กลับไปอยู่ที่ 4.5 % สมมุติ หลายคนบอกเป็นไปได้ยังไง Inflation ถ้ากลับไปอยู่ค่ากลาง 1-3% ถ้า Inflation 2% เป็นไปได้ไหม เป็นไปได้มาก 2% เพราะค่ากลาง คือ 1-3 % แล้ว GDP โต 2.5% Inflation 2 Nominal Term เป็น 4.5% ท่านลองหารเอาแล้วกันว่าหนี้ครัวเรือนจะลงเร็วแค่ไหน 2-3 ปี มีต่ำกว่า 80% แน่นอน เรื่องที่สอง คือ ดอกเบี้ยต้องลง และวิธีที่สามอาจวุ่นวาย ขอข้ามไปเลยคือ ออกมาตรการรพิเศษ" นายวิทัย กล่าว

นอกจากนี้ นายวิทัย ยังกล่าวถึงแนวทางการแก้ไขหนี้และช่วยให้ลูกหนี้ายย่อยเข้าถึงสินเชื่อเพื่อมีส่วนช่วยเพิ่มกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจ โดยยกตัวอย่าง การดำเนินการของธนาคารออมสิน ที่ดำเนินบทบาทของการเป็นธนาคารเพื่อสังคม (Social Bank) ด้วยการดำเนินโมเดลธุรกิจแบบเชิงพาณิชย์ อาทิ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อส่วนบุคคล และภารกิจเพื่อสังคมคู่ขนาานกันไป โดยนำกำไรจากผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์มาช่วยอุดหนุนธุรกิจเพื่อสังคมที่ยอมขาดทุนกำไร และความเสี่ยงที่จะเป็นหนี้เสีย (NPL) บางส่วน

ทั้งนี้ ภารกิจสำคัญในการช่วยสังคมของออมสิน คือ การดึงคนเข้าสู่สถาบันการเงินในระบบ (Financial Inclusion) โดยล่าสุดมีการออกสินเชื่อ เจาะกลุ่มความเสี่ยงสูง อาทิ พ่อค้าแม่ค้า ไรเดอร์ พนังงานบริการ ให้ทุกอาชีพที่ยังไม่เคยมีประวัติการกู้ได้เข้าถึงสินเชื่อในระบบ โดยการให้สินเชื่อกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง จะเน้นให้กู้วงเงินไม่สูง และให้ชำระเร็วภายในไม่เกิน 12 เดือน เพราะเมื่อประเมินเบื้องต้นว่ากว่า 20% อาจจะกลายเป็นหนี้เสีย แต่อีก 80% ยังเป็นลูกหนี้ดี ที่สำคัญยังเปิดโอกาสให้กลุ่มที่ไม่เคยได้รับโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบเข้าถึงสินเชื่อในระบบธนาคารได้ และเมื่อรายเดิมมีวินัยจึงค่อยๆ เพิ่มวงเงินให้ตามความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งการช่วยรายย่อยให้เข้าถึงสภาพคล่องได้มีส่วนให้กำลังซื้อในประเทศยังไปได้ไม่สะดุดไปหมด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

รัฐบาลไทย ประณามกัมพูชาลอบวางทุ่นระเบิดใหม่ ชี้ละเมิดอธิปไตย-ข้อตกลงระหว่างประเทศ

47 นาทีที่แล้ว

รถบรรทุกเทรลเลอร์คว่ำแยกกรมศุลฯ จราจรอัมพาตชั่วคราว

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

บาร์ซ่า จ่อปิดดีล แรชฟอร์ด ยืม 1ปี พร้อมออปชั่นซื้อขาด

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

รัสเซียยกเลิกคำเตือนสึนามิ หลังแผ่นดินไหวหลายครั้งนอกชายฝั่งคัมชัตกา

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

ส่งออกจีนฟื้น ไหลเข้าอาเซียน ทะลักไทยมากที่สุด | คุยกับบัญชา | 15 ก.ค. 68

BTimes

หมูสหรัฐฯ จ่อตีตลาดไทย เกษตรกรหวั่น "ภาษีทรัมป์" กระทบหนัก

Thai PBS

ชาวนาไทยกังวล ภาษีสหรัฐฯ 36% ฉุดราคา "ข้าวหอมมะลิ" ร่วง

Thai PBS

‘OMAKAHED’ ปลูก-ปรุง-เสิร์ฟเมนูคนรักเห็ด l 19 ก.ค. 68 FULL l BTimes Weekend ShowBiz

BTimes

กู้เงินออมสิน 50,000 บาท ผ่อนส่งเดือนละ 1,083 บาท ล่าสุดออมสินเฉลยแล้ว

sanook.com

รถมือสองยอดหด 28% สมาคมชี้ แบงก์เข้มงวด-รถ EV กระทบหนัก

Thai PBS

กู้เงินออมสิน 200,000 บาท ผ่อนเดือนละ 4,333 บาท ที่แท้เป็นแบบนี้นี่เอง

sanook.com

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยแนะติดตามปัจจัยสำคัญระหว่าง21-25ก.ค.68

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

หนี้ครัวเรือนลดลงครั้งแรกใน 13 ปี สัญญาณดีจริงหรือเตือนภัยเศรษฐกิจ

TNN ช่อง16

เคาะแผนเพิ่มรายได้"เกษตรกร" 5.3แสนบ.

TNN ช่อง16

ทุนเสมอภาค หรือ ยาแก้เฉพาะหน้า? เมื่อภาระทางการศึกษาเกี่ยวพันกับหนี้ครัวเรือน

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...