โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เผยชัดแล้ว "ผลเลือด" แบบไหน ปล่อยไว้เสี่ยงมะเร็งตับไม่รู้ตัว

TNews

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"หมอเจด" นพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา ได้ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า

ผลเลือดแบบไหนต้องระวัง?

ปล่อยไว้เสี่ยงมะเร็งตับไม่รู้ตัว !

หลายคนมีปัญหาเรื่องตับ ทั้งๆ ที่ไม่เคยรู้สึกเจ็บ ไม่ปวด ไม่เหนื่อย ไม่มีอาการอะไรเลย

ใช้ชีวิตปกติทุกวัน จนมารู้ตัวอีกทีตอนตรวจสุขภาพแล้วผลเลือดออกมาว่า

“ค่าตับสูง” หรือ “มีไขมันพอกตับแบบไม่รู้ตัว”

มันเลยไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่หลายคนจะชะล่าใจ

เพราะตับไม่ค่อยส่งสัญญาณออกมาให้รู้เหมือนอวัยวะอื่น

แต่จริงๆ แล้ว ผลเลือดบางค่าตรวจนั่นแหละ

คือสิ่งที่ตับกำลังพยายาม "บอกเรา" ว่าเริ่มมีบางอย่างผิดปกติแล้วนะ

วันนี้เราเลยอยากชวนมาสังเกตกันแบบง่ายๆ

ว่าผลตรวจเลือดที่คุณมีอยู่ในมือ ว่าเสี่ยงไขมะนพอกตับไหม

1. ค่าตับขึ้น (ALT, AST)

ALT กับ AST มันคือค่าเอนไซม์ในเลือดที่บอกว่า "เซลล์ตับเริ่มมีปัญหา" แล้วนะ

ปกติเจ้าเอนไซม์พวกนี้จะอยู่แต่ในเซลล์ตับ ถ้ามีเยอะในเลือด แปลว่าตับเริ่ม "รั่ว" หรือมีการอักเสบ

ถ้าเปิดผลเลือดแล้วเจอว่า…

•ALT มากกว่า 30-40 (แล้วแต่เพศ)

•AST มากกว่า ALT เยอะๆ

ให้เอะใจไว้ก่อนเลยว่า ตับอาจกำลังเหนื่อยอยู่

ถ้าค่านี้สูงขึ้นเรื่อยๆ หรือลงๆ ขึ้นๆ เรื้อรัง อันนี้สัญญาณที่เรา "ต้องเริ่มดูแลตับได้แล้วนะ"

และถ้าใคร ALT สูงมักเกี่ยวกับไขมันพอกตับ,

แต่ถ้า AST สูงกว่า ALT อย่างมีนัยยะ อาจบ่งถึงตับเริ่มมีพังผืดหรือเข้าสู่ระยะตับแข็ง

2. ไขมันในเลือดสูง

ค่าที่ผมอยากให้ลองสังเกตเวลาไปตรวจเลือดคือ Triglyceride กับ LDL (ไขมันเลว)

สองตัวนี้แหละ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการสะสมไขมันในตับ

ถ้าเรากินของทอด ของมัน ของหวานเป็นประจำ แล้วไม่ค่อยได้ขยับตัว ไม่ออกกำลังกาย

ไขมันในเลือดก็จะค่อยๆ สูงขึ้นแบบเงียบๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว

สุดท้าย ไขมันที่ล้นจากระบบเผาผลาญในร่างกาย ก็จะถูกเอาไปเก็บไว้ที่… “ตับ” นั่นแหละ

ลองเปิดผลเลือดของคุณดู ถ้า

•Triglyceride เกิน 150 mg/dL

•หรือ LDL เกิน 130 mg/dL

ก็แปลว่า ร่างกายเริ่มมีไขมันมากเกินไปแล้ว

และนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า “ไขมันกำลังไปสะสมในตับมากเกินพอดี”

ที่สำคัญ ไขมันในตับไม่ได้มาจากของมันอย่างเดียว

น้ำตาล แป้ง ขนมหวานต่างๆ ก็ก่อให้เกิดไขมันได้เหมือนกัน

เพราะเมื่อร่างกายใช้น้ำตาลไม่หมด มันจะเปลี่ยนเป็นไขมัน แล้วก็ส่งตรงไปที่ตับเลย

เพราะฉะนั้น ถ้าอยากให้ตับปลอดภัย ต้องระวังทั้ง "มัน" และ "หวาน" ไปพร้อมๆ กันนะครับ

เสริมอีกนิดนะถึงกินไม่มัน แต่ถ้ากินหวานเยอะ ร่างกายก็เปลี่ยนน้ำตาลเป็นไขมัน แล้วส่งไปสะสมที่ตับได้เหมือนกัน

3. น้ำตาลในเลือดสูง

หลายคนเข้าใจว่า “น้ำตาลในเลือดสูง = เบาหวาน” เท่านั้น

แต่จริงๆ แล้วก่อนจะไปถึงขั้นเบาหวาน ร่างกายเรามีระบบจัดการน้ำตาลแบบฉุกเฉิน

ซึ่งก็คือการ “เปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นไขมัน” แล้วเก็บไว้ในที่ที่มันถนัดที่สุด ก็คือ ตับ นั่นแหละ

ลองนึกภาพง่ายๆ ว่า เรากินหวานเข้าไปเยอะ อินซูลิน (ฮอร์โมนที่ช่วยนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์) ทำงานหนักมาก

ถ้าใช้น้ำตาลไม่ทัน น้ำตาลพวกนี้จะถูกเปลี่ยนเป็น “ไขมัน”

แล้วไขมันก็จะถูกนำไปเก็บไว้ที่ “ตับ” เป็นอันดับต้นๆ

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าน้ำตาลในเลือดเริ่มสูง?

ลองดู 2 ค่าหลักๆ จากผลเลือด:

•FBS (Fasting Blood Sugar) หรือค่าน้ำตาลตอนท้องว่าง

ถ้าเกิน 100 mg/dL = เริ่มมีภาวะดื้ออินซูลินแล้ว

•HbA1c (น้ำตาลสะสมในเลือดย้อนหลัง 3 เดือน)

ถ้าเกิน 5.7% = เสี่ยงเบาหวาน และบ่งชี้ว่าร่างกายมีน้ำตาลส่วนเกินอยู่ตลอดเวลา

แล้วมันเกี่ยวกับไขมันพอกตับยังไง?

ดื้ออินซูลิน คือรากของปัญหา

เมื่อเซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยลง น้ำตาลจะค้างอยู่ในกระแสเลือดเยอะขึ้น

ร่างกายเลย “จำเป็นต้องเก็บ” น้ำตาลพวกนี้ไว้ในรูปแบบไขมัน

และหนึ่งในที่เก็บหลักก็คือ ตับ → กลายเป็น ไขมันพอกตับ

4. ไขมันพอกตับ ยิ่งปล่อยไว้ยิ่งเสี่ยงมะเร็งตับ

ช่วงแรกๆ ไขมันพอกตับมักจะไม่แสดงอาการอะไรเลย

ไม่มีปวด ไม่เหนื่อย ไม่มีอะไรเตือนเลยซักนิด

หลายคนเลยคิดว่า "ไม่เป็นไรก็ไม่ต้องรักษาหรอก".อันนี้คือเข้าใจผิดเต็มๆ เลย

ถ้าปล่อยไว้นานๆ ตับจะเริ่มอักเสบแบบเรื้อรัง จากนั้นมันจะสร้างพังผืดขึ้นมา เหมือนแผลเป็น เพื่อซ่อมตัวเอง

แต่ยิ่งพังผืดเยอะ ตับยิ่งแข็ง และทำงานน้อยลง นี่แหละที่เรียกว่า "ตับแข็ง"

แล้วถ้ายังไม่รู้ตัวอีก ก็มีสิทธิ์ไปถึงขั้น "มะเร็งตับ" ได้เลย

5. แล้วเราจะป้องกันไขมันพอกตับได้ยังไงบ้าง?

ไม่ต้องรอให้ถึงขั้นตับแข็งถึงจะเริ่มดูแล

วิธีที่ผมอยากให้เริ่มทำตั้งแต่วันนี้เลยคือ

ลดแป้งและน้ำตาล

พวกขนม ข้าวขาว น้ำหวาน กาแฟใส่น้ำตาล = ของโปรดของไขมัน

เปลี่ยนมาเป็นข้าวกล้อง ผลไม้ไม่หวานจัด ดีกว่ามาก

ขยับร่างกายให้มากขึ้น

เดินเร็ว วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เลือกอะไรก็ได้ที่เราชอบ

แค่วันละ 30 นาที 4-5 วันต่อสัปดาห์ ก็ช่วยตับได้เยอะมากแล้ว

เปลี่ยนจากไขมันเลว → ไขมันดี

หลีกเลี่ยงของทอด ของมันๆ ใช้น้ำมันมะกอก หรือกินพวกปลาทะเลที่มีโอเมก้า-3 แทน

ตับจะได้ไม่ต้องเก็บไขมันส่วนเกินไว้เอง

คุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์

น้ำหนักตัวมีผลต่อการพอกไขมันในตับโดยตรง

ลดแค่ 5-10% ของน้ำหนักทั้งหมด ก็ช่วยให้ค่าตับดีขึ้นได้เลย

พักเบาๆ จากแอลกอฮอล์บ้าง

ไม่ต้องถึงกับงดตลอดชีวิต (เว้นแต่ตับจะอักเสบแล้วนะ)

แต่การพักช่วงละ 2-3 สัปดาห์ หรือจำกัดปริมาณ จะช่วยให้ตับฟื้นตัวได้ดีมาก

อาหารเสริมบางอย่างช่วยได้

เช่น วิตามิน E มีส่วนช่วยลดการอักเสบในตับ ส่วน Dandelion เป็นสมุนไพรที่ช่วยล้างพิษตับ

และโคลีน (Choline) เป็นอีกหนึ่งสารอาหารที่ช่วยลดไขมันสะสมในตับ

แต่อาหารเสริมไม่ควรแทนการปรับพฤติกรรมหลัก เช่น การลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย และควบคุมอาหาร

สรุปแบบนี้นะครับว่า บางครั้งถ้าเรามีปัญหาที่ตับ เราอาจจะไม่รู้ตัว

ถ้าพังขึ้นมา ชีวิตเปลี่ยนแน่ ถ้าเปิดผลเลือดดูแล้วเจอว่าค่าตับหรือไขมันในเลือดสูงนิดๆ อย่ารอ

เพราะแค่นิดๆ นี่แหละ คือจุดเริ่มของ "ไขมันพอกตับ" ที่พอรู้ตัวอีกที อาจสายไปแล้ว

และเสี่ยงมะเร็งตับด้วย ใครมีคำถามคอมเมนต์ได้เลยนะครับ

เผยชัดแล้ว ผลเลือด แบบไหน ปล่อยไว้เสี่ยงมะเร็งตับไม่รู้ตัว
ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNews

3 ราศี ต้องระวังเรื่องสุขภาพ ในเดือนกรกฎาคม 2568 นี้ มีรายละเอียด

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ประกาศสำคัญ งดเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชฯ ช่วงเข้าพรรษาปีนี้

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เฝ้าระวัง 6-12 ก.ค. ทั่วไทยระวัง น้ำหลาก-ดินถล่ม เตรียมรับมือ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

2 ราศีนี้ดวงดีเกินคาด พร้อมเปิดประตูรับบุญ เสริมดวงให้ปัง

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

วิดีโอ

ชื่นชม หนูน้อยคนเก่ง อายุ 2 ขวบ พูดชัด ประสมคำเองได้ พ่อแม่น้องตั้งใจสอนมาก

BRIGHTTV.CO.TH

พวงทอง ย้ำสิ่งสำคัญ ไม่มีทางได้นักการเมืองดี 100% แต่พรรคส้ม ต้องกล้าลงโทษคนผิด

TOJO NEWS
วิดีโอ

จับเครือข่ายคอลเซนเตอร์ "กองร้อยปอยเปต" หลังหนีกลับประเทศ

Thai PBS

ทช.ตรวจเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลภาคใต้ จ.เพชรบุรี

สำนักข่าวไทย Online

หมอสุรัตน์ เตือน อย่ามองข้าม! อาการเหล่านี้ ถ้าไม่อยากตื่นมาเป็นอัมพาต

TOJO NEWS

กต.ชี้แจง กรณีกัมพูชาส่งหนังสือถึง UN ดันปมชายแดนสู่ศาลโลก ยันไทยตอบกลับข้อเท็จจริงแล้ว

TNN ช่อง16

ภูมิต้านภัย : Cyberstalking ภัยเงียบโลกออนไลน์

สำนักข่าวไทย Online
วิดีโอ

ปัญหาที่มากกว่า “ลงทะเบียน” โครงการของรัฐ

Thai PBS

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...