โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธรรมะ

สพฐ. ชื่นชม สพม.ยะลา สานพลังครูในพื้นที่ ยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล

เดลินิวส์

อัพเดต 14 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 21 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
สพฐ. ชื่นชม สพม.ยะลา สานพลังครูในพื้นที่ ยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล

เมื่อวันที่ 25 ก.ค. นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ร่วมพบปะทักทายและให้กำลังใจผู้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสานพลังครู "ครูร่วมรู้ ครูร่วมสร้าง ครูร่วมนำไปใช้" สู่คุณภาพการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษายะลา (สพม.ยะลา) ภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2568 ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM Meeting โดยมี ผู้บริหารสถานศึกษาจากโรงเรียนในสังกัด สพม.ยะลา จำนวน 12 คน ครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ รวมทั้งสิ้น 48 คน (วิชาละ 1 คน จาก 12 โรงเรียน) เข้าร่วม
.
สำหรับกิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อเปิดเวทีให้ครูวิเคราะห์ผลสอบ O-NET ที่ผ่านมา เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดอ่อนและร่วมกันออกแบบแนวทางเติมเต็มคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน พร้อมเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวโน้มข้อสอบ ทักษะสำคัญที่สอดคล้องกับการประเมินระดับชาติ และการประเมินตามแนวทาง PISA รวมถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครูผู้สอน ในการออกแบบนวัตกรรม สื่อ หรือแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียน และให้ครูผู้สอนได้นำสื่อ กิจกรรม หรือแนวทางไปปรับประยุกต์ใช้ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งในและนอกห้องเรียน โดยมีวิทยากร ได้แก่ ดร.วิมพ์วิภา รักสม ผอ.สพม.ยะลา บรรยายพิเศษ หัวข้อ "สานพลัง สร้างแรงขับ ยกระดับคุณภาพผู้เรียน” ร่วมด้วยคณะศึกษานิเทศก์ สพม.ยะลา (กิจกรรมศุกร์เช้า ข่าว สพม.ยะลา) และวิทยากรประจำกลุ่มวิชา ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ โดย นายธงชัย ศักดิ์สุวรรณ และนางสาวอาอีด๊ะห์ หะยีดาแม และศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบวิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ โดย นางสาวสุกัญญา ปัญญาวิศิษฎ์กุล ครูโรงเรียนเบตง "วีระราษฎร์ประสาน" ที่เป็นแกนนำในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง PISA วิชาภาษาอังกฤษ โดย นายรุสลาน สาแม รอง.ผอ.โรงเรียนจันทร์ประภัสสร์อนุสรณ์ (อดีตครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ) และวิชาภาษาไทย โดย นางสาวเพริศพิศ คูหามุข ผอ.โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง 2 (อดีตครูผู้สอนวิชาภาษาไทย)
.
นางเกศทิพย์ ศุภวานิช กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญในการสานพลังครู เสริมสร้างมุมมองเชิงระบบในการจัดการเรียนรู้ทุกมิติ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายคือ “นักเรียนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง” หน้าที่สำคัญของครูทุกคน คือ การเติมเต็มมาตรฐานการเรียนรู้ของนักเรียนสู่ระดับนานาชาติ โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบ PISA 2025 ที่จะจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม 2568 ซึ่งตลอดเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา สพฐ. โดยการนำของ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. ได้ขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่องภายใต้แนวคิด “ทางลัดที่มีประสิทธิภาพ” เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ ไตร่ตรอง มีสติปัญญา ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ ตามเจตนารมณ์ของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ) จนถึงปัจจุบัน ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศเจตนารมณ์ดำเนินการต่อเนื่อง และสานต่อเจตนารมณ์อย่างเข้มแข็ง ในการขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากลได้ครบทุกมิติ
.
เมื่อดูจากหัวข้อ “สานพลังครู: ครูร่วมรู้ ครูร่วมสร้าง ครูร่วมนำไปใช้” เป็นการสะท้อนถึงบทบาทของครูในฐานะผู้เรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาอย่างมืออาชีพ และสร้างชุมชนการเรียนรู้ (PLC) ที่เข้มแข็ง เพื่อให้นักเรียนทุกโรงเรียน โดยเฉพาะ 12 โรงเรียนเป้าหมาย ได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียม รวมถึงการวิเคราะห์ผลสอบ O-NET ควรใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการวางแผนพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างตรงจุด รู้จุดแข็ง จุดอ่อนของแต่ละโรงเรียน และใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อปลดรั้วโรงเรียน เสริมองค์ประกอบที่จำเป็นต่อคุณภาพและอนาคตของผู้เรียน
.
ทั้งนี้ ทุกกระบวนการเรียนรู้ต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผ่านกระบวนการ Active Learning ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ ถ่ายทอดความรู้ด้วยตนเองอย่างเข้าใจ สะท้อนออกมาเป็นสมรรถนะและพฤติกรรมที่แสดงถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างครบถ้วนทั้ง 3 องค์ประกอบ ขณะที่ สพฐ. ได้พัฒนาแนวข้อสอบตามกรอบ PISA ทั้ง 3 วิชา (คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน) เป็นชุดฝึกเสริมทักษะความฉลาดรู้เพื่อใช้ในห้องเรียนทั่วประเทศ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ สรุปความ เชื่อมโยง และสื่อสารได้อย่างมีเหตุผล เมื่อผู้เรียนมีองค์ประกอบครบถ้วนและครูเสริมเติมเต็มได้ตรงจุด นักเรียนก็จะสามารถสร้างอนาคตของตนเองได้ตามความถนัด และก้าวสู่เส้นทางที่ตนเองเลือกได้อย่างอิสระต่อไป
.
“โอกาสนี้ ขอขอบคุณ ดร.วิมพ์วิภา รักสม ผอ.สพม.ยะลา และทีมงานทุกท่านที่ร่วมทุ่มเทแรงกายแรงใจ สานพลังขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมขอเป็นกำลังใจในการนำผลการประเมินระดับชาติ O-NET ไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ วางแผน และพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อร่วมกันสร้าง “ช้างเผือก” ที่ภาคภูมิใจของประเทศต่อไป” รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าว

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

SeoulStation : ล้วงลึกตัวตน ‘ONE PACT’ ยิ้มเขินความประทับใจที่หลงรัก ‘&HEARTไทย’

25 นาทีที่แล้ว

อังกฤษเริ่มใช้มาตรการ ‘ตรวจสอบอายุผู้ใช้เว็บ’ ปกป้องเยาวชนจากเนื้อหาอันตราย

28 นาทีที่แล้ว

สปป.ลาว ห่วงสถานการณ์ ไทย-กัมพูชา ออกแถลงการณ์ 3 ภาษา วอนใช้สันติวิธี

32 นาทีที่แล้ว

รวบแล้วมือยิงอดีตมือกลอง ‘ลำไย ไหทองคำ’ สาหัส รับทำเพราะหึงเมียเก่า

46 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธรรมะอื่น ๆ

สปาร์คไอเดียสร้างสรรค์กับนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ ขับเคลื่อนผู้นำคอนเทนต์ก้าวไกลสู่เวทีโลก

เดลินิวส์

ครูคือฮีโร่! ‘นฤมล’ ซึ้งใจ ครูดูแลเด็กแม้ตัวเองเป็นผู้ประสบภัย ศธ.ลั่นไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

เดลินิวส์

ม.กรุงเทพ จุดประกาย Virtual Production ยกระดับซอฟต์พาวเวอร์วงการภาพยนตร์ไทยสู่สากล

เดลินิวส์

มอบคำสั่งแต่งตั้ง ‘พระครูนิภาธรรมประสิทธิ์’ เป็น ‘ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดนครสวรรค์’

เดลินิวส์

‘กรมศิลป์’ ยันจิตรกรรม ‘ปู่ม่านย่าม่าน’ ไม่ได้รับผลกระทบน้ำท่วม เตรียมการบูรณะ ‘วัดหนองบัว’

เดลินิวส์

‘นฤมล’ เยี่ยม ‘ยายสะทน’ เหยื่อระเบิด สร้างบ้านใหม่มอบรถไถ-มอไซค์

เดลินิวส์

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...