โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

Burnout ไม่ใช่เรื่องเล็ก เช็กตัวเองว่ายังไหวหรือควรพัก !

Beauty Hunter

อัพเดต 28 มิ.ย. เวลา 18.30 น. • เผยแพร่ 28 มิ.ย. เวลา 18.30 น.
Burnout ไม่ใช่เรื่องเล็ก เช็กตัวเองว่ายังไหวหรือควรพัก !

“เหนื่อยจนไม่รู้จะเหนื่อยยังไงแล้ว…” ถ้าคุณรู้สึกแบบนี้อยู่บ่อยครั้ง อาจไม่ใช่แค่ ‘ล้า’ จากการทำงานทั่วไป แต่อาจเป็นสัญญาณของ Burnout Syndrome หรือ “ภาวะหมดไฟในการทำงาน” ที่องค์กรอนามัยโลก (WHO) จัดให้เป็นภาวะทางสุขภาพจิตอย่างหนึ่งที่ควรได้รับการดูแลอย่างจริงจัง

Burnout คืออะไร ? (นิยามทางการแพทย์)

Burnout Syndrome คืออาการทางจิตใจที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในที่ทำงาน จนร่างกายและจิตใจเข้าสู่สภาวะหมดพลัง ไม่สามารถฟื้นตัวได้ด้วยการเที่ยวหรือพักผ่อนตามปกติ หรือว่าง่าย ๆ คืออาการเครียดสะสมจากความ Toxic ในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นความเหนื่อยหน่ายจากปริมาณงาน เนื้องานที่ไม่สนุกหรือจูงใจ หรือบรรยากาศภายในจากเพื่อนร่วมงานที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานต่อ ทั้งหมดล้วนส่งผลให้เกิดอาการหมดไฟหรือ Burnout ได้ทั้งนั้นไม่ว่าคุณจะเป็นคนเก็บตัวหรือสนุกสนานร่าเริงสักแค่ไหนก็ตาม

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุไว้ใน ICD-11 (ระบบจำแนกโรคสากล) ว่า Burnout มีลักษณะ 3 ด้านหลักคือ

  • รู้สึกเหนื่อยล้าอย่างรุนแรง (Extreme exhaustion)
  • รู้สึกห่างเหินหรือไม่มีความสุขกับงานที่ทำ (Cynicism / Negative attitude toward job)
  • ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง (Reduced professional efficacy)

⚠️ สาเหตุของ Burnout

Burnout ไม่ได้เกิดจาก “ความขี้เกียจ” แต่เกิดจากหลายปัจจัยที่สะสมต่อเนื่อง เกิดจากภาวะความเครียดที่สะสมมาจากเหตุการณ์รอบ ๆ ตัวในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะจากการทำงานในแต่ละวันที่ต้องเจอทั้งความกดดัน ความ Toxic ความซ้ำซากจำเจของปัญญาที่แก้ไม่ได้สรุปง่าย ๆ ได้ตามนี้

สภาพแวดล้อมในการทำงาน:

  • ภาระงานมากเกินไป
  • ไม่สามารถควบคุมเวลาหรือหน้าที่ของตัวเองได้
  • ขาดการสนับสนุนจากหัวหน้า/เพื่อนร่วมงาน
  • บรรยากาศองค์กรที่ไม่เป็นมิตร / ไม่มีคำชื่นชม

ลักษณะนิสัยส่วนตัว:

  • เป็นคนเพอร์เฟกชันนิสต์ (ต้องเป๊ะเสมอ)
  • รู้สึกผิดถ้าขอความช่วยเหลือ
  • ขยันแบบไม่รู้จักหยุด (Overcommitment)
  • ยึดติดกับความสำเร็จเกินไป

วิธีสังเกตตัวเอง เรา Burnout แล้วหรือยัง?

ใครมีอาการแบบนี้ให้สงสัยตัวเองไว้ว่าเราอาจกำลังอยู่ในสภาวะ Burnout ยิ่งถ้าเจออาการเหล่านี้ติดต่อกันหลายสัปดาห์ เรียกได้ว่าควรเข้าพบเพื่อปรึกษาจิตแพทย์

ด้านร่างกาย

  • อ่อนเพลียแม้นอนพอ
  • ปวดหัวเรื้อรัง / ปวดกล้ามเนื้อ
  • ระบบย่อยอาหารแย่ลง
  • นอนไม่หลับ หรือนอนเยอะเกิ

ด้านอารมณ์

  • ไม่มีแรงจูงใจ
  • รู้สึกเบื่อ หงุดหงิดง่าย
  • มองโลกในแง่ร้าย
  • รู้สึกโดดเดี่ยวหรือหมดความหมาย

ด้านพฤติกรรม

  • ผลัดวันประกันพรุ่ง
  • ขาดงานบ่อย / มาทำงานแต่ไม่ Productive
  • ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือกินหวานมากขึ้น
  • ตัดขาดจากกิจกรรมที่เคยชอบ

TIP: ลองสังเกตว่าอาการเหล่านี้เกิดจากแค่ “วันเหนื่อยๆ” หรือ “เรื้อรังจนกระทบชีวิต” ถ้าเป็นอย่างหลัง อาจถึงเวลาที่ต้องหาวิธีฟื้นฟู

วิธีบำบัดและดูแลตัวเองจากสภาวะ Burnout

  • พักแบบมีคุณภาพ (Quality Rest)

  • ไม่ใช่แค่หยุดงาน แต่คือการ “พักใจ”

  • หยุดเช็กเมล หยุดรู้สึกผิดกับการไม่ Productive

  • จัดช่วงเวลาว่างจริงๆ ที่ไม่ต้อง “ทำอะไรเลย”

  • จัดลำดับความสำคัญใหม่

  • แบ่งงานตามความสำคัญ + ความจำเป็น (ใช้ Eisenhower Matrix ก็ได้)

  • ฝึกพูดคำว่า “ไม่” กับงานที่เกินกำลัง

  • อย่าพยายามเป็นคนเก่งที่สุดในทุกเรื่อง

  • ใส่ใจกับ Self-Care

  • ออกกำลังกายแบบเบาๆ ช่วยเพิ่มสารเอนดอร์ฟิน

  • กินอาหารที่ดีต่อสมอง เช่น โอเมก้า 3, ผักผลไม้, โปรตีน

  • นอนให้เพียงพอ และมีเวลานอนที่ “แน่นอน”

  • กล้าที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

  • พูดคุยกับหัวหน้างานเกี่ยวกับการปรับภาระงาน

  • ขอคำปรึกษาจากนักจิตวิทยา หากรู้สึกควบคุมอารมณ์ไม่ได้

  • เช็กสิทธิ์ประกันสังคม/สวัสดิการบริษัท หากมีสายด่วนสุขภาพจิต

  • เปลี่ยนมุมมองเรื่อง “ความสำเร็จ”

  • เรียนรู้ว่า ‘ชีวิต’ สำคัญกว่า ‘งาน’ความสำเร็จที่แลกมาด้วยสุขภาพที่เสีย อาจไม่คุ้มค่าระยะยาว

  • นิยามใหม่ของคำว่า “เก่ง” อาจหมายถึง “รู้จักรักษาตัวเองให้ไหว”

ทิ้งท้าย: การพักไม่ใช่ความล้มเหลว

หลายคนกลัวว่าการยอมรับว่า “ไม่ไหว” จะถูกมองว่าไม่สู้แต่ความจริงคือ — คนที่กล้าหยุดเพื่อรักษาใจตัวเอง คือคนที่แข็งแรงที่สุด

ถ้าเจอใครถามว่า “ยังไหวมั้ย?”คุณไม่จำเป็นต้องตอบว่า “ไหว” ตลอดเวลาเพราะในวันที่ใจหมดไฟ การยอมพักอาจคือจุดเริ่มต้นของพลังใหม่ที่แท้จริง

แหล่งช่วยเหลือที่ติดต่อได้ทันที

  • สายด่วนสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต โทร. 1323 (ตลอด 24 ชม.)
  • คลินิกจิตเวชในโรงพยาบาลรัฐ (เช็กสิทธิ์บัตรทอง/ประกันสังคม)

จิตแพทย์ออนไลน์ ผ่านแอปฯ อย่าง Ooca, Aljit หรือแอปโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่ง

Beauty Hunter มีอีกหลายบทความที่น่าสนใจ ตามไปอ่านต่อกันเลยค่ะ

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Beauty Hunter

เปียกฝนแต่ผมไม่มอม ! 5 ไอเทมผมหอมเร่งด่วนที่ควรมีติดกระเป๋า

12 ชั่วโมงที่ผ่านมา

อัปเดต หนังไทยเข้าโรงน่าดู ครึ่งปีหลัง 2568

21 ก.ค. เวลา 09.39 น.

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

Johnny Depp พูดถึงช่วงเวลาอบอุ่นเมื่อครั้งที่เลี้ยงดูลูก Lily-Rose และ Jack ในฝรั่งเศส

THE STANDARD
18
+

กระเทียมวัตถุดิบคู่ครัว แบบไหนควรกิน แบบไหนควรทิ้ง!

sanook.com

ชวนรู้จัก โรคกลัวตกกระแส อาการวิตกในโลกออนไลน์ เสพติดการยอมรับจากผู้อื่น

SpringNews

พระราชหฤทัยเปี่ยมเมตตา 10 เรื่องราวน่าประทับใจของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

Manager Online

สยามพิวรรธน์ ร่วมส่งแรงใจให้เหล่าทหารกล้าและพี่น้องชาวไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์พื้นที่ชายแดน

สยามรัฐ

พระนเรศวรบุกเขมร พระเจ้ากรุงละแวกส่งทูตไป “หมู่เกาะฟิลิปปินส์” ขอสเปนช่วยรบอยุธยา

ศิลปวัฒนธรรม

ชวนชอป 'โครงการหลวง' น้ำพระราชหฤทัย.. จากฟ้าสู่มหานคร วันที่ 1-12 ส.ค. 68

กรุงเทพธุรกิจ

ภาพยนตร์ Hacksaw Ridge สาส์นต่อต้านความรุนแรง ไปสงครามเพื่อช่วยชีวิตคน

SpringNews

ข่าวและบทความยอดนิยม

9 วัดเวียนเทียนในกรุงเทพฯ ใกล้รถไฟฟ้า ในวันอาสาฬหบูชา

Beauty Hunter

10 สเปรย์ล็อกเมคอัพ ตัวดัง ราคาน่ารัก ฝนเทก็ยังสวยเป๊ะไม่มีหน้าหลุด!

Beauty Hunter

Burnout ไม่ใช่เรื่องเล็ก เช็กตัวเองว่ายังไหวหรือควรพัก !

Beauty Hunter
ดูเพิ่ม
Loading...