ปค. สรุปยอดพลเรือนเสียชีวิต 13 ราย เจ็บ 31 ราย จากสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา
กรมการปกครอง สรุปสถานการณ์ชายแดน เมื่อช่วงเช้าเวลา 04.30 น. มีเสียงปืนจากฝั่งกัมพูชา ก่อนที่ 8 โมง จะเปิดฉากยิงจรวด BM-21 ใส่ปราสาทตาเมือนธม ส่วนยอดพลเรือนเสียชีวิตยังอยู่ที่ 13 ราย บาดเจ็บ รวม 31 ราย
วันที่ 27 กรกฎาคม 2568 กรมการปกครองสรุปสถานการณ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา โดยมีไทม์ไลน์ดังนี้
เวลา 04.30 น. รับรายงานได้ยินเสียงปืนจากฝั่งกัมพูชา ปราสาทตาควาย อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์
เวลา 04.40 น. และเวลา 06.00 น. รับรายงานได้ยินเสียงใหญ่จากฝั่งกัมพูชา ปราสาทตาควาย อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์
เวลา 06.40 น. กระสุนปืนใหญ่จากฝั่งกัมพูชาตกใส่บ้านประชาชนใน อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ได้รับความเสียหาย ยังไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต
เวลา 08.00 น. กองทัพกัมพูชาเริ่มเปิดฉากยิงจรวด BM-21 เข้าใส่ปราสาทตาเมือนธม อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์
ตัวเลขผู้เสียชีวิต (พลเรือน) ยอดสะสม 13 ราย (24-27 กรกฎาคม 2568)
- จ.ศรีสะเกษ 8 ราย
- จ.สุรินทร์ 4 ราย
- จ.อุบลราชธานี 1 ราย
ตัวเลขผู้บาดเจ็บ รวม 31 ราย (24-27 กรกฎาคม 2568)
- จ.ศรีสะเกษ 15 ราย
- จ.สุรินทร์ 11 ราย
- จ.อุบลราชธานี 3 ราย
- จ.บุรีรัมย์ 2 ราย
ยอดการอพยพสะสม รวมศูนย์พักพิง 489 แห่ง ผู้อพยพ 161,537 คน (24-26 กรกฎาคม 2568)
- จ.ศรีสะเกษ
ศูนย์พักพิง 265 แห่ง
ผู้อพยพ 62,691 คน
- จ.สุรินทร์
ศูนย์พักพิง 122 แห่ง
ผู้อพยพ 53,312 คน
- จ.อุบลราชธานี
ศูนย์พักพิง 68 แห่ง
ผู้อพยพ 17,426 คน
- จ.บุรีรัมย์
ศูนย์พักพิง 1 แห่ง
ผู้อพยพ 20,159 คน
จ.สระแก้ว
ศูนย์พักพิง 15 แห่ง
ผู้อพยพ 3,854 คน
- จ.ตราด
ศูนย์พักพิง 15 แห่ง
ผู้อพยพ 3,786 คน
- จันทบุรี
ศูนย์พักพิง 3 แห่ง
ผู้อพยพ 309 คน
1. ปรับแผนสั่งใช้สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน
จังหวัดชายแดน 7 จังหวัด ให้แจ้งจังหวัดพิจารณาปรับแผนการสั่งการใช้ในภาพรวมของจังหวัด โดยพิจารณาปรับกำลังพลมาสนับสนุนภารกิจในพื้นที่ชายแดน
ให้ สน.อส. พิจารณาความจำเป็น หากต้องมีการนำกำลังพลจากจังหวัดตอนในไปสนับสนุนจังหวัดชายแดนหรืออำเภอชายแดน ให้เตรียมแผนดำเนินการภายในวันที่ 30 กรกฎาคมนี้
2. เตรียมความพร้อมศูนย์พักพิง/ศูนย์อพยพในพื้นที่ชายแดน เร่งดำเนินการสำรวจตรวจสอบอำเภอต่างๆ ในการเตรียมความพร้อม
3. สำรวจความพร้อมของยุทโธปกรณ์และยุทธภัณฑ์ที่มีอยู่ในพื้นที่ของกำลังพล อส. และ ชรบ.
4. ธำรงการสื่อสาร และตรวจสอบความพร้อมให้ใช้งานได้ตลอดเวลา รองรับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ตลอดเวลา
5. รวบรวมความต้องการใช้งบประมาณในพื้นที่ชายแดน โดยพิจารณาจัดสรรงบประมาณหรือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเร่งด่วน
6. ติดตาม เผยแพร่ผลการปฏิบัติงานของฝ่ายปกครองอย่างต่อเนื่อง หากมีข้อสำคัญเร่งด่วน ใช้เพจกรมการปกครองในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หลัก
7. เร่งลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชาอย่างใกล้ชิด ตามแนวทางการพิทักษ์พื้นที่ส่วนหลัง
ในส่วนของการดำเนินการของ ปค. จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจบริหารสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา กรมการปกครอง (ส่วนหน้า จันทบุรี) หรือ ศบ.ทก.ปค. ส่วนหน้า จันทบุรี ณ ศูนย์สื่อสารกรมการปกครองเขต 5 (จันทบุรี) จังหวัดจันทบุรี เป็นสถานที่ปฏิบัติการชั่วคราว