โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ทำไมเราถึงเลือกทางผิดซ้ำๆ ทั้งที่เคยมีบทเรียนกับมันมาแล้วนับไม่ถ้วน

The MATTER

อัพเดต 08 ก.ค. เวลา 07.20 น. • เผยแพร่ 19 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Lifestyle

ครั้งที่แล้วก็ไม่เป็นไร แต่ครั้งนี้นี่ไม่ควรละ

หลายคนคงเคยเจอเหตุการณ์เหล่านี้ เช่น รู้ทั้งรู้ว่าร้านอาหารนี้ไม่ถูกปาก แต่พอหิวทีไรก็เผลอสั่งอาหารร้านนี้มาทานทุกที หรือทั้งๆ ที่รู้ว่าตัวเองนอนเร็ว แต่ก็ยังชอบเก็บงานไว้ทำตอนกลางคืนจนพาลให้ตัวเองต้องอดหลับอดนอน นี่ยังไม่นับความผิดพลาดครั้งใหญ่ อย่างการเลือกคนผิดซ้ำๆ คนก่อนนิสัยแย่ยังไง เราก็ยังจะเลือกคนนิสัยแบบเดิมอยู่อย่างนั้น

ใครๆ ก็บอกว่าความผิดพลาดเป็นบทเรียน ผิดครั้งนี้ไม่เป็นไร ครั้งหน้าเริ่มต้นใหม่ได้เสมอ แต่พอเอาเข้าจริง จากที่คิดไว้ดิบดีว่าครั้งต่อไปจะไม่พลาดอีกแน่ๆ ไม่รู้อะไรมาดลใจให้สุดท้ายเราก็กลับไปเลือกทางผิดๆ เหมือนคำว่าเข็ดหลาบไม่มีความหมายในพจนานุกรมมาก่อน

อะไรทำให้คนเราเลือกทางที่ผิด ทั้งที่เคยมีบทเรียนมาก่อน วันนี้เราชวนไปเข้าใจเหตุผลเบื้องหลังทางเลือกที่ผิดพลาดนี้กัน แล้วมีทางไหนบ้างที่ทำให้เราไม่ต้องตัดสินใจซ้ำสอง

เพราะเป็นมนุษย์เลยทำผิดพลาด

‘มนุษย์มักทำผิดพลาด’ ไม่ใช่คำพูดแก้เกี้ยวตอนเราเผลอทำอะไรผิดพลาดเท่านั้นนะ แต่ในความจริงต่อให้เราระวังตัวแค่ไหน หรือวาดภาพว่าตัวเองจะทำได้อย่างไร้ที่ติอย่างไร สุดท้ายความผิดพลาดก็ยังเคาะประตูมาทักทายได้เสมอ ยืนยันได้จากงานวิจัยหลายชิ้น ที่อธิบายว่าคนเราอาจไม่สามารถเรียนรู้จากความผิดพลาดได้ดีอย่างที่คิด

เราอาจต้องย้ำให้เข้าใจตรงกันอีกหน่อยว่า ความผิดพลาดที่พูดถึง ไม่ใช่เรื่องที่คอขาดบาดตายที่หาทางเลี่ยงได้ในอนาคต อย่างเช่น เอามือแตะเตารีดแล้วร้อน หรือสะดุดล้มที่เดิมซ้ำๆ แน่นอนว่าเรื่องเหล่านี้ถ้าเราทำพลาดไปแล้ว ครั้งต่อไปเราจะระวังตัวมากขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่ความผิดพลาดเรื่องเดิมๆ ที่สร้างปัญหาให้เรา คือ นิสัยทั่วไปที่แก้ยังไงก็ไม่หายสักที เช่น มาสายเป็นประจำ เลือกทางผิดซ้ำๆ หรือผัดวันประกันพรุ่งบ่อยๆ ทั้งๆ ที่รู้ว่าทำแล้วผลที่ตามมาจะเป็นยังไง แต่เราก็ยังเลือกที่จะทำมันอยู่ทุกครั้งไป

ส่วนเหตุผลที่เรามักตัดสินใจพลาดซ้ำๆ ปรากญา อการ์วัล (Pragya Agarwal) นักพฤติกรรมศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล อธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า ที่คนเรามักทำพลาดเรื่องเดิมๆ มาจากการประมวลผลของสมองมักสร้างทางลัด (heuristics) ขึ้นมา เพื่อช่วยให้เราตัดสินใจได้เร็วขึ้น

เธอเคยเขียนถึงเรื่องนี้ในหนังสือของตัวเอง ชื่อ Sway: Unraveling Unconscious Bias โดยระบุเพิ่มว่าแม้เราจะอยากเชื่อว่ามนุษย์มักใช้เหตุผลได้ดีแค่ไหน แต่ความจริงอาจไม่ใช่อย่างนั้นเสมอไป เพราะข้อมูลที่มากเกินไป จะทำให้สมองเหนื่อยล้าและสับสนมากขึ้น ดังนั้นเราจึงมักกรองส่วนที่คิดว่าไม่จำเป็นออกไป จนเหลือเพียงรูปแบบการประมวลผลที่เราเคยใช้ซ้ำๆ เพื่อให้เราไม่ต้องเสียพลังงาน คิดใหม่ทุกครั้งที่เจอเหตุการณ์แบบเดียวกัน

พูดง่ายๆ ว่า สมองเราไม่ได้สนใจว่าสิ่งที่เราเลือกจะเป็นทางที่ผิดพลาดหรือเปล่า แต่ถ้าพฤติกรรมนี้เคยทำมาแล้ว จะทำใหม่อีกครั้งก็ไม่เสียหายนี่นา อย่างน้อยก็ช่วยประหยัดเวลาประมวลผล ทำให้หลายครั้งเราเลยด่วนตัดสินใจ แล้วลงเอยก็ทำพลาดแบบเดิมๆ

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Consumer Psychology ปี 2016 เกี่ยวกับการควบคุมตัวเองด้วยการนึกถึงเหตุการณ์ในอดีต งานนี้ได้ทำการทดลองโดยแบ่งคนเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่ง ให้นึกถึงเรื่องที่เคยผิดพลาด ที่ตัวเองไม่สามารถควบคุมความอยากของตัวเองได้ กับอีกกลุ่มนึกถึงเรื่องที่ตัวเองสามารถควบคุมความต้องการสำเร็จ จากนั้นผู้เข้าร่วมจะต้องตอบคำถามว่า หากจะต้องซื้อของที่อยากได้จะยอมเป็นหนี้บัตรเครดิตไหม

หากเป็นไปตามความเข้าใจทั่วไป ถ้าคนเราเรียนรู้จากความผิดพลาดได้ กลุ่มคนที่นึกเรื่องความผิดพลาดในอดีต ก็น่าจะตอบว่าไม่อยากเป็นหนี้บัตรเครดิตอีก แต่ผลปรากฏว่า กลุ่มคนเหล่านี้ ไม่ว่ายังไงก็ยังเลือกที่จะเป็นหนี้บัตรเครดิต หรืออีกนัยหนึ่งคือเลือกที่จะทำผิดอีก จำนวนพอๆ กับกลุ่มคนที่จำเรื่องที่ตัวเองทำสำเร็จ ซึ่งงานนี้ก็สรุปไว้ว่าเสียงในหัวเราก็มีผลต่อพฤติกรรมไม่น้อยเลย

นอกจากผลสรุปที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว งานวิจัยนี้ยังช่วยยืนยันว่าสมองเรียนรู้จากความผิดพลาดจริงๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ตรงตามความหมายเป๊ะๆ นั่นคือไม่ได้เรียนรู้เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้น แต่เป็นการเรียนรู้เพื่อที่จะได้ทำผิดพลาดแบบเดิมต่างหาก นี่ก็แสดงให้เห็นว่าจริงๆ แล้วการมีบทเรียนในอดีต ไม่ได้การันตีสักนิดว่าในอนาคตเราจะตัดสินใจได้ดีขึ้น สุดท้ายเราก็อาจต้องยอมแพ้เสียงในหัว แล้วเลือกทางที่คุ้นเคยซ้ำๆ อยู่ดี

ทำยังไงถ้าไม่อยากผิดซ้ำๆ อีก

แม้ว่าจะอยากเลือกทางที่ดีขึ้นแค่ไหน แต่เพราะความเคยชินและบทเรียนครั้งก่อนไม่ได้ช่วยอะไร เลยทำให้เราตกหลุมรักคนใจร้ายอยู่วันยังค่ำ หรือยังทำนิสัยเดิมๆ ทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่ดีกับตัวเอง แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเลิกเลือกทางเดินผิดๆ ไม่ได้นะ

อันที่จริงนักวิทยาศาสตร์ก็เชื่อว่าเรามีวิธีแก้นิสัยเดิมๆ เหล่านี้อยู่ อย่าง อลิซ บอยส์ (Alice Boyes) นักจิตวิทยาสังคม ก็ได้แนะนำวิธีที่ทำให้เราไม่กลับไปทำผิดพลาดซ้ำๆ อีก ไว้ดังนี้

อย่าคิดเชียวว่าจะไม่ทำพลาดอีก (เพราะทำแน่)

เราอาจจะเคยเจอเหตุการณ์นี้ เช่น ทั้งๆ ที่ตั้งใจจะควบคุมอาหาร แต่ก็อดใจกินเค้กสตรอว์เบอร์รี่ชิ้นโตไม่ไหว จนเผลอเขมือบเข้าไปทั้งชิ้น ซึ่งหลังจากกินเข้าไปกินแล้วก็รู้สึกแย่มากๆ จึงคิดว่าครั้งต่อไปจะไม่กินอีกแน่ๆ แต่วันถัดไป เราก็ยังเลือกที่จะกินอยู่ดี พอรู้ตัวเราก็ยิ่งรู้สึกหมดกำลังใจ และโทษตัวเองว่าเราคงไม่สามารถทำได้แล้วละ กลายเป็นว่าเราเลือกที่จยอมแพ้ และกลับไปทำพฤติกรรมเดิมวนไปเรื่อยๆ

ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำว่าถ้าอยากจะเปลี่ยนนิสัย อย่าคิดว่าเราจะ ‘ไม่ทำ’ อีก เพราะจะทำให้เราไม่รู้ว่าถ้าทำไปแล้วเราจะหาทางออกยังไง แต่ให้ลองคิดว่า แล้วถ้าเราทำแบบนั้นอีกละ เราจะมีแผนรับมือยังไงบ้าง เพื่อทำให้ความผิดพลาดเบาลง หรือเกิดขึ้นน้อยลง

หาทางแก้เพื่อป้องกันไม่ให้ทำซ้ำอีก

หลังจากที่รู้แล้วว่าเราต้องทำแบบเดิมอีกแน่ๆ ให้ลองดูว่าตอนที่เราเลือกทางเลือกนั้นมักเกิดขึ้นในอารมณ์หรือบริบทไหน เพื่อหาทางป้องกันไว้ก่อน เช่น ถ้ารู้ว่าตัวเองกินเยอะตอนที่หิวมากๆ ก็อาจจะลองหาอะไรกินรองท้องเล็กๆ น้อยๆ ก่อนเพื่อไม่ให้หิวเกินไป หรือเลือกทำงานเล็กๆ ที่จบไวๆ ก่อนช่วงพักเที่ยง เพื่อไม่ให้งานลากยาวไปถึงบ่ายจนต้องหิวโซ อย่างไรก็ตาม วิธีที่เลือกใช้ ต้องเป็นวิธีที่เหมาะกับตัวเอง และใช้ได้จริงด้วยนะ เพราะถ้ายิ่งฝืนใจก็สุดท้ายก็อาจทำไม่สำเร็จก็ได้

นอกจากนี้อย่าลืมหาแผนสำรองหากวิธีแรกไม่ได้ผล เช่น คิดเมนูที่อยากกินไว้ก่อน ถ้าต้องกินตอนที่หิวโซจริงๆ จะกินแค่นี้นะ หรือชวนเพื่อนไปกินด้วย จะได้ช่วยๆ กันกิน หรือตัวอย่างอื่นๆ เช่น ถ้ารู้ว่าเราเป็นคนชอบลืมพกกระเป๋าตัง ก็อาจจะทิ้งเงินเล็กน้อยติดไว้ในรถ หรือในโทรศัพท์ อย่างน้อยถ้าเลี่ยงเหตุการณ์นี้ไม่ได้ ก็ยังมีทางที่ช่วยความเสียหายของเรื่องนี้ลงได้บ้าง

อย่าลืมแบ่งเวลาพัก

การใช้กลยุทธ์ใหม่เพื่อเปลี่ยนนิสัยเดิมๆ ฟังดูเหมือนง่าย แต่จริงๆ แล้วยากมากเลยนะ เพราะต้องใช้ทั้งการคิด การวางแผน ตัดสินใจ และลงมือทำ ไหนจะแก้ปัญหาเมื่อไม่เป็นตามที่หวังอีก ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้พลังงานทางจิตใจ หรือต้องต่อสู้กับอารมณ์ต่อต้านของตัวเองในช่วงแรกๆ ถ้ารู้สึกเหนื่อยล้าเมื่อไหร่ การเปลี่ยนพฤติกรรมก็ยิ่งยากเข้าไปอีก ดังนั้นไม่ต้องกดดันให้เปลี่ยนตัวเองตลอดเวลาก็ได้ ลองปล่อยให้ตัวเองได้พักสักวันสองวัน หรือเริ่มจากวิธีง่ายๆ ไปก่อน ถ้าพร้อมเมื่อไหร่ ค่อยลองวิธีที่ยากขึ้นนะ

ย้อนกลับไปดูต้นเหตุ

มีแนวคิดหนึ่งที่เรียกว่า ‘การตัดสินใจที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้อง’ (Seemingly Irrelevant Decisions) หมายถึง การตัดสินใจที่ดูเล็กน้อย แต่จริงๆ แล้วเป็นจุดเริ่มของความล้มเหลวในการควบคุมตัวเอง เช่น ตั้งใจสมัครคอร์สออกกำลังกายดีๆ เพื่อให้มีกำลังใจ แต่ดันเลือกยิมที่อยู่ไกลจากที่ทำงานมาก ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาไปบ่อยๆ จึงโทษว่าตัวเองไม่มีวินัยพอ ทั้งที่จริงเป็นเพราะเรื่องความสะดวกมากกว่า ดังนั้น อย่าเพิ่งคิดโทษตัวเอง เราอาจแค่ต้องกลับไปย้อนดูว่าอะไรทำให้เราต้องตัดสินใจแบบนี้เสมอ ซึ่งถ้าหากแก้ไขได้ เราก็อาจจะเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องอาศัยแรงฮึบของตัวเองตลอดเวลา

เพราะสิ่งที่สำคัญกว่าการเชื่อว่าตัวเองจะไม่พลาด คือเรามีวิธีเตรียมรับมือเมื่อต้องทำเรื่องผิดพลาดจริงๆ ได้ดีหรือเปล่า

อ้างอิงจาก

positive.news

theatlantic.com

sciencedirect.com

psychologytoday.com

Graphic Designer: Manita Boonyong
Editorial Staff: Runchana Siripraphasuk

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The MATTER

‘Speed Dating’ เทรนด์การเดตของคนโสดที่อาจทำให้เราได้แมตช์กับคนที่ใช่

19 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ใครๆ ก็สามารถเช่ายายได้ รู้จักธุรกิจ ‘OK Obaachan’ บริการเช่าคุณย่า - คุณยายของญี่ปุ่นเพื่อไปทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยกัน

22 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

Sad Cupid เพลงอิเล็กทรอนิกส์ป๊อปจากยูนิตพิเศษ CGM48 ที่ได้ กอล์ฟ F.HERO ร่วมโปรดิวซ์

THE STANDARD

MILLI ส่งอัลบั้มที่ 2 ของชีวิต HEAVYWEIGHT ที่เล่าเรื่องราวการเติบโต พร้อมมิวสิกวิดีโอ SICK WITH IT

THE STANDARD

Mike's Journey การเดินทางของเจ้าหมาน้อยที่บอกเล่าเรื่องราวแทนใจคนพลัดถิ่นทั่วโลก

ONCE

อร่อยลงตัว "เนื้อวากิวใบพายย่าง" เมนูพิเศษประจำเดือนนี้ ที่ ห้องอาหารเพลท

Manager Online

เผยวิธีเลือกกินเนยถั่วให้สุขภาพดี ต้องดูอะไรบ้าง

sanook.com

Robert Downey Jr. เผยว่า Pedro Pascal ทำให้เขากลับมามีศรัทธาในวงการภาพยนตร์อีกครั้ง

THE STANDARD

KAWS เตรียมเทกโอเวอร์ New York Botanical Garden ช่วงซัมเมอร์ปี 2027

THE STANDARD

JIMMY CHOO x THE RITZ-CARLTON งานโชว์เคส The Crystal Dream Wedding

THE STANDARD

ข่าวและบทความยอดนิยม

‘Speed Dating’ เทรนด์การเดตของคนโสดที่อาจทำให้เราได้แมตช์กับคนที่ใช่

The MATTER

ส่อง 10 คาแร็กเตอร์สัญชาติไทย จากจักรวาลคาแร็กเตอร์งาน Character Fest Thailand 2025

The MATTER

ไปต่อหรือพอแค่นี้ เราควรเลือกทางไหนดี ถ้าบริษัทมีนโยบายสมัครใจลาออกมาล่อตา

The MATTER
ดูเพิ่ม
Loading...