โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

อสังหาริมทรัพย์

ก้าวแรกลดหย่อนภาษีติดโซลาร์รูฟ ผู้บริโภคหวังแรงขับเคลื่อนต่อ

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปในที่อยู่อาศัยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2568 หวังเร่งให้ภาคครัวเรือนลงทุนในพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น ท่ามกลางแนวโน้มค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น และความตื่นตัวด้านพลังงานสะอาดของประชาชน

ตามมาตรการ ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย (ประเภทที่ 1) ที่มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1)–(8) และติดตั้งระบบโซลาร์แบบ On-grid ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 200,000 บาท ทั้งนี้ ต้องมีเอกสารประกอบครบถ้วน และมาตรการจะมีผลบังคับใช้เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งยังอยู่ระหว่างดำเนินการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

แม้จะเป็นก้าวแรกที่ชัดเจนในการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปในระดับครัวเรือน แต่มาตรการภาษีกลับยังไม่ใช่คำตอบหลักที่ผู้บริโภคต้องการ จากผลสำรวจของ SCB EIC ช่วงต้นปี 2568 พบว่า แม้ 80% ของกลุ่มตัวอย่าง 2,257 รายแสดงความสนใจติดตั้ง แต่ยังไม่ตัดสินใจ เนื่องจากภาระค่าใช้จ่ายยังสูง โดยผู้บริโภคต้องการ “เงินอุดหนุนค่าติดตั้ง” มากกว่าลดหย่อนภาษี

ผลสำรวจยังพบว่า ความต้องการของผู้บริโภคเรียงลำดับดังนี้

  • เงินอุดหนุนค่าติดตั้ง 26%
  • ลดหย่อนภาษี 20%
  • ปลดล็อกการขายไฟฟ้าเสรี 15%
  • ขายไฟส่วนเกินในราคาปลีก 13%
  • ระบบติดตั้งราคาถูก 14%
  • ลดความยุ่งยากในการขออนุญาต 12%

สะท้อนว่าผู้บริโภคคาดหวัง “แพ็กเกจนโยบาย” ที่ครบทั้งด้านต้นทุน การเข้าถึงระบบ และผลตอบแทนจากการผลิตไฟ

ขณะเดียวกัน ยังมีอุปสรรคสำคัญ 3 ประการที่ขวางการตัดสินใจติดตั้ง ได้แก่

  • ความไม่ชัดเจนในการเลือกผู้ให้บริการ ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพหรือเปรียบเทียบราคาได้ง่าย
  • ข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ผู้ติดตั้งกว่า 50% ยังต้องลงทุนด้วยเงินสด
  • ขั้นตอนขออนุญาตที่ยุ่งยาก จากการติดต่อหน่วยงาน การเตรียมเอกสาร ไปจนถึงการนัดตรวจสอบสถานที่

ทั้งนี้ SCB EIC ได้เสนอ 3 แนวทางที่รัฐควรดำเนินการในระยะสั้น เพื่อเสริมมาตรการภาษี ได้แก่

  • จัดทำระบบรับรองคุณภาพอุปกรณ์และผู้ให้บริการแบบสมัครใจ
  • สนับสนุนเงินอุดหนุนหรือลดดอกเบี้ยสินเชื่อสำหรับติดตั้ง
  • จัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One-stop service) เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการขออนุญาต

ส่วนในระยะยาว รัฐสามารถออกมาตรการเพิ่ม เช่น เปิดเสรีการขายไฟฟ้าในระดับครัวเรือน และรับซื้อไฟส่วนเกินในอัตราราคาขายปลีก (Net-metering) เพื่อสร้างแรงจูงใจที่มีผลในเชิงพฤติกรรม

ด้านภาคเอกชนก็มีบทบาทสำคัญในการผลักดัน เช่น การสร้างความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ การพัฒนาสินเชื่อเฉพาะกิจร่วมกับธนาคาร และการให้บริการดำเนินการขออนุญาตแทนผู้บริโภค รวมถึงเสนอราคาติดตั้งและอุปกรณ์ที่แข่งขันได้

แม้ประเทศไทยมีศักยภาพผลิตไฟจากโซลาร์รูฟท็อปสูงถึง 121,000 เมกะวัตต์ แต่ในปี 2022 กลับติดตั้งได้เพียง 1,893 เมกะวัตต์ หรือ 1.6% ของศักยภาพทั้งหมด มาตรการภาษีจึงอาจเป็นเพียงก้าวแรก หากแต่ยังไม่ใช่ “เครื่องมือเดียว” ที่จะเร่งเปลี่ยนหลังคาบ้านทั่วไทยให้กลายเป็นแหล่งพลังงานสะอาดอย่างแท้จริง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

ททท.แจงยิบประกาศปิดลงทะเบียน “เที่ยวไทยคนละครึ่ง” สำหรับประชาชนชั่วคราว

39 นาทีที่แล้ว

เที่ยวไทยคนละครึ่ง พ่นพิษ ใบหยกสกายหยุดสำรองจองห้องพักชั่วคราว

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

vivo เปิดตัว X200 FE สมาร์ทโฟนเรือธง เคาะขายเริ่มต้น 24,999 บาท

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ค่าเงินบาทปิดตลาดวันที่ 4ก.ค.ที่ระดับ 32.35 บาทต่อดอลลาร์

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...