โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

โครงการสตอร์มฟิวรี (Project STORMFURY) ตำนานผู้กล้าท้าทายพลังพายุเฮอริเคน

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา
โครงการสตอร์มฟิวรี (Project STORMFURY) ตำนานผู้กล้าท้าทายพลังพายุเฮอริเคน

พายุเฮอริเคน ภัยธรรมชาติที่รุนแรงและสร้างความเสียหายให้กับมนุษย์มากที่สุดรูปแบบหนึ่ง โดยเฉพาะในพื้นที่สหรัฐอเมริกา ย้อนไปเมื่อเกือบ 40 ปีก่อน รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้รวมทีมนักวิทยาศาสตร์และนักอุตนิยมวิทยาขึ้นมาเพื่อศึกษาวิธีการลดความรุนแรงของพายุเฮอริเคน ภายใต้ชื่อโครงการสตอร์มฟิวรี (Project STORMFURY)

จุดเริ่มต้นของแนวคิดการเอาชนะพายุเฮอริเคน

แนวคิดในการปรับเปลี่ยนสภาพอากาศ เริ่มต้นขึ้นจากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์วินเซนต์ เชเฟอร์ (Vincent Schaefer) และเออร์วิง แลงมัวร์ (Irving Langmuir) เชเฟอร์พบว่าเมื่อเขาทิ้งน้ำแข็งแห้งบดลงในเมฆ จะเกิดหิมะตกตามมา ด้วยความพยายามของแลงมัวร์และการวิจัยของเชเฟอร์ที่ General Electric (GE) แนวคิดการใช้การหว่านสารในเมฆเพื่อลดความรุนแรงของพายุเฮอริเคนจึงได้รับแรงผลักดันขึ้นมา

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการหว่านสาร ซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Silver Iodide) ในบริเวณรอบๆ ผนังตาพายุ (Eyewall) หรือตรงบริเวณ "เข็มขัดลมสูงสุด" (The belt of maximum winds) ซึ่งอยู่ถัดจากผนังตาพายุ จะทำให้เกิดการปล่อยความร้อนแฝง (latent heat) ออกมา

และการสร้างผนังตาพายุใหม่ หรือการปล่อยความร้อนแฝงนี้จะส่งเสริมให้เกิดการก่อตัวของผนังตาพายุใหม่ โดยผนังตาพายุที่ก่อตัวขึ้นใหม่นี้จะมีขนาดใหญ่กว่าผนังตาพายุเดิม และเมื่อผนังตาพายุใหม่มีขนาดใหญ่ขึ้น ลมของพายุหมุนเขตร้อนจะอ่อนลง เนื่องจากความแตกต่างของความดันลดลง

ความพยายามครั้งแรกในการทดสอบแนวคิดนี้เกิดขึ้นภายใต้ชื่อโครงการเซอร์รัส (Project Cirrus) โดยเป็นความร่วมมือระหว่างบริษัท GE และกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา

การทดลองครั้งแรกเกิดขึ้นในวันที่ 13 ตุลาคม 1947 ในพายุเฮอริเคนเคปเซเบิล (Hurricane Cape Sable) โดยเครื่องบิน B-17 ได้บินไปตามแถบฝนของพายุและทิ้งน้ำแข็งแห้งบดเกือบ 180 ปอนด์ หรือ 82 กิโลกรัม ลงในเมฆ

แม้ลูกเรือรายงานว่ามีการ "เปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนของชั้นเมฆที่หว่านสาร" แต่ความสำเร็จของโครงการถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับความสำเร็จที่แท้จริงในการเปลี่ยนทิศทางของพายุเกิดขึ้นเพราะทีมงานหรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จนนำไปสู่การฟ้องร้องและยุติโครงการไปในที่สุด

โครงการสตอร์มฟิวรี (Project STORMFURY)

ต่อมาโครงการสตอร์มฟิวรีได้ถูกริเริ่มขึ้น โดยเป็นการร่วมทุนระหว่างกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกาและกองทัพเรือสหรัฐฯ ผู้กำกับโครงการคนแรกคือ โรเบิร์ต ซิมป์สัน (Robert Simpson) จนถึงปี 1965 จากนั้น โจแอนน์ ซิมป์สัน (Joanne Simpson) ก็มารับช่วงต่อตั้งแต่ปี 1965 และต่อมารับช่วงโดย ดร. อาร์. เซซิล เจนทรี (Dr. R. Cecil Gentry) ในปี 1968

NOAA- U.S. National Oceanic and Atmospheric Administration

ครั้งนี้ทีมงานได้พัฒนาวิธีการใช้สารซิลเวอร์ไอโอไดด์ที่เชื่อว่ามีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปถึงการศึกษารูปแบบของพายุโดยละเอียด เช่น พายุต้องมีโอกาสน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ที่จะเข้าใกล้พื้นที่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่ภายในหนึ่งวัน, พายุต้องอยู่ในระยะที่เครื่องบินหว่านสารไปถึงได้ม พายุต้องเป็นพายุที่รุนแรงพอสมควรและมีตาพายุที่ก่อตัวชัดเจน โดยเกณฑ์เหล่านี้ทำให้เป้าหมายที่เหมาะสมสำหรับการหว่านสารหายากอย่างยิ่งขึ้น เพื่อแลกกับโอกาสความสำเร็จ

ภารกิจครั้งสำคัญ เช่น พายุเฮอริเคนบิวลาห์ (Hurricane Beulah) ในปี 1963 แม้จะมีการทำผิดพลาดในการหว่านสารในตอนแรก แต่ในวันถัดมา ทีมงานก็ทำได้สำเร็จ มีการสังเกตว่ากำแพงตาพายุสลายไปและถูกแทนที่ด้วยกำแพงตาพายุใหม่ที่มีรัศมีกว้างขึ้น ความเร็วลมคงที่ก็ลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ ผลลัพธ์โดยรวมถือว่า "น่าพอใจแต่ยังไม่สรุปผลได้"

พายุเฮอริเคนเบ็ตซีย์ (Hurricane Betsy) ในปี 1965 พายุลูกนี้ถูกพิจารณาว่าเป็นพายุที่เหมาะสม แต่มันได้เปลี่ยนทิศทางเข้าหาฝั่ง ทำให้ต้องยกเลิกเที่ยวบินตามแผนการที่วางไว้ อย่างไรก็ตาม สื่อในยุคนั้นหลายสำนักรายงานว่าทีมงานได้หว่านสารซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Silver Iodide) ไปแล้วทำให้สาธารณชนและสภาคองเกรสกล่าวโทษโครงการสตอร์มฟิวรี เมื่อพายุเบ็ตซีย์เข้าถล่มรัฐฟลอริดา เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาถึง 2 เดือน ในการชี้แจงข้อกล่าวหาดังกล่าว

พายุเฮอริเคนเด็บบี้ (Hurricane Debbie) ในปี 1969 ทีมงานเชื่อว่านี่โอกาสที่ดีที่สุดในการทดสอบสมมติฐานของโครงการ พายุนี้ไม่เป็นภัยคุกคามต่อแผ่นดิน อยู่ในระยะที่เครื่องบินปฏิบัติการได้ และมีความรุนแรงพร้อมตาพายุที่ชัดเจน โดยในวันที่ 18 และ 20 สิงหาคม มีเครื่องบิน 13 ลำเข้าปฏิบัติการ ความเร็วลมลดลง 31% ในวันแรก และ 18% ในวันที่สอง การเปลี่ยนแปลงทั้งสองครั้งสอดคล้องกับสมมติฐานการทำงานของสตอร์มฟิวรี ผลลัพธ์นี้น่าพอใจมากจนมีการวางแผน "โครงการวิจัยที่ขยายใหญ่ขึ้นอย่างมาก"

The eye of Hurricane Debbie on August 20

พายุเฮอริเคนจิงเจอร์ (Hurricane Ginger) ในปี 1971 เป็นภารกิจการหว่านสารครั้งสุดท้ายของโครงการสตอร์มฟิวรี แม้ว่าพายุจิงเจอร์ไม่เหมาะสำหรับการหว่านสารเนื่องจากมีลักษณะที่กระจัดกระจายไม่ชัดเจน การหว่านสารจึงไม่มีผลกระทบใด ๆ ทำให้ภารกิจสุดท้ายนี้เหมือนการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

NOAA- U.S. National Oceanic and Atmospheric Administration

กองทัพเรือสหรัฐถอนตัวออกจากโครงการ

ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 เกิดความเปลี่ยนแปลงสำคัญ เมื่อกองทัพเรือได้ถอนตัวจากโครงการ สตอร์มฟิวรีเริ่มเปลี่ยนเป้าหมายจากการปรับเปลี่ยนพายุเป็นการทำความเข้าใจพายุหมุนเขตร้อนแทน

เนื่องจากพายุเฮอริเคนในแอตแลนติกที่ตรงตามเกณฑ์ความปลอดภัยมีน้อยมาก จึงมีการวางแผนที่จะย้ายโครงการสตอร์มฟิวรีไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกเพื่อทดลองกับพายุไต้ฝุ่นจำนวนมากที่นั่น

อย่างไรก็ตาม แผนการนี้ถูกขัดขวางด้วยปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศ โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนไม่พอใจหากพายุไต้ฝุ่นที่หว่านสารเปลี่ยนเส้นทางและขึ้นฝั่งของตน ขณะที่ญี่ปุ่นประกาศว่ายอมรับความยากลำบากที่เกิดจากพายุไต้ฝุ่นได้อยู่แล้ว

โครงการสตอร์มฟิวรี (Project STORMFURY) ยุติลงในปี 1983 หลังจากการวิจัยพบว่าสมมติฐานหลักของโครงการนั้นไม่ถูกต้อง และการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตเห็นในพายุอาจเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ไม่ใช่ผลจากการแทรกแซงของมนุษย์

โครงการสตอร์มฟิวรีไม่เสียเปล่า

แม้โครงการจะล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายหลัก แต่ก็มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างและพฤติกรรมของพายุหมุนเขตร้อน และช่วยปรับปรุงความสามารถในการพยากรณ์พายุ

ข้อมูลจากการวัดความเร็วของพายุในโครงการสตอร์มฟิวรี (Project STORMFURY) ด้วยเครื่องบินช่วยปรับปรุงแบบจำลองในขณะนั้น ทำให้ความสามารถในการพยากรณ์การเคลื่อนที่และความรุนแรงของพายุเฮอริเคนดีขึ้นอย่างมาก

นอกจากนี้เครื่องบินรุ่น Lockheed P-3 ในโครงการสตอร์มฟิวรี (Project STORMFURY) ยังถูกใช้งานในหน่วยงาน NOAA ตรวจสอบสภาพอากาศของสหรัฐอเมริกาจนถึงปี 2005 ก่อนปลดประจำการไปในที่สุด

โครงการสตอร์มฟิวรี (Project STORMFURY) นับเป็นบทเรียนอันล้ำค่าที่สอนให้มนุษย์เข้าใจความซับซ้อนและพลังมหาศาลของธรรมชาติ อันเป็นพื้นฐานให้เรารู้จักพายุเฮอริเคนได้ดียิ่งขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เพื่อให้สามารถเตรียมรับมือและปกป้องชีวิตผู้คนจากภัยพิบัติทางธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในปัจจุบัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

"ปล่อยห้องรก" แค่ความขี้เกียจ หรือสัญญาณเตือน! ปัญหาสุขภาพจิต

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ทบ. เชิญทูตทหาร 47 ประเทศ ฟังคำชี้แจงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา "พลจัตวา ฮอม คิม" ผู้ช่วยทูตทหารกัมพูชา” ร่วมวง

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นักวิจัยพบ สุนัขมีรสนิยมการรับชมเฉพาะตัว บุคลิกมีผลต่อการสนใจทีวี ?

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ก.พ.ค. เร่งสางเรื่องค้าง! ตั้งเป้าเคลียร์ร้องทุกข์ข้าราชการปี 69

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอทีอื่น ๆ

Nothing เปิดตัว CMF Watch 3 Pro : จอใหญ่ 1.43 นิ้ว, แบตฯ อึดขึ้น, ราคา 3,200 บาท

BT Beartai

Samsung Galaxy Z Fold7 และ Z Flip7 ทำสถิติจองสูงเป็นประวัติการณ์ ในเกาหลีใต้

BT Beartai

นักวิจัยพบ สุนัขมีรสนิยมการรับชมเฉพาะตัว บุคลิกมีผลต่อการสนใจทีวี ?

TNN ช่อง16

รู้วิธีรับมือกับ AI เข้าใจภัยไซเบอร์แบบเจาะลึก ห้ามพลาดงาน CDIC 2025

Techhub

Google เผยดีไซน์ Pixel 10 Pro อย่างเป็นทางการ

BT Beartai

“ดีป้า” แจงแล้ว!ยืนยันกระบวนการคัดเลือกโครงการ ODOS Summer Camp ยึดความโปร่งใสตรวจสอบได้

เดลินิวส์

รถ EV แบตเตอรี่ Solid-state จะได้เกิดไหม หรือสุดท้ายจะได้แค่ฝัน ?

TNN ช่อง16

หลุดรหัส iOS 26 Bata 4 ก่อนเวอร์ชั่นทดลองและแพลตฟอร์มอื่นๆ

sanook.com

ข่าวและบทความยอดนิยม

พายุ “วิภา” ขึ้นฝั่งวันนี้ 22-24 ก.ค. ฝนหนัก-คลื่นแรง เตือนเรือเล็กห้ามออกจากฝั่ง

TNN ช่อง16

เวียดนามเตรียมรับ "ไต้ฝุ่นวิภา" พัดขึ้นฝั่งวันนี้

TNN ช่อง16

ภาพพายุวิภาจากอวกาศโดยดาวเทียมญี่ปุ่นเตรียมขึ้นฝั่งเวียดนามพรุ่งนี้

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...