โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

“ประธานชีวะภาพ” เตรียมชงรัฐบาลเปลี่ยนโฉมการรับมือปัญหาสิ่งแวดล้อม

เดลินิวส์

อัพเดต 5 กรกฎาคม 2568 เวลา 20.05 น. • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
“ประธานชีวะภาพ” นำ กมธ.ทรัพยากรธรรมชาติฯ วุฒิสภา หิ้วองค์ความรู้บริหารจัดการน้ำจากยุโรป เตรียมผลักดันรัฐบาลไทยเปลี่ยนโฉมการรับมือปัญหาสิ่งแวดล้อม

ช่วงเช้าเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา นำโดยนายชีวะภาพ ชีวะธรรม ประธานคณะกรรมาธิการ และ นายจำลอง อนันตสุข เลขานุการคณะกรรมาธิการ ได้เดินทางเยือนศาลาว่าการเมืองบรูจส์ ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ มิสเตอร์ พาโปล แอนนีส์ เทศมนตรีด้านกิจการทางสังคม ความเป็นอยู่ที่ดี ที่อยู่อาศัย พลังงานและสภาพภูมิอากาศ ของเมืองบรูจส์ และรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับโครงการ Blue4Green ที่ มุ่งเน้นการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ เพื่อการจัดการภูมิทัศน์ สิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวและแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน

นายชีวะภาพ ชีวะธรรม กล่าว จากการศึกษาดูงานคณะกรรมาธิการฯ ได้รับทราบถึงแนวคิดและปฏิบัติที่น่าสนใจจากการบริหารจัดการน้ำของทั้งเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ ที่เน้นย้ำถึงความสำคัญของการอนุรักษ์แหล่งน้ำ การที่ประเทศเหล่านี้ไม่ถมแหล่งน้ำและมีคลองจำนวนมากนั้น สะท้อนถึงปรัชญาการใช้ชีวิตร่วมกับน้ำอย่างชาญฉลาด ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยรักษาภูมิทัศน์อันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองอย่างบรูจส์และอัมสเตอร์ดัมไว้เท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อม เป็นแหล่งท่องเที่ยวและวิถีชีวิตที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ผิวน้ำในคลองช่วยดูดซับความร้อนและระบายความร้อนออกไป ทำให้พื้นที่รอบคลองมีอุณหภูมิที่เย็นสบายกว่าบริเวณอื่น ๆ และคลองจำนวนมากและระบบโครงสร้างที่เชื่อมโยงกัน ทำหน้าที่เป็น พื้นที่รับน้ำชั่วคราว ในช่วงที่มีฝนตกหนักหรือน้ำหลากจากแม่น้ำ การที่ทั้งสองประเทศให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำอย่างชาญฉลาดนี้ ประเทศไทยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาและจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศและส่งเสริมความยั่งยืนของเมืองในอนาคต

“คณะกรรมาธิการฯ ได้ค้นพบจุดเด่นสำคัญอีกประการหนึ่งที่คาดว่าจะนำมาเป็นแนวทางผลักดันในประเทศไทย นั่นคือ ระบบสมาร์ทซิตี้ของบรูจส์ที่ใช้ในการตรวจสอบและบริหารจัดการน้ำ ระบบดังกล่าวมีความสามารถในการ ตรวจสอบคุณภาพของน้ำอย่างต่อเนื่อง หากตรวจพบสิ่งปนเปื้อนหรือความผิดปกติใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ระบบจะทำการประมวลผลข้อมูลอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ในกรณีที่มี น้ำหลาก หรือสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่น้ำท่วม ระบบยังสามารถประเมินสถานการณ์และแจ้งเตือนภัยให้กับประชาชนได้ทันที การทำงานแบบเรียลไทม์และสามารถแจ้งเตือนได้อย่างรวดเร็วนี้ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการป้องกันความเสียหายและช่วยให้ประชาชนเตรียมรับมือได้อย่างทันท่วงที คณะกรรมาธิการฯ มองว่าระบบสมาร์ทซิตี้เพื่อการบริหารจัดการน้ำนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการนำเทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีแผนที่จะนำองค์ความรู้และรูปแบบการทำงานของระบบนี้ไป ผลักดันให้ภาครัฐของประเทศไทยนำไปปรับใช้ ในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อยกระดับความสามารถในการรับมือกับความท้าทายด้านน้ำท่วม ภัยแล้ง และปัญหามลภาวะทางน้ำของประเทศในอนาคต” ประธานชีวะภาพ กล่าว

ในช่วงบ่าย คณะกรรมาธิการฯ เดินทางไปยังที่ทำการสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ เพื่อรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับนโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการปัญหามลพิษภายใต้กรอบอนุสัญญาระหว่างประเทศ การจัดการขยะและของเสีย รวมถึงแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสหภาพยุโรปและราชอาณาจักรเบลเยียม โดยนางกาญจนา ภัทรโชค เอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์และคณะอัครราชทูตที่ปรึกษา

ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายชีวะภาพ ชีวะธรรม ได้เปิดเผยถึงแนวทางการทำงานเร่งด่วนภายหลังการศึกษาดูงานที่ประเทศเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ โดยเน้นย้ำถึงประเด็นสำคัญสองส่วนที่จะนำไปผลักดันต่อในประเทศไทย โดยสิ่งแรกที่คณะกรรมาธิการฯ จะต้องลงมือผลักดันคือ การแก้ไขปัญหาสารปนเปื้อนในแม่น้ำกกและแม่น้ำสาย จากการเรียนรู้ประสบการณ์ของเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศปลายน้ำที่ต้องเผชิญกับปัญหามลพิษจากประเทศต้นน้ำเช่นกัน ทั้งสองประเทศเลือกใช้แนวทางการเจรจาแบบทวิภาคี ในการจัดการปัญหา คณะกรรมาธิการฯ จึงเห็นว่าประเทศไทยควรนำแนวทางเดียวกันนี้มาปรับใช้เพื่อหารือและร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำกกและแม่น้ำสายอย่างจริงจังและยั่งยืน

นอกจากนี้ อีกประเด็นสำคัญที่คณะกรรมาธิการฯ จะนำไปศึกษาต่อคือ บรรดากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรป เนื่องจากยุโรปมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เข้มแข็งและครอบคลุมหลายมิติ คณะกรรมาธิการฯ จะพิจารณาว่าประเด็นใดบ้างในกฎหมายเหล่านั้นที่สามารถ ปรับมาใช้หรือเพิ่มเติม ในกฎหมายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย เพื่อยกระดับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในประเทศให้มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจรวมถึงมาตรการควบคุมมลพิษ การจัดการของเสีย การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ หรือกลไกทางเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

"การศึกษาดูงานและประชุมทวิภาคีในครั้งนี้จึงไม่เพียงแต่เป็นการเรียนรู้เทคโนโลยีและแนวปฏิบัติที่ดี แต่ยังเป็นการนำบทเรียนจากการเจรจาและกรอบกฎหมายระหว่างประเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนและวางรากฐานการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนของประเทศไทยในระยะยาว" นายชีวะภาพกล่าวทิ้งท้าย

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

‘วิโรจน์’ เย้ยพรรคเพื่อไทยเลื่อน ‘กฎหมายเอนเตอร์เทนเมนต์ฯ’ ไม่เป็นท่า

35 นาทีที่แล้ว

ล้อหมุนแล้ว BMA Feeder เส้นทางใหม่ ‘พิพิธภัณฑ์เด็กฯ (จตุจักร) BTS หมอชิต’

36 นาทีที่แล้ว

อดีตโค้ชช้างศึก ชู ‘โค้ชวัง’ เหมาะคุมชุด 23 ปี-ชี้เป้านักเตะกำลังสำคัญ

46 นาทีที่แล้ว

‘วิโรจน์’ ย้ำพรรคประชาชนพร้อมโหวต ‘นายกฯ ชั่วคราว’ ใครก็ได้ที่รับเงื่อนไข

49 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสังคมอื่น ๆ

คุณพระช่วยจริง ๆ! เจ้าบุญรอดติดเหล็กดัด จนพระต้องรีบช่วย

สยามนิวส์

ด่วน! สทนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำหลาก ดินโคลนถล่ม 6-12 ก.ค. นี้

สยามนิวส์

คุณแม่ช็อก ลูกเป็นภูมิแพ้หนัก ที่แท้ต้นตออยู่ในตู้เสื้อผ้า

สยามนิวส์

ฮุน เซน หนุนแก้กฎหมายเพิกถอนสัญชาติผู้คิดทรยศ ลั่นแรง ไม่ใช่เผด็จการแต่เป็นมาตรฐานสากล

สยามนิวส์

ราคาน้ำมันพรุ่งนี้2568 (6 ก.ค. 68) บางจาก ปตท. อัปเดตราคาล่าสุด

ฐานเศรษฐกิจ

เปิดประตูสู่จักรวาล! ยลโฉม 77 สาวงามมิสยูนิเวิร์ส ไทยแลนด์ 2025

MATICHON ONLINE
วิดีโอ

สาวคาใจ หอบทองต่างชาติ เก่าแก่ 22 ปี ถามร้านทอง อยากรู้แท้ไหม รู้ราคาขนลุกทั้งตัว!

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

"กรมสมเด็จพระเทพฯ" ทรงห่วงใย ทหารชายแดนไทย-กัมพูชา พระราชทานพระให้ มทภ.2 นำไปแจกจ่ายทหารทุกคน

สวพ.FM91

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...