เจ้าแม่รีเซลบัตรคอน ปรากฏการณ์ใหม่ในยุคดิจิทัล | เงินทองของจริง
84 ดูเคยมั้ยครับ อยากไปคอนเสิร์ตศิลปินคนโปรด แต่กดบัตรยังไงก็ไม่ทัน! สุดท้ายต้องหันไปพึ่ง พี่รับกด หรือ เจ้าแม่รีเซลบัตรคอน วันนี้เราจะพาไปดูว่า ธุรกิจรับกดบัตรคอนเสิร์ตจริง ๆ แล้วทำยังไง ? ได้เงินจริงไหม ? และผิดกฎหมายรึเปล่า ? ธุรกิจรับกดบัตรคืออะไร ? ธุรกิจรับกดบัตร คือ การบริการที่มีคนรับจ้างกดบัตรคอนเสิร์ต งาน Fan Meet หรือกิจกรรมต่างๆ ให้กับผู้ที่อยากได้บัตรแต่ไม่มีเวลาหรือทักษะในการกดเอง ซึ่งธุรกิจนี้จะมีรูปแบบหลัก ๆ ดังนี้ รูปแบบธุรกิจ รับจ้างกดบัตรแบบธรรมดา - คนรับจ้างใช้วิธีการกดบัตรด้วยตัวเอง ผ่านเว็บไซต์ขายบัตรให้ลูกค้า กดบัตรแล้วขายต่อ (Resale) - ซื้อบัตรในราคาเดิมจากเว็บไซต์ แล้วนำไปขายต่อในราคาสูงขึ้นเพื่อทำกำไร ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การรับจ้างกดบัตรแบบธรรมดา ยังไม่มีข้อกฎหมายห้ามโดยเฉพาะ จึงไม่ผิดกฎหมายโดยตรง การกดบัตรแล้วขายต่อ (Resale) ยังไม่ผิดกฎหมายโดยตรง แต่ถ้าฝ่าฝืนเงื่อนไขของผู้จัด เช่น ห้ามขายต่อ อาจถูกเพิกถอนสิทธิ์ หรือถูกแบล็กลิสต์หมายเลขบัตรประชาชน และจะไม่สามารถใช้หมายเลขบัตรประชาชนดังกล่าวทำกิจกรรมใด ๆ กับเว็บไซต์ขายบัตรได้อีก การใช้บอทหรือโปรแกรมช่วยกด แม้ว่าการใช้บอทช่วยกดบัตรคอนเสิร์ตยังไม่มีบทบัญญัติกฎหมายเฉพาะในประเทศไทยที่ระบุว่า ผิดกฎหมาย โดยตรง แต่การกระทำแบบนี้อาจเข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หากใช้บอทเข้าไปเจาะระบบ หรือทำให้ระบบขายบัตรทำงานผิดปกติ ความเสี่ยงด้านการฉ้อโกง การซื้อ-ขายบัตรคอนเสิร์ตต่อจากคนอื่นมักจะเกิด การโกง คือ คนขายอ้างว่ากดบัตรได้ แล้วให้คนซื้อจ่ายเงิน แต่สุดท้ายแล้วไม่มีบัตรให้จริง ซึ่งแบบนี้ผิดกฎหมายฐานฉ้อโกง และมีคดีฟ้องร้องเกิดขึ้นจำนวนมากในกรณีนี้ ทำไมธุรกิจนี้ถึงเกิดขึ้น ? ธุรกิจรับกดบัตรเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย - ความต้องการบัตรสูง แต่มีจำนวนจำกัด - ทุกคอนเสิร์ตมีบัตรจำกัด ซึ่งบางโซนอาจขายหมดในเวลาไม่กี่นาที - ระบบขายบัตรที่ไม่ยืดหยุ่น - เช่น มีรอบขายบัตรที่จำกัด หรือเว็บไซต์ล่มในช่วงเปิดขาย - แฟนคลับไม่มีเวลา หรือไม่ชำนาญในการกดบัตร - บางคนงานยุ่ง หรือไม่ถนัดใช้เทคโนโลยี - การซื้อความสบายใจ - คนยอม จ่ายเงินเพิ่ม เพื่อแลกกับความมั่นใจและลดความเสี่ยง เปรียบเหมือนการซื้อประกัน รายได้และความเป็นไปได้ทางธุรกิจ รายได้จากการกดบัตร ใครที่สนใจหารายได้เสริมด้วยวิธีนี้ ต้องเข้าใจก่อนว่า รายได้ที่มาจากการกดบัตรคอนเสิร์ตหรือบัตรงานแฟนมีตติ้งต่าง ๆ มักไม่ได้เป็นรายได้ประจำ เพราะต้องขึ้นอยู่กับว่าในช่วงนั้น ๆ มีการจัดคอนเสิร์ตหรือไม่ อัตราค่าจ้าง - ทั่วไป: 200-500 บาทต่อใบ - คอนเสิร์ตยอดนิยม: สูงถึง 1,000 บาทต่อใบ ต้นทุนและความเสี่ยง ต้นทุนที่ต้องจ่าย - ค่าอินเทอร์เน็ต - ค่าคอมพิวเตอร์ - ค่าแรงและค่าเสียเวลาที่ต้องรอในช่วงเปิดขายบัตร ความเสี่ยง - บางครั้งกดบัตรไม่ได้ ทำให้ลูกค้าบางคนอาจไม่จ่ายเงิน ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ผลกระทบต่อผู้บริโภค - แฟนคลับจ่ายแพงขึ้น - การจ้างคนกดบัตรให้อาจจะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ซื้อ เพราะต้องเก็บเงินมากขึ้น - ศิลปินและผู้จัดไม่ได้เงินเพิ่ม - แม้จะจ่ายเงินค่าบัตรสูงขึ้น แต่เงินส่วนที่เพิ่มมาไม่ได้เข้าศิลปินหรือผู้จัดงานเพิ่มเลย ผลกระทบต่อระบบ - ระบบการขายไม่ค่อยโปร่งใส - ตลาดบัตรมือสองโตขึ้นเรื่อย ๆ ก็จริง แต่ระบบขายบัตรถูกตั้งคำถามเรื่องความยุติธรรมอย่างต่อเนื่อง ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจ ท้ายที่สุดแล้ว การรับจ้างกดบัตร ไม่ใช่แค่เรื่องของความไวหรือเทคนิค แต่ต้องมีจรรยาบรรณด้วย เพราะงานแฟนมีตหรือคอนเสิร์ตคือโอกาสพิเศษของแฟนคลับ แนวทางปฏิบัติที่ดี - การกวาดจองหรือกักที่นั่งโดยไม่จำเป็น อาจทำให้คนอื่นเสียโอกาส - ควรจองเฉพาะที่ที่ลูกค้าต้องการ เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ซื้อบัตรอย่างเท่าเทียม - คำชื่นชมและความไว้ใจจากลูกค้า คือสิ่งที่จะทำให้รายได้เติบโตได้อย่างยั่งยืน สำหรับผู้ซื้อบัตรมือสอง ถ้าจะซื้อบัตรมือสองควรตรวจสอบผู้ขายให้มั่นใจเสียก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกฉ้อโกง พบกับ โค้ชหนุ่ม และ ทิน โชคกมลกิจ ได้ใน เงินทองของจริง ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-8.40 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital ติดตาม CH7HD News และ TERO Digital ได้ที่ : https://linktr.ee/ch7hdnews_tero #เงินทองของจริง #TERODigital #CH7HDNews
เล่นอัตโนมัติ