โรงพยาบาลคือ “เขตคุ้มครอง” แม้ในสนามรบก็ห้ามล้ำเขตมนุษยธรรม
กฎแห่งสงคราม ทำไมห้ามโจมตีโรงพยาบาล แน่นอนว่า เพราะแม้ในศึกมนุษยธรรมต้องมาก่อน
อย่างในสงคราม มันก็มีกฎที่ห้ามทำหนึ่งในนั้นคือ "ห้ามโจมตีโรงพยาบาล" เพราะอะไร? เพราะโรงพยาบาลคือพื้นที่ของคนเจ็บ คนป่วย เด็ก ผู้หญิง และ ผู้สูงอายุ เป็นที่พึ่งสุดท้ายของคนที่ไม่มีอาวุธ ไม่มีแรงแม้แต่จะวิ่งหนี
กฎหมายระหว่างประเทศเค้าบอกไว้ชัดเลยว่า โรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และคนเจ็บ ต้องได้รับ “ความคุ้มครองพิเศษ” ทำลายไม่ได้ แม้แต่ฝ่ายตรงข้าม ถ้ามารักษาตัวอยู่ ก็ยัง “ห้ามแตะต้อง” เพราะนี่ไม่ใช่เรื่องของฝ่ายไหนแพ้ฝ่ายไหนชนะ แต่มันคือ เรื่องของความเป็นมนุษย์ แพทย์ก็มีหน้าที่ต้องรักษา ทุกคนอย่างเท่าเทียมตาม คำปฏิญาณฮิปโปเครติส และหลัก “ความเป็นกลางทางการแพทย์
ซึ่งภายใต้ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ IHL โรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ได้รับสถานะคุ้มครองพิเศษ ไม่ให้ถูกโจมตีแม้ในเขตสงคราม เพราะ การโจมตีโรงพยาบาล = ทำลายโครงสร้างพื้นฐานทางการแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยขาดโอกาสในการรักษา สร้างความหวาดกลัวในหมู่พลเรือน ขัดต่อหลักมนุษยธรรมขั้นพื้นฐาน
แต่ IHL ก็ระบุไว้ว่า โรงพยาบาลอาจ “สูญเสียการคุ้มครอง” ได้ หากถูกใช้เพื่อกระทำการที่เป็นอันตรายต่อศัตรู อาทิเช่น เป็นฐานหรือเป็นคลังเก็บอาวุธ และถ้ามันถึงขั้นกรณีนั้นจริง ๆ IHL กำหนดเงื่อนไขเข้มงวดที่ต้องปฏิบัติ
ต้องแจ้งเตือนล่วงหน้าอย่างชัดเจน ให้เวลาอพยพผู้ป่วยและบุคลากรทางแพทย์ที่ไม่เกี่ยวข้อง ต้องประเมินหลักสัดส่วน ความเสียหายที่พลเรือนจะได้รับ ใช้ความระมัดระวังสูงสุด เพื่อลดความสูญเสียที่ไม่จำเป็นให้เหลือน้อยที่สุด
ฉะนั้น จะเข้าใจได้ว่า โรงพยาบาลไม่ใช่สนามรบ คนรักษาชีวิต = ไม่ควรถูกเล็งเป็นเป้า อย่าทำลายความหวังสุดท้ายของคนเจ็บ และเหยียบย่ำหลักมนุษยธรรม
ติดตามเนื้อหาดีๆแบบนี้ได้ที่
Facebook: https://www.facebook.com/innnews.co.th
Twitter : https://twitter.com/innnews
Youtube : https://www.youtube.com/c/INNNEWS_INN
TikTok : https://www.tiktok.com/@inn_news
LINE Official Account : @innnews