5O ปีตลาดทุนไทย เดินหน้าสร้างโอกาสและทางเลือกในการลงทุน
ใช้แรงทำเงิน& ให้เงินทำงาน กดSubscribe รอเลย…
Youtube | Facebook | TikTok | Instagram | Line
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในงานสัมมนา “Legacy & Future : 50 Years of Thai Capital Market” ว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เริ่มต้นจากบริษัทจดทะเบียนเพียง 8 แห่งในปี 2518 วันนี้เติบโตเป็นกว่า 800 บริษัท ระดมทุนได้กว่า 6 ล้านล้านบาท กลายเป็นแหล่งทุนสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
สิ่งสำคัญที่อยากเห็นจากนี้ คือการฟื้นฟู ความเชื่อมั่น (Trust and Confidence) ผ่านการส่งเสริมผู้ระดมทุน พัฒนาผลิตภัณฑ์ลงทุน ยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน และปรับกฎเกณฑ์ให้เอื้อต่อการลงทุน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงโอกาสลงทุนอย่างรอบรู้ และได้รับผลตอบแทนที่ดีและยั่งยืนในระยะยาว
ด้านนายอัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตลอด 5 ทศวรรษที่ผ่านมา การที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งเป็นหนึ่งในเสาหลักของเศรษฐกิจไทย เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน แม้อีก 50 ปีข้างหน้าอาจมีความท้าทายมากขึ้น แต่วันนี้เรามีความตั้งใจร่วมกันที่จะพัฒนาตลาดทุนไทย ให้เป็นแหล่งสร้างโอกาสแก่ประชาชนและนักลงทุน พร้อมเสริมศักยภาพให้บริษัทเข้าถึงทุนที่เหมาะสมและเติบโตไปกับเศรษฐกิจไทยอย่างมั่นคง
The Legacy: “มองอดีต สร้างอนาคต บรรษัทภิบาลไทย”
ดร. ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คนที่ 16 กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจในช่วงดำรงตำแหน่งจะเอื้ออำนวย แต่สิ่งสำคัญคือการสร้างเสถียรภาพระบบตลาด ใน 2 ด้านหลัก คือ (1) การดูแลระบบตลาดให้มีความมั่นคงระบบตลาด ผ่านระบบ FinNet เพื่อลดธุรกรรม (Transaction) ระหว่างลูกค้าและบริษัทหลักทรัพย์ และ (2) พัฒนาระบบจัดการความเสี่ยง (Risk Management) ด้วยความร่วมมือระหว่าง ตลาดหลักทรัพย์ฯ ก.ล.ต. และ ธปท. เพื่อเชื่อมข้อมูลลูกค้า ประเมินความเสี่ยง และป้องกันปัญหาผิดนัดชำระหนี้ตั๋ว B/E ที่อาจกระทบตลาดตราสารหนี้
ดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คนที่ 17 (พ.ศ. 2564-2567) กล่าวว่ารูปแบบตลาดทุนในอนาคตที่เหมาะสมกับธุรกิจต่างๆ อาจไม่ใช่รูปแบบที่คุ้นเคยกันในปัจจุบัน ต้องคิดสิ่งใหม่ที่ไม่แพ้คนในยุค 200 ปีที่ผ่านมาที่คิดตั้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ขึ้น พร้อมย้ำบทเรียนสำคัญจากเหตุการณ์ STARK และ MORE ว่า “ธรรมาภิบาล” และ “การบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็ง” คือสิ่งสำคัญ
ศ.กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่าในช่วงของการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ สิ่งที่ทำอยู่และจะทำต่อไปคือ การสร้าง Trust and Confidence ให้กับตลาดทุนไทย ผ่านการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบให้มีประสิทธิภาพ ยุติธรรม และบังคับใช้ได้จริง พร้อมกันนี้ ยังเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการ TISA (Thailand Individual Saving Account) เพื่อส่งเสริมการลงทุนระยะยาวของคนไทย และนำ AI มาใช้ในการวิจัยและเปิดเผยข้อมูล เพื่อยกระดับตลาดทุนให้ทันสมัยและโปร่งใส
The Future: “SET NEXT 50” อนาคตตลาดทุนไทยในครึ่งศตวรรษหน้า
ในโลกที่เปลี่ยนเร็วและซับซ้อนขึ้น ทั้งสงคราม เทคโนโลยี และสังคมสูงวัย การมีตลาดทุน “แบบเดิม” อาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป
ดร. สันติธาร เสถียรไทย นักยุทธศาสตร์แห่งอนาคต และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เสนอภาพอนาคตที่ตลาดทุนต้องเป็น “สะพาน” สู่อนาคต สำหรับ (1) Future ลงทุนเพื่อ (ธุรกิจ) อนาคตได้ (2) Trust และ Equity Culture ปกป้องนักลงทุนรายเล็ก และ (3) Access การเข้าถึงที่ต้นทุนต่ำ โดยเฉพาะในโลกที่มี
ดร. ชาริกา ชาญนันทพิพัฒน์ นักวิชาการด้านการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) บอกว่า วันนี้ เราจำเป็นต้อง “Rethink the Boundaries” หรือทบทวนขอบเขตบทบาทของตลาดทุนใหม่ทั้งหมด โดยเฉพาะใน 5 ด้านสำคัญ คือ (1) Accountability: ความรับผิดชอบของธุรกิจต้องลึกกว่าตัวเลข (2) Materiality: ความเสี่ยงใหม่ต้องถูกมองอย่างเป็นระบบ (3) Financing: เงินทุนควรไหลไปสู่สิ่งที่มีคุณค่าจริง (4) Skills: ตลาดทุนต้องมีคนที่เข้าใจ ESG แบบลึกซึ้ง และ (5) Data & Standards: ข้อมูลต้อง “ชี้ทาง” ไม่ใช่แค่เปิดเผย
นายนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และบรรณาธิการบริหาร THE STANDARD มองว่าตลาดทุนในอนาคตต้อง ไม่ใช่แค่ให้ข้อมูล (Inform) แต่ต้องจุดประกาย (Inspire) ด้วย (1) Trust โปร่งใส มีข้อมูลที่จับต้องได้ (2) Ownership ความรู้สึกเป็นเจ้าของผ่านการมีตัวตน และการมีส่วนร่วม และ (3) Market for All ทำให้ทุกคนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง
ตลาดทุนไทยในอนาคตไม่ใช่เพียงตลาดซื้อขายแต่คือโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมที่ต้องเชื่อมโยงผู้คนเทคโนโลยีและความยั่งยืนเข้าด้วยกันเป็น“ตลาดของทุกคน” ที่ให้โอกาสเข้าถึงได้และช่วยสร้างอนาคตของประเทศ