โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

นักวิชาการ หนุนรัฐใช้กฎกระทรวงคุมเข้มการเงินวัด ตรงจุด ต้นตอศรัทธาสั่นคลอน

The Reporters

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นักวิชาการธรรมศาสตร์ หนุนรัฐใช้กฎกระทรวงคุมเข้มการเงินวัด ระบุตรงจุดปัญหาต้นตอศรัทธาสั่นคลอน เผยพระชั้นผู้ใหญ่เปรียบเหมือนเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง มีอำนาจมีเงินเดือน แต่ ป.ป.ช. ตรวจสอบไม่ได้ ระบุไทยมีกฎหมายคุมวัดถือเงินสดได้ไม่เกิน 1 แสน และต้องทำบัญชีรายรับ-จ่ายรายปี ตั้งแต่ 2564 แล้ว

สืบเนื่องจากกรณีที่ นายสุชาติ ตันเจริญ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าจะมีการนำกฎกระทรวงที่ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ได้จัดทำไว้แล้วมาบังคับใช้ โดยกำหนดให้วัดนำเงินรายได้ฝากเข้าบัญชีธนาคารในนามของวัด ควบคู่กับการจำกัดไม่ให้วัดถือเงินสดในวงเงินเกิน 1 แสนบาท และต้องทำบัญชีรายรับ รายจ่าย เพื่อรายงานต่อ พศ. ซึ่งจะดำเนินการตั้งแต่ 1 ตุลาคม 68 เป็นต้นไปน ขณะเดียวกันจะมีการเร่งร่างกฎหมายฉบับใหม่ เพื่อเพิ่มบทลงโทษทางอาญากับพระสงฆ์ที่กระทำผิดวินัยร้ายแรง เช่น กรณีเสพเมถุน ให้รับโทษทั้งจำคุกและปรับ

ผศ. ดร.กริช ภูญียามา อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า เห็นด้วยกับการออกประกาศบังคับใช้กฎกระทรวง เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายของวัด ถือเป็นแนวทางที่แก้ปัญหาได้ตรงจุด เพราะจะเห็นได้ว่าพระสงฆ์ที่ปรากฏเป็นข่าวในขณะนี้ล้วนเป็นพระระดับชั้นผู้ใหญ่ทั้งสิ้น ซึ่งมีต้นตอมาจากความไม่โปร่งใสในระบบการจัดการทรัพย์สินของวัดที่พระชั้นผู้ใหญ่มีอำนาจและสามารถเข้าถึงการบริหารจัดการทรัพย์สินโดยไม่มีการตรวจสอบ

ผศ. ดร.กริช กล่าวว่า การออกกฎกระทรวงฯ เพื่อควบคุมเงินวัดนั้นสามารถทำได้ เนื่องจากวัดในพระพุทธศาสนามีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน ขณะที่พระสังฆาธิการ หรือ พระที่ดำรงตำแหน่งทางปกครองในคณะสงฆ์ ตั้งแต่ระดับเจ้าอาวาสไล่ขึ้นไปจนถึงสมเด็จพระสังฆราช พิจารณาในทางหลักการแล้ว ตำแหน่งเหล่านี้มิได้มีลักษณะแตกต่างจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในฝ่ายบ้านเมืองเลย เนื่องจากผู้ดำรงตำแหน่งเช่นว่านั้นต่างได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนจากรัฐที่เรียกว่า “นิตยภัต” ซึ่งมาจากงบประมาณแผ่นดินโดยตรง และประการสำคัญคือมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จะให้คุณให้โทษในเรื่องต่างๆ ได้อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันแล้ว กลับยังมีความไม่ชัดเจนบางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ทั้งนี้ เพราะคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตีความว่าพระไม่ถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมาย ป.ป.ช. ส่งผลให้กระบวนการยื่นบัญชีและการตวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินตามกฎหมายดังกล่าว ไม่อาจนำมาใช้กับบรรดาพระสังฆาธิการเหล่านี้ได้

ผศ. ดร.กริช กล่าวว่า เมื่อศึกษาข้อกฎหมายแล้วพบว่า กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมทรัพย์สินของวัดนั้นมีอยู่แล้ว นั่นคือ “กฎกระทรวงการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด พ.ศ. 2564” ซึ่งระบุชัดเจนว่า วัดทุกแห่งสามารถเก็บเงินสดไว้ได้ไม่เกิน 1 แสนบาท ส่วนที่เหลือจะต้องนำฝากเข้าบัญชีธนาคารที่เปิดในนามของวัดนอกจากนี้กฎกระทรวงฉบับเดียวกันยังระบุให้วัดทุกแห่งต้องจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และต้องสรุปยอดรวมพร้อมคงเหลือในทุกสิ้นปีปฏิทินอีกด้วย

สำหรับการดำเนินงานตามกฎกระทรวงข้างต้น พศ. จะต้องเป็นหน่วยงานที่คอยให้คำแนะนำและตรวจสอบความถูกต้องในการปฏิบัติของวัดต่าง ๆโดยตามข้อ 10 ของกฎกระทรวงฉบับนี้กำหนดให้ พศ. เป็นผู้กำหนดแบบฟอร์มของบัญชี และแบบพิมพ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่วัดในด้านการจัดทำทะเบียน การดูแล และการบริหารจัดการศาสนสมบัติอย่างเป็นระบบ

นักวิชาการธรรมศาสตร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในขณะนี้สิ่งที่สมควรจับตามองคือแนวทางการจัดทำกฎหมายฉบับใหม่ในชื่อ “พ.ร.บ. การอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา” ซึ่งมีสาระสำคัญคือการบัญญัติโทษทางอาญาทั้งโทษปรับและโทษจำคุกแก่พระภิกษุและสีกาที่ร่วมเสพเมถุนจนต้องอาบัติปาราชิก วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำอีก ส่วนตัวมีข้อสังเกตว่า หากจะมีการออกกฎหมายเช่นนั้นจริงก็เป็นเรื่องที่จะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง โดยการบัญญัติกฎหมายที่มีโทษทางอาญาจะต้องใช้ถ้อยคำที่ชัดเจนปราศจากความคลุมเครือ เพราะโทษที่กฎหมายกำหนดไว้มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอย่างรุนแรง ทั้งนี้ มิพักต้องกล่าวถึงว่า ที่สุดแล้วประเด็นปัญหาซึ่งมีความพัวพันกับศีลธรรมอย่างมากเช่นนี้ สมควรถูกบัญัติให้เป็นความผิดทางอาญาหรือไม่

“ในความเห็นส่วนตัว ผมมองว่าการออกกฎหมายลงโทษพระที่มีความสัมพันธ์กับสีกานั้น แม้จะดูเหมือนเป็นการจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แต่ก็อาจเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะในหลายกรณี ต้นตอของปัญหาอยู่ที่ระบบการเงินของวัด ซึ่งเปิดช่องให้พระสังฆาธิการบริหารจัดการได้อย่างไม่มีกลไกการตรวจสอบที่เพียงพอ หากไม่แก้ไขเรื่องนี้ ปัญหาเดิมก็จะกลับมาอีก” ผศ. ดร.กริช กล่าว

ผศ. ดร.กริช กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากประเด็นการกำหนดโทษทางอาญาแก่พระภิกษุและสีกา ซึ่งกำลังอยู่ในความสนใจของผู้คนแล้ว พศ. ยังได้ใช้กระแสสังคมที่เกิดขึ้น ผลักดันให้มีการบัญญัติกฎหมายเอาผิดบุคคลซึ่งดูหมิ่น ล้อเลียน หรือบิดเบือนคำสอนของพระพุทธศาสนาไปในคราวเดียวกันด้วย ซึ่งประเด็นดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่น่ากังวล เนื่องจากบทกฎหมายเช่นนี้อาจกลายเป็นเครื่องมือในการ “ปิดปาก” สาธารณชนในการตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์ และให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับกิจการทางพระพุทธศาสนา ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนหลักความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในสังคมประชาธิปไตย

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The Reporters

กต.ออกแถลงการณ์ ประณามการใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ชี้ ละเมิดอธิปไตย

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘ธีระชัย’ เตือนหาตลาดแทนสหรัฐไม่ง่าย ชี้ภาษีทรัมป์กระทบส่งออกไทยกว่า 3 แสนล้าน

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ปภ.ประสาน 10 จังหวัดภาคกลาง-กทม. เฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ปภ. ระดมแผนรับมือพายุ ‘วิภา’ เตือน 22 จังหวัดเสี่ยงเตรียมพร้อมรับมือ

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

‘ทวี’ เปิดโครงการส่งเสริมทักษะด้านภาษาเพื่อการสื่อสารและจริยธรรมให้เยาวชนภูเก็ต

เดลินิวส์

กต.ออกแถลงการณ์ประท้วง ประณาม 'กัมพูชา' ในการใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล

VoiceTV

เขมรไม่ต้องเคลม! อ.ชาญวิทย์ พูดถึงต้นแบบที่มาอักษรในชาติย่านนี้

Khaosod

‘สส.คงกฤษ ’ร้องคมนาคม ปลดล๊อกแก้ปัญหา รถโดยสารประจำทาง จ.ระนอง

เดลินิวส์

‘วิสุทธิ์’ แย้ม ‘ทักษิณ’ ร่วมวงดินเนอร์พรรคร่วม 22 ก.ค.นี้

The Bangkok Insight

กต.ออกแถลงการณ์ ประณามการใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ชี้ ละเมิดอธิปไตย

The Reporters

ข่าวและบทความยอดนิยม