โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

หุ้น การลงทุน

ธปท.ห่วง Financial Hub หลวมเกิน เสี่ยงฟอกเงิน-ก่อการร้าย กระทบเชื่อมั่นระบบการเงินไทย

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 17 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา ระบุว่า จากกรณีที่เมื่อวันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ศูนย์กลางการประกอบธุรกิจทางการเงิน พ.ศ. …. ของกระทรวงการคลัง (กค.) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ตรวจพิจารณาแล้ว และจะมีการบรรจุร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ในวาระที่ 1 นั้น

ในการพิจารณาวาระดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าฯ ธปท. ได้ทำความเห็นประกอบการพิจารณาของ ครม. ต่อร่าง พ.ร.บ.ศูนย์กลางการประกอบธุรกิจทางการเงิน พ.ศ. …. ตามหนังสือที่ ธปท. 3961/2568 เรื่อง ความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.ศูนย์กลางการประกอบธุรกิจทางการเงิน พ.ศ. …. ลงวันที่ 13 มิ.ย.2568 มีรายละเอียด ดังนี้

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร 0903/154 ลงวันที่ 29 พ.ค.2568 และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร 0503/6(ล) 13581 ลงวันที่ 30 พ.ค.2568 ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พิจารณาและแจ้งยืนยันความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.ศูนย์กลางการประกอบธุรกิจทางการเงิน พ.ศ. … ที่ผ่านการตรวจพิจารณาของ สคก. แล้ว โดยให้ ธปท. แจ้งไปยัง สลค. โดยตรง นั้น

ธปท. ขอเรียนเสนอความเห็นและข้อสังเกตต่อร่าง พ.ร.บ.มาตราต่างๆ ในรายละเอียด โดยขอเรียนย้ำความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่ต้องคำนึงถึงในการจัดตั้งศูนย์กลางทางการเงิน (Financial Hub) ในประเทศไทย

ซึ่งเคยได้หยิบยกในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายและยกร่างกฎหมายเพื่อจัดตั้งศูนย์กลางทางการเงิน การประชุมคณะอนุกรรมการยกร่างกฎหมายเพื่อจัดตั้งศูนย์กลางทางการเงิน และการประชุมเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ของคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมถึงเคยได้มีหนังสือแจ้งความเห็นให้ ครม. พิจารณาเมื่อวันที่ 27 ม.ค.2568 ด้วยแล้ว ดังนี้

1.กำกับดูแลความเสี่ยงด้านการฟอกเงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) ของการประกอบธุรกิจใน Financial Hub ในระดับที่ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานในระบบการเงินหลักของประเทศและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล

เนื่องจากกฎเกณฑ์ใน Financial Hub ผ่อนคลายมากกว่าปกติ Financial Hub บางแห่ง จึงถูกจับตามองหรือมีภาพลักษณ์ในการเป็นแหล่งสนับสนุนธุรภรรมทางการเงินที่ไม่ถูกกฎหมาย เช่น การฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงที่ Financial Hub ในประเทศไทย จะกลายเป็นแหล่งสนับสนุนธุรกรรมทางการเงินที่ผิดกฎหมาย

การประกอบธุรกิจใน Financial Hub จึงจำเป็นต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานการกำกับดูแลการป้องกันความเสี่ยงด้าน AML/CFT ที่ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานในระบบการเงินหลักของประเทศและเป็นสากล รวมถึงต้องมีกลไกการบังคับใช้ที่ชัดเจนและเพียงพอ เพื่อให้มั่นใจว่าการกำกับดูแลด้าน AML/CFT จะเป็นไปอย่างเข้มงวด มิฉะนั้น อาจทำให้การจัดตั้ง Financial Hub กลายเป็นการสร้างช่องทางในการหลบเลี่ยงกฎเกณฑ์และเป็นช่องทางในการฟอกเงิน

ซึ่งจะกระทบต่อความน่าเชื่อถือของระบบการเงินหลักและสร้างความเสียหายต่อประเทศในระยะยาวได้

2.ป้องกันไม่ให้การประกอบธุรกิจใน Financial Hub กระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยต้องกำหนดหลักการและแนวทางบริหารความเสี่ยงที่สำคัญเหล่านี้ไว้ในร่าง พ.ร.บ. ดังนี้

2.1 ไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจใน Financial Hub ให้บริการแก่คนในประเทศ เนื่องจากกฎเกณฑ์และการกำกับดูแลที่ผ่อนปรน จะทำให้ความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจสูงกว่าในระบบการเงินหลัก รวมทั้งเกณฑ์การคุ้มครองผู้ใช้บริการอาจเข้มงวดน้อยกว่า ซึ่งหากเกิดความเสียหายกับผู้ใช้บริการคนไทย อาจส่งผลกระทบในวงกว้างและต่อเนื่องมายังเสถียรภาพของระบบการเงินหลักได้

นอกจากนี้ หากให้ผู้ประกอบธุรกิจใน Financial Hub ให้บริการแก่คนในประเทศ จะเป็นการให้บริการในลักษณะเดียวกับผู้ประกอบธุรกิจในระบบการเงินหลัก แต่อยู่ภายใต้บังคับของกฎเกณฑ์ที่มีความเข้มงวดน้อยกว่า และได้รับการอุดหนุนหรือสิทธิประโยชน์บางประการเป็นพิเศษ ดังนั้น จึงต้องกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจใน Financial Hub ให้บริการเฉพาะผู้ที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (non-resident: NR) เท่านั้น (ร่างมาตรา 57)

2.2 แยกธุรกิจใน Financial Hub ไม่ให้ปะปนกับธุรกิจในระบบการเงินหลัก ทั้งในแง่ของนิติบุคคลผู้ประกอบธุรกิจและพื้นที่ในการประกอบธุรกิจ โดยการกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจใน Financial Hub แยกนิติบุคคลออกจากระบบการเงินหลักให้ชัดเจน จะช่วยจำกัดความเสียหายในกรณีที่เกิดปัญหาใน Financial Hub ซึ่งอาจลุกลามจนส่งผลต่อธรกิจในระบบการเงินหลักและเสถียรภาพในวงกว้าง (ร่างมาตรา 38)

ส่วนการกำหนดให้มีพื้นที่ที่มีขอบเขตเฉพาะสำหรับ Financial Hub นอกจากจะเอื้อต่อการกำหนดสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจใน Financial Hub และสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายและการกำกับดูแลทั้งในรูปแบบ off-site และ on-site แล้ว ยังจะช่วยลดความสับสนให้กับผู้ใช้บริการและสาธารณชน และลดความเสี่ยงที่จะกระทบความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินหลักที่เป็นระบบสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ

โดยตัวอย่างการกำหนดพื้นที่เฉพาะสำหรับ Financial Hub เช่น รัฐดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กำหนดให้ Dubai International Financial Centre มีขอบเขตพื้นที่ที่ชัดเจนไว้เป็นการเฉพาะ สำหรับการผลักดันการสร้าง Financial Free Zone (ร่างมาตรา 37)

2.3 มีกลไกให้หน่วยงานกำกับดูแลในระบบการเงินหลัก สามารถออกกฎเกณฑ์หรือมีคำสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจใน Financial Hub ต้องปฏิบัติตามได้ในภาวะวิกฤติ โดยหน่วยงานกำกับดูแลการประกอบธุรกิจใน Financial Hub จะมีบทบาทส่งเสริมการประกอบธุรกิจที่เน้นความคล่องตัวและกฎเกณฑ์ที่ผ่อนปรนเป็นหลัก

อย่างไรก็ดี ในภาวะวิกฤต หรือในกรณีที่มีเหตุอันอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงิน หรือระบบเศรษฐกิจของประเทศ หรือกระทบต่อประโยชน์ของประชาชนอย่างร้ายแรงนั้น จำเป็นต้องมีกลไกให้หน่วยงานกำกับดูแลในระบบการเงินหลักสามารถอกกฎเกณฑ์หรือมีคำสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจใน Financial Hub ต้องปฏิบัติตามได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินแบบองค์รวม (ร่างมาตรา 41 และร่างมาตรา 71)

3.เตรียมหน่วยงานกำกับดูแลการประกอบธุรกิจใน Financial Hub ให้พร้อมก่อนอนุญาตให้มีการประกอบธุรกิจใน Financial Hub

เนื่องจาก Financial Hub จะประกอบด้วยธุรกิจทางการเงินที่มีความหลากหลาย หน่วยงานกำกับดูแลการประกอบธุรกิจใน Financial Hub จึงต้องทำหน้าที่เสมือนหน่วยงานกำกับดูแลหลักทั้งหมดรวมกัน (ธปท. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)) และในระยะเริ่มต้นจะมีภารกิจในการยกร่างกฎหมายลำดับรอง และกำหนดหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสำหรับธรรกิจแต่ละประประเภท

จึงควรมีการจัดตั้งและเตรียมการอย่างเหมาะสม ทั้งด้านการวางโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร การวางแผนจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอ และการวางระบบประสานงานกับผู้กำกับดูแลหลัก โดยการให้ใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบธุรกิจควรเริ่มดำเนินการเมื่อมีความพร้อม เพื่อมิให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจ และกระทบต่อความน่าเชื่อถือของประเทศ

นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ประเด็นสำคัญอีกสองประการ ที่จำเป็นต้องคำนึงถึงควบคู่กันไป คือ การกำหนดเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการจัดตั้ง Financial Hub โดยประเมินจุดแข็งของประเทศ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและดึงดูดให้มีการมาประกอบธุรกิจใน Financial Hub เป็นลำดับแรก รวมถึงพิจารณาความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นอย่างรัดกุมและรอบด้าน

เพื่อให้การจัดตั้ง Financial Hub ในประเทศไทยบรรลุเป้าประสงค์ในการดึงดูดเงินลงทุนเข้าประเทศ สนับสนุนให้เกิดการจ้างงาน และเกิดการถ่ายทอดความรู้ความชำนาญให้กับคนไทยได้ โดยตัวอย่างประเทศที่ประสบความสำเร็จในการจัดตั้ง Financial Hub เช่น สิงคโปร์ ได้กำหนดเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางด้านการบริหารความมั่งคั่งและเทคโนโลยีทางการเงิน

นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องมีระบบนิเวศที่พร้อมรองรับและสนับสนุนการจัดตั้ง Financial Hub โดยระบุจุดที่ต้องยกระดับความพร้อมของประเทศไทยให้ชัดเจน นอกเหนือไปจากการมีกฎเกณฑ์การประกอบธุรกิจที่คล่องตัวและการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น ระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจของบริษัทข้ามชาติ แรงงานที่มีทักษะสูงและสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี ระบบธรรมาภิบาลและการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็ง โครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่แข็งแกร่ง และปัจจัยสนับสนุนทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมในระดับสูง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

ทักษิณ เททองหล่อหลวงพ่อคูณองค์ใหญ่ที่สุด ให้ศรัทธาพระพุทธศาสนา มีพระดี 99%

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ทักษิณ เททองหล่อหลวงพ่อคูณองค์ใหญ่ที่สุด ให้ศรัทธาพระพุทธศาสนา มีพระดี 99%

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

'กองทัพไทย' จี้ 'กัมพูชา' รับผิดชอบ ลงโทษคนวางกับระเบิด พร้อมเยียวยา

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘เมตา’ จะไม่ลงนามข้อตกลงเอไอฉบับใหม่ของอียู หวั่นจำกัดการพัฒนา

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความหุ้น การลงทุนอื่น ๆ

OCEAN LIFE ไทยสมุทร เปิดบูทใหญ่ในงานวันประกันชีวิต ครั้งที่ 24 พร้อมแบบประกันที่ตอบโจทย์ทุก Generation

สยามรัฐ

เมืองไทยประกันชีวิต ร่วมงาน “วันประกันชีวิตแห่งชาติ” ครั้งที่ 24คัดสรรผลิตภัณฑ์เด่น-โปรโมชันโดนใจ ตอบโจทย์ทุกความเป็นคุณ เพื่อความสุขที่ยั่งยืน

สยามรัฐ

คาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้าแกว่ง 1,125-1,255 จุด จับตาส่งออกไทย-เจรจาภาษีทรัมป์

The Bangkok Insight

ส่องพอร์ต “สารัชถ์ รัตนาวะดี” ครึ่งแรกปี 68 โละหุ้น ROCTEC พบ ราคาหุ้นดิ่ง 50.48 %

Share2Trade

ธอส.ครึ่งปีแรกปล่อยกู้ทะลุ 1.07 แสนล้าน หนุนคนไทย 9.5หมื่นบัญชีมีบ้าน

Amarin TV

หุ้นกลุ่มแบงก์ยังสดใส? ท่ามกลางความเสี่ยงรอบด้าน

Amarin TV

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...