โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

มือถือ Android กว่าแสนเครื่องในอุซเบกิสถาน ตกเป็นเหยื่อมัลแวร์ขโมย SMS ตัวใหม่ Qwizzserial

Thaiware

อัพเดต 16 ก.ค. เวลา 10.00 น. • เผยแพร่ 16 ก.ค. เวลา 10.00 น. • Sarun_ss777
นอกจากจะสามารถขโมยข้อมูล SMS ได้แล้ว ยังขโมยเบอร์โทรศัพท์ แอปธนาคาร และข้อมูลซิมได้อีกด้วย

มัลแวร์บน Android นั้นอย่างที่ผู้อ่านหลายรายคงทราบกันดีว่า มีอยู่มากมายหลายประเภท และประเภทหนึ่งที่กำลังมาแรงนั่นคือ มัลแวร์ที่ทำงานเกี่ยวเนื่องกับระบบการรับส่งข้อความสั้น หรือ SMS (Short Message Service) ดังเช่นในข่าวนี้

จากรายงานโดยเว็บไซต์ Infosecurity Magazine ได้กล่าวถึงการตรวจพบแคมเปญในการแพร่กระจายมัลแวร์ที่มีความสามารถในการดักจับข้อมูล SMS ที่มีชื่อว่า Qwizzserial ในประเทศอุซเบกิสถาน โดยมีผู้ตกเป็นเหยื่อมัลแวร์ดังกล่าวแล้วมากกว่าแสนราย ซึ่งผลงานการตรวจพบดังกล่าวนั้นเป็นของทีมวิจัยจาก Group-IB บริษัทผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ โดยมัลแวร์ตัวนี้นั้น ทางทีมวิจัยพบว่ามีส่วนเกี่ยวเนื่องกับมัลแวร์ในตระกูล Ajina โดยจะมุ่งเน้นไปยังกลุ่มผู้ใช้งานอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android ซึ่งความสามารถของมัลแวร์ดังกล่าวนั้น หลังจากที่ตัวมัลแวร์ถูกติดตั้งลงบนเครื่องแล้ว ตัวมัลแวร์จะทำการหลอกขอเข้าถึงข้อมูล SMS และตัวโทรศัพท์ หลังจากนั้นตัวมัลแวร์จะทำการขโมยข้อมูลดังต่อไปนี้

  • ข้อมูลบนข้อความ SMS ในส่วนของ Inbox, Sent และ Other Messages โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกรวบรวมเป็นไฟล์บีบอัดแบบ Zip เพื่อส่งกลับไปยังแฮกเกอร์
  • เบอร์โทรศัพท์ต่าง ๆ ที่ถูกบันทึกอยู่บนเครื่อง รวมไปถึงรหัสบัตรเครดิต และบัตรธนาคารอื่น ๆ พร้อมวันหมดอายุของบัตร
  • ข้อมูลต่าง ๆ ของซิมการ์ด
  • ข้อมูลแอปพลิเคชันธนาคารต่าง ๆ ที่ถูกติดตั้งอยู่บนเครื่อง อาจทำงานแยกตามประเทศที่กำหนด สำหรับข่าวนี้ มัลแวร์จะเก็บข้อมูลเฉพาะแอปพลิเคชันธนาคารภายในอุซเบกิสถานเท่านั้น)

ข้อมูลทั้งหมดที่ถูกขโมยนี้จะถูกส่งไปยังแฮกเกอร์ผ่านทางบอทบน Telegram และสำหรับมัลแวร์ในรุ่นใหม่ ๆ บางตัวนั้น อาจมีการใช้วิธีการส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ผ่านทาง HTTP POST Requests ในเวอร์ชันล่าสุดยังมีการสร้างความคงทนบนระบบของเหยื่อเพื่อมั่นใจว่ามัลแวร์จะทำงานได้ตลอดเวลา (Persistence) ด้วยการหลอกให้เหยื่อสั่งปิดระบบถนอมแบตเตอรี (Battery Optimization) และปิดระบบการยืนยันด้วยเลขบัตร เพื่อให้แฮกเกอร์สามารถใช้ข้อมูลที่ขโมยมาได้เพื่อเข้าถึงตัวแอปพลิเคชันได้ทันที

ในส่วนของการแพร่กระจายมัลแวร์นั้น แฮกเกอร์จะแพร่กระจายมัลแวร์ดังกล่าวผ่านทางบริการแชท Telegram ด้วยการสร้างบัญชีและช่องปลอม ที่แอบอ้างว่าเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่จะเสนอความช่วยเหลือทางการเงินให้กับผู้ที่เดือดร้อน ภายใต้ชื่อ “Presidential Support” และ “Financial Assistance” ซึ่งบัญชีและช่องเหล่านี้ จะหลอกให้เหยื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชันจากนอกแอปสโตร์ (Sideloading) ที่อ้างว่าเป็นแอปพลิเคชันสำหรับเข้าถึงบริการดังกล่าว ในรูปแบบไฟล์ APK ซึ่งถ้าเหยื่อหลงติดตั้งก็จะติดมัลแวร์ในทันที

ทางทีมวิจัยระบุว่า การที่มัลแวร์ประเภทนี้ระบาดอย่างหนักในประเทศอุซเบกิสถาน นั้นเนื่องมาจากระบบการยืนยันตัวตนของประเทศนี้นั้นมีการใช้การยืนยันตัวตนผ่านทาง SMS เพียงอย่างเดียว ไม่ได้มีการใช้ระบบอื่น ๆ ที่แข็งแกร่งกว่าอย่าง การยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลชีวภาพ (Biomatrics) และ 3D Secure (ระบบการยืนยันตัวตนลูกค้าแบบ 3 มิติ) เปิดช่องให้แฮกเกอร์ใช้ช่องทางดังกล่าวสร้างความเสียหายได้อย่างมาก ซึ่งในการระบาดของมัลแวร์ดังกล่าวเพียงแค่ 3 เดือน ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง มิถุนายน ปีนี้นั้น แฮกเกอร์ได้กวาดเงินไปแล้วมากถึง 62,000 ดอลลาร์สหรัฐ (2,010,009 บาท)

➤ Website : https://www.thaiware.com
➤ Facebook : https://www.facebook.com/thaiware
➤ Twitter : https://www.twitter.com/thaiware
➤ YouTube : https://www.youtube.com/thaiwaretv

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Thaiware

ขบวนการฉ้อโกงบน Android ครั้งยิ่งใหญ่ ถูกเปิดโปง พบเกี่ยวพันกับแอปฯ ปลอมมากกว่า 300 แอปฯ

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สายเถื่อนอ่วม ! แฮกเกอร์ทำเว็บแจกแคร็กปลอมกว่า 300 เว็บไซต์ โหลดแล้วติดมัลแวร์ขโมยข้อมูลแน่นอน

1 วันที่แล้ว

ไมโครซอฟท์ประกาศ ! เตรียมตัวนำเอาฟีเจอร์ Password Management ออกจากแอป Authenticator สิงหาคม นี้

1 วันที่แล้ว

งานวิจัยพบว่า ChatGPT ช่วยเพิ่ม Traffic ให้เว็บข่าวได้จริง แต่เทรนด์ผู้เข้าชมโดยรวมกลับลดลง

2 วันที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอทีอื่น ๆ

ทรัมป์เก็บภาษีกราไฟต์จากจีน 93.5% สะเทือนตลาดรถ EV สหรัฐฯ

BT Beartai

Microsoft ยุติการใช้วิศวกรจีนให้บริการที่เกี่ยวกับกองทัพสหรัฐฯ

BT Beartai

Samsung เปิดตัวไลน์อัพจอพับใหม่ Z Fold7 สุดยอดนวัตกรรม, Z Flip7 สวยล้ำนำเทรนด์ และ Z Flip7 FE จอพับสำหรับทุกคน

Siamphone

รวมสมาร์ตโฟนออกใหม่ ประจำเดือนกรกฎาคม 2025

Siamphone

แฮกสำเร็จ พบ ช่องโหว่ ChatGPT หลอกเอาคีย์ Windows แท้

Techhub

โกยเงินนับล้าน ใช้ AI สร้างภาพเปลือย เข้าข่ายการผลิตสื่อลามก

Techhub

เปิดโลกโปรแกรมเมอร์ รวมเพลย์ลิสต์ดูฟรี เขียนโปรแกรมภาษา Python

Techhub

หลุดสีใหม่ iPhone 17 Pro ครบทุกสไตล์มาแบบจัดหนัก

sanook.com

ข่าวและบทความยอดนิยม

มัลแวร์ตัวใหม่จากเกาหลีเหนือ มุ่งโจมตีผู้ใช้งาน macOS ผ่านอัปเดต Zoom ปลอม

Thaiware

Malwarebytes เตือน ! นับตั้งแต่ต้นปี มีการตรวจพบมัลแวร์บน Android พุ่งสูงขึ้นกว่า 151%

Thaiware

ตรวจพบมัลแวร์ SparkKitty แฝงตัวบน Google Play และ App Store

Thaiware
ดูเพิ่ม
Loading...