โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ศาสตร์แห่งการอาบป่า ทำไมแค่เดินในป่าก็รู้สึกดีขึ้น !

SpringNews

อัพเดต 17 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 18 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เคยไหม… แค่ได้ยินเสียงใบไม้ไหว หรือลมพัดผ่านต้นไม้สูง ก็รู้สึกหัวใจสงบขึ้นมาเฉย ๆ?
แสงแดดสะท้อนจากลำธารระยิบระยับ กลิ่นดิน กลิ่นไม้ กลิ่นหญ้าอบอวลอยู่รอบตัว นี่แหละ…คือเสน่ห์ของการอยู่ในป่า

ในญี่ปุ่น มีศาสตร์หนึ่งที่เรียกว่าShinrin-Yoku หรือ “การอาบป่า” ที่ไม่ได้หมายถึงการเดินเขา หรือไปปีนป่าย แต่คือการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า มอง ฟัง สูดกลิ่น สัมผัส และแม้แต่ลิ้มรส เพื่อซึมซับความสงบของธรรมชาติอย่างตั้งใจและช้า ๆ

แนวคิดนี้เริ่มต้นขึ้นในปี 1982 โดย Tomohide Akiyama อดีตหัวหน้าหน่วยงานป่าไม้ของญี่ปุ่น และต่อมาก็ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลเพื่อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่า การอยู่ในป่ามีผลดีต่อร่างกายและจิตใจอย่างแท้จริง

หนึ่งในนักวิจัยชั้นนำของศาสตร์นี้คือ ดร. Qing Li แพทย์จาก Nippon Medical School ผู้ศึกษาผลของ phytoncides สารระเหยจากต้นไม้ที่ช่วยปกป้องต้นไม้จากแมลงและเชื้อราซึ่งกลายเป็นตัวช่วยชั้นดีที่ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของมนุษย์ดีขึ้น

จากงานวิจัยที่ดร. Li ทำกับกลุ่มพนักงานบริษัทวัยกลางคนเขาพาพวกเขาไปอยู่ในป่าเพียง 3 วัน ผลตรวจเลือดกลับมาบอกว่าร่างกายมีเซลล์ภูมิคุ้มกันมากขึ้น และยังผลิตโปรตีนต้านมะเร็งเพิ่มขึ้นอีกด้วย! เขายังเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไปเดินในเมือง ผลลัพธ์ก็ต่างกันอย่างชัดเจน เมืองไม่ได้ให้ผลดีเหมือนป่าเลย

นอกจากภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้นแล้ว การอาบป่ายังช่วยลดความเครียด ลดระดับฮอร์โมนอะดรีนาลีน คอร์ติซอล และแม้แต่ความรู้สึกเศร้า โกรธ หรือวิตกกังวล

forest bathing ต่างจากการเดินป่าอย่างไร

คำตอบคือ“ความตั้งใจ” เราไม่ได้ออกแรงเดินเพื่อออกกำลัง แต่เราเดินช้า ๆ ฟังเสียงลมพัด มองแสงลอดใบไม้ ดมกลิ่นเปลือกไม้ และบางครั้ง…แค่นั่งเฉย ๆ ก็พอ

ที่ญี่ปุ่น มีสถานที่ให้ “อาบป่า” อย่างเป็นทางการกว่า 60 แห่ง หนึ่งในนั้นคือป่าธรรมชาติ Kitamoto ในไซตามะ ห่างจากโตเกียวแค่ 90 นาที ที่นี่มีกิจกรรมเดินป่าพร้อมไกด์ พักจิบน้ำชาสมุนไพร ชิมผลไม้ป่า และในบางวันก็มีโยคะใต้ร่มไม้ด้วย

ระหว่างกิจกรรมอาบป่า นักบำบัดธรรมชาติจะชวนให้ผู้เข้าร่วมลองหยิบใบไม้ที่ร่วงอยู่ตามทางขึ้นมา แล้วฉีกออกเบา ๆ เพื่อสูดกลิ่น กลิ่นหอมจาง ๆ ของใบไม้สดนั้นคือการบำบัดที่ธรรมชาติเตรียมไว้ให้โดยไม่ต้องปรุงแต่ง หนึ่งในใบไม้ที่พบได้บ่อยคือ “ใบการบูร” ซึ่งมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและถูกใช้เป็นยากันแมลงตามธรรมชาติ

ตลอดเส้นทาง นักบำบัดจะพาผู้เข้าร่วมหยุดนิ่งเป็นระยะ เพื่อเปิดรับเสียงของธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นเสียงน้ำไหลเบา ๆ เสียงใบไม้ไหว หรือแม้แต่เงาของใบไม้ที่สะท้อนอยู่บนผิวน้ำ เงาที่บางครั้งดูซับซ้อนและงดงามกว่าตัวใบไม้เสียอีก

กิจกรรมเช่นนี้ไม่ได้เน้นที่ระยะทางหรือความเร็ว แต่ให้ความสำคัญกับการตื่นรู้ของประสาทสัมผัสทั้งห้า เพื่อให้แต่ละคนได้เชื่อมโยงกับธรรมชาติอย่างลึกซึ้งและสงบ แตกต่างจากการเดินป่าที่เน้นระยะทางมากกว่าบรรยากาศ

หากมีโอกาส ลองไปที่ป่า Akasawa ในจังหวัดนากาโนะ ที่ที่เรียกกันว่า “บ้านเกิดของการอาบป่า” หรือหากอยู่ในโตเกียว ก็ยังมีสวนอุดมไปด้วย phytoncides อย่างสวน Shinjuku Gyoen หรือ Rikugien ก็น่าสนใจไม่น้อย

ที่มา :japantime

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก SpringNews

คลื่นความร้อนคุกคามซีกโลกเหนืออย่างรุนแรง กระทบหลายล้านคน

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จริงไหม? ฟังเสียงธรรมชาติวันละ 5-10 นาที ช่วยเยียวยาจิตใจ ลดความเจ็บปวด

7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“เอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ” เส้นทางท้าทาย สู่ความหวังคาสิโนไทย

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ทรัพย์เด็ดทำเลดีที่ภูเก็ต! กรมบังคับคดีเปิดประมูล2.6 พันล้าน

13 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

กองทัพไทย ขยับ! แสดงจุดยืน การกระทำกัมพูชา ไม่อาจยอมรับได้ ต้องรับผิดชอบ!!

TOJO NEWS

นิด้าโพลชี้ชาวพุทธศรัทธาพระสงฆ์ลดลง แต่ศาสนาพุทธเท่าเดิม หนุนใช้กฎหมายจัดการพวกนอกรีต

Manager Online
วิดีโอ

หนุ่มขับเก๋งชนท้ายรถสายตรวจพังยับ มีผู้บาดเจ็บ 2 ราย วัดแอลกอฮอล์สูง 181 มก.

สวพ.FM91
วิดีโอ

จับโจรลักของร้านสะดวกซื้อหลบหนีซุกป่า รับสารภาพเคยทำหลายครั้ง

สวพ.FM91

หน้า 1 หนังสือพิมพ์มติชนรายวันประจำวันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2568

MATICHON ONLINE
วิดีโอ

ปิดคดีดัง 12 ปี จับครบแก๊งพันศักดิ์ นักฆ่าหน้าหยก สังหาร "เสี่ยอ้วน โรงเกลือ”

สวพ.FM91

เดลินิวส์ 20 ก.ค. แฉ! สงฆ์ฉาวเปย์หญิงฉ่ำ ตะลึงกกเมียมา 15 ปี ‘บิ๊กเต่า’ วอนรีบลาสิกขา

เดลินิวส์

เตือนภัย “พายุวิภา” ส่งผลฝนตกหนักถล่มทั่วไทย 20-24 ก.ค. นี้

PostToday

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...