โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

อาเซียนบนทางแยกเทคโนโลยี AI โอกาสทองระลอกใหม่ 5G โตเร็ว แต่ยังไม่พอ โจทย์ใหญ่พลิกโครงสร้างเศรษฐกิจ

Thairath Money

อัพเดต 17 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 17 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ภาพไฮไลต์

อาเซียนต้องเร่งผสาน 5G กับ AI เพื่อปลดล็อกศักยภาพดิจิทัล ก่อนจะพลาดโอกาสสำคัญในเวทีโลก รายงานใหม่จาก Lee Kuan Yew School of Public Policy (LKYSPP) ชี้ 5 แนวทางเชิงกลยุทธ์ใช้ประโยชน์จาก 5G เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลในอาเซียน พร้อมข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลอาเซียนที่ต้องลงมือทำทันทีเพื่อไม่ให้อาเซียนถูกทิ้งห่าง ขณะที่ภูมิภาคอื่นเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล โดยเฉพาะยุค AI

อาเซียนบนทางแยกเทคโนโลยี จะคว้าโอกาสทองจาก 5G และ AI อย่างไร

Lee Kuan Yew School of Public Policy (LKYSPP) เผยแพร่รายงานวิจัยฉบับล่าสุดภายใต้หัวข้อ “Leveraging 5G to Accelerate AI-Driven Transformation in ASEAN: Imperatives, Policy Insights, and Recommendations” ที่ชี้ว่า อาเซียนกำลังยืนกำลังตามหลังประเทศอื่นๆ ในการใช้งาน 5G ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันในอนาคต หากไม่มีการดำเนินการที่กล้าหาญและประสานงานกันอย่างจริงจัง หากอาเซียนสามารถผสานการใช้เทคโนโลยี 5G เข้ากับ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะสามารถขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและก้าวขึ้นเป็นผู้นำในโลกยุคดิจิทัล

รายงานระบุ ความสำคัญของ 5G ที่ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีการสื่อสาร แต่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีบทบาทสำคัญใน 5 ด้าน ได้แก่

  • แพลตฟอร์มการสื่อสารที่สร้างการเปลี่ยนแปลง (Transformation Infrastructure) ระยะแรก 5G มีบทบาทในการเชื่อมต่อข้อมูลแบบเรียลไทม์ รองรับเทคโนโลยีใหม่ที่ 4G ไม่สามารถทำได้ เช่น รถไร้คนขับ, การผ่าตัดทางไกล, และ IoT
  • หนุนการสร้างนวัตกรรมแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Innovation) รองรับ AI, IoT และ Edge Computing ด้วยความเร็วและเสถียร ส่งเสริมการตัดสินใจแบบเรียลไทม์ในภาคการผลิต การคมนาคม และสุขภาพ
  • อัปเกรดในภาคอุตสาหกรรมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 5G (Economic Competitiveness) 5G เป็นแกนหลักของ Industry 4.0 ช่วยเปลี่ยนจากการแข่งขันด้านแรงงานสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยมูลค่าสูง
  • เครื่องมือสร้างความเท่าเทียมทางดิจิทัล (Inclusive Development and Digital Sovereignty) การขยายบริการดิจิทัลสู่พื้นที่ชนบทและสร้างความเข้มแข็งทางดิจิทัลของประเทศอย่างทั่วถึง
  • ปูทางสู่ 6G และเร่งการปฏิวัติ AI (Foundation for 6G and AI) 5G ช่วยวางรากฐานทั้งด้านเทคนิค และเป็นส่วนช่วยในการผลักดันการพัฒนา AI

นอกจากนี้รายงานชี้ให้เห็นว่า ความแข็งแกร่งของระบบนิเวศ 5G คือ ปัจจัยสำคัญที่กำหนดความสำเร็จของแต่ละประเทศ เฉพาะเทคโนโลยี 5G เพียงอย่างเดียว คาดว่าจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 130,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกภายในปี 2573 แต่ปัจจุบันการเข้าถึง 5G ในอาเซียนยังมีความเหลื่อมล้ำสูง ตั้งแต่ระดับ 48.3% ในสิงคโปร์ ไปจนถึงน้อยกว่า 1% ในหลายประเทศสมาชิก

โดยที่ผ่านมารัฐบาลหลายประเทศมีบทบาทสำคัญในการเร่งการใช้งาน 5G ผ่านการจัดสรรคลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพและสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน เช่น การแชร์เสาไฟเบอร์และสถานีฐานเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มการแข่งขัน อย่างไรก็ตามแม้ 5G จะมีการใช้งานเพิ่มขึ้นรวดเร็ว แต่ยังไม่เกิดผลกระทบเชิงเปลี่ยนผ่านตามที่คาดหวัง ทั้งนี้หากไม่เร่งวางแผนและร่วมมือกัน ความเหลื่อมล้ำนี้อาจกลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่ฉุดรั้งขีดความสามารถในการแข่งขันของทั้งภูมิภาค

ไม่ให้อาเซียนถูกทิ้งห่าง โดยเฉพาะยุค AI

ศาสตราจารย์ หวู มินห์ ควง (Professor Vu Minh Khuong) จาก LKYSPP กล่าวย้ำว่า “5G และ AI คือโครงสร้างพื้นฐานแห่งอนาคตสำหรับการผลิตอัจฉริยะ การเกษตรแม่นยำ และระบบขนส่งอัตโนมัติ อาเซียนไม่มีเวลารออีกแล้ว โอกาสในการเป็นผู้นำด้านการเชื่อมต่ออัจฉริยะกำลังจะหมดลง”

รายงานอ้างอิงจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวนมากพร้อมทั้งผู้เชี่ยวชาญกว่า 400 คนใน 8 ประเทศอาเซียน พบว่า ความสำเร็จในการผสาน 5G กับ AI จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยการจัดการในระดับโครงสร้าง ซึ่งรวมถึงการลดช่องว่างทางดิจิทัลและการขาดแคลนทักษะในแรงงานเพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค 5G-AI อย่างเป็นรูปธรรม โดยรายงานเสนอแนะ 5 ลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ ดังนี้

  • จัดทำแผนกลยุทธ์ระดับชาติสำหรับ 5G และ AI พร้อมแผนงานชัดเจนถึงปี 2573
  • จัดตั้งหน่วยงานประสานงานที่มีอำนาจชัดเจน ในแต่ละประเทศอาเซียน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายแบบบูรณาการ
  • กำหนดนโยบายด้านคลื่นความถี่ที่เปิดกว้างและมองการณ์ไกล เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและสนับสนุนนวัตกรรม
  • สร้างระบบนิเวศ AI ที่แข็งแกร่ง ผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐ-เอกชน
  • นำระบบตรวจสอบและประเมินผลมาใช้ เพื่อปรับปรุงนโยบายอย่างทันท่วงที

รายงานชี้ให้เห็นตัวอย่างความสำเร็จจากหลายประเทศในอาเซียน เช่น ท่าเรืออัจฉริยะในสิงคโปร์ที่ใช้ 5G เพื่อลดความล่าช้าได้กว่าครึ่ง ระบบจัดการภัยพิบัติที่ใช้ AI ในประเทศไทย และเครือข่ายค้าส่งในมาเลเซียที่ครอบคลุมประชากรถึง 82% เหล่านี้ คือ หลักฐานของศักยภาพมหาศาลที่รอการขยายผล

การวางรากฐาน 5G ในวันนี้ ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนา 6G ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นภายในปี 2573 ดังนั้น การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ในปัจจุบันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาคในอนาคต

เมื่อมองไปข้างหน้า LKYSPP คาดว่า หากอาเซียนสามารถขับเคลื่อนกลยุทธ์เหล่านี้ได้จริงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในหลากหลายภาคส่วน ตั้งแต่การผลิตอัจฉริยะ การเกษตรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลไปจนถึงการศึกษาที่เข้าถึงได้ในพื้นที่ห่างไกล แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น หากยังขาดความมุ่งมั่นเชิงนโยบายและการดำเนินการที่เด็ดขาด

ที่มาข้อมูล LKYSPP

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ -

https://www.facebook.com/ThairathMoney

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : อาเซียนบนทางแยกเทคโนโลยี AI โอกาสทองระลอกใหม่ 5G โตเร็ว แต่ยังไม่พอ โจทย์ใหญ่พลิกโครงสร้างเศรษฐกิจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Thairath Money

ราคาทองวันนี้ล่าสุด 26 กรกฎาคม 2568 ราคาปรับลดลง 100 ราคาทองรูปพรรณ บาทละ 52,050 บาท

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เปิดประตูเศรษฐกิจดิจิทัล Sandbox แลกคริปโตเป็นเงินบาทสร้างโอกาสใหม่ให้ไทยยังไง?

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

ธ.ก.ส. ออกสินเชื่อฉุกเฉิน 50,000-500,000 บาท ช่วยผู้ได้รับผลกระทบชายแดนไทย-กัมพูชา

สยามนิวส์

“กองทัพภาคที่ 2” สรุปสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา วันนี้ (26 ก.ค.68)

การเงินธนาคาร

กัมพูชา ปิดน่านฟ้าเหนือพื้นที่ชายแดนปะทะไทย สั่งสายการบินเปลี่ยนเส้นทาง

การเงินธนาคาร

DELTA แจ้งงบไตรมาส 2/68 กำไรสุทธิ 4,629 ล้านบาท ลดลง 29.5%

PostToday

NASA เปิดโครงการลาออกโดยสมัครใจ ลดพนักงาน 3,800 คน

การเงินธนาคาร

"CAAT" ผนึก 7 สายการบินเตรียมพร้อมรับ "คนไทย" ในกัมพูชา กว่า 500 คน

สยามรัฐ

กทม. ชวนประชาชนร่วมผลักดัน ‘พ.ร.บ.อากาศสะอาด’ ก่อน 8 ส.ค.นี้ เพื่อสิทธิพื้นฐานในการหายใจ

เดลินิวส์

ความขัดแย้งไทย–กัมพูชาร้อนระอุ เปิดศึกปะทะเดือด กระทบเศรษฐกิจไทยภาพรวมแบบจำกัด แต่ยังมีห่วงฉุดความเชื่อมั่น การลงทุนระยะยาว

BTimes

ข่าวและบทความยอดนิยม

Jon Omund Revhaug 25 ปีเฝ้าดู“ดิจิทัลไทย”เติบโต เบื้องหลังดีล True-dtac สู่บทบาทซีอีโอTelenor Asia

Thairath Money

อาเซียนบนทางแยกเทคโนโลยี AI โอกาสทองระลอกใหม่ 5G โตเร็ว แต่ยังไม่พอ โจทย์ใหญ่พลิกโครงสร้างเศรษฐกิจ

Thairath Money
ดูเพิ่ม
Loading...