“ทูน่า” ลุ้นไทยส่งการบ้านใหม่ ปิดดีลลดภาษีทรัมป์สำเร็จ
กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง รายงานการส่งออกทูน่าไทยไปสหรัฐอเมริกา 3 ปีย้อนหลัง (ปี 65-67) ปริมาณ 112,528 ตัน มูลค่า 1.98 หมื่นล้านบาท ล่าสุดจากการประกาศอัตราภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ อัตราภาษีของไทยเบื้องต้น 36% ส่วนเวียดนามลดลงเหลือ 20% (จาก 46%) คาดว่าจะมีผลกระทบการส่งออกอย่างแน่นอน
นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ภาษีทรัมป์ทุกประเทศก็โดนเหมือนกันหมด ทางภาคเอกชนก็ได้แต่ให้กำลังใจและสนับสนุนว่าอัตราภาษีของไทยที่เสนอไปล่าสุดจะอยู่ในกลุ่มที่สามารถแข่งขันได้ แม้จะมีข้อเสนอที่ระบุว่าลดภาษีสินค้าบางรายการลงประมาณ 90% ตามที่นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาภาษีกับสหรัฐฯ ให้ข่าวเป็นระยะๆ ภาคเอกชนก็มั่นใจว่าจะมีความสำเร็จในการปิดดีลรอบที่ 2 ได้สำเร็จ สามารถลดภาษีได้ตามเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้
กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กรมประมง รายงานสถานการณ์ การค้าระหว่างประเทศสำหรับปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งชะลอตัวลง ในช่วงไตรมาสที่ 1/2568 จากความต้องการที่ลดลง โดยการนำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นทั่วโลกลดลง 4:896 และปลายนำแช่แข็งทั้งทั้งตัวลดลง 7.5% ในขณะที่การนำเนื้อปลาทูน่าเพิ่มขึ้น 9.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมปลาทูน่าโลก เป็นประเด็นที่ผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานกังวล จากการศึกษาวิจัยใหม่ที่เปิดตัวในงาน Seafood ExpoGlobal (SEG) 2025 ในบาร์เซโลนา เน้นย้ำถึงความท้าทายของการกำหนดมาตรฐานแรงงานที่บังคับใช้ได้ทั่วโลก และการสำรวจแนวทางปรับปรุงสภาพการทำงานและจัดการกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของอุตสาหกรรมอาหารทะเล
- สมาชิก FFA ของหมู่เกาะแปซิฟิก 10 ประเทศ ร่วมกันปราบปรามการทำประประมงผิดกฎหมาย IUU เพื่อปกป้องสต็อกปลาทูน่า ดำเนินการลาดตระเวนในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (EEZ) และทะเลหลวง ซึ่งเป็นปฏิบัติการระดับภูมิภาค และได้รับการสนับสนุนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส นิวชีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา
การผลิต
ผลจับปลาทูน่าจากการทำประมงพาณิชย์ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2568 มีปริมาณ รวม 22,663 ตัน ลดลง 23.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชนิดสัตว์น้ำที่จับได้แบ่งเป็นปลาโอดำ 43.7% ปลาโอลาย 34.2% ปลาทูน่าท้องแถบ (Skipjack Tuna) 8.9% ปลาโอหลอด 8.1% และปลาอื่นๆ 5.1% (กรมประประมง)
ทั้งนี้ราคาวัตถุดิบปลาทูน่า Skipjack แช่แข็งที่นำเข้าเดือนพฤษภาคม 2568 ราคาเฉลี่ย 1,750 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (57,634 บาท/ตัน) ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.2% และ 34.6% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2568 และ พฤษภาคม 67 ตามลำดับ ในขณะที่ราคาเฉลี่ยปลาทูน่า Skipiack ณ ตลาด Yaizu ประเทศญี่ปุ่น ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน 2.9%
- ทั้งนี้การนำเข้าเดือน เมษายน 2568 มีปริมาณ 45,519 ตัน มูลค่า 2,863 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือน มีนาคม 2568 ปริมาณและมูลค่าลดลง 28.8% และ 27.6% ตามลำดับเมื่อเทียบกับเดือน เมษายน 2567 ปริมาณและมูลค่าลดลง 15.3% และ 3.3% ตามลำดับ สำหรับในช่วงเดือน ม.ค.-เม.ย. 68 ไทยนำเข้าปริมาณรวม 257,143 ตัน มูลค่า 15,680 ล้านบาทปริมาณและมูลค่าลดลง 14.4% และ 9.7% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่วนใหญ่นำเข้าเป็นวัตถุดิบสำหรับแปรรูป 97.4% ผลิตภัตภัณฑ์ที่นำเข้าเป็นทูน่าสดแช่เย็นแข็ง 98.3% ทูน่าแปรรูป 0.8% เนื้อทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง 0.3% โดยน้ำเข้าจากไต้หวัน 20.5% เกาหลีใต้ 12.1% นาอูรู 11.0% ไมโครนีเซีย 9.6% มัลดีฟส์ 7.3% วานูอาดู 7.3% อาเซียน 7.2% คิริบาส 6.1% หมู่เกาะมาร์แชลล์ 3.9% ตูวาลู 3.7% และประเทศอื่นๆ 11.3% จำแนกชนิดเป็นปลาทูน่า Skipjack 71.3% Yellowfin 19.9% Albacore 4.9% Bigeye 1.4% และอื่นๆ 2.5%
- การส่งออก เดือนเมษายน 2568 มีปริมาณ 43,001 ตัน มูลค่า 6,037 ล้านบาทเมื่อเทียบกับเดือน มีนาคม 2568 ปริมาณและมูลค่าลดลง 12.7% และ 11.1% ตามลำดับ มื่อเทือบกับตือน แมย. 67 ปริมาณเพิ่มขึ้น 23% แต่มูลค่าลดลง 749% สำหรับช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2568 ไทยส่งออกปริมาณรวม 192,563 ตัน มูลค่า 26,805 ล้านบาท ปริมาณเพิ่มขึ้น4.8% แต่มูลค่าลดลง 3.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นทูน่ากระป๋อง 92.6% ทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง 3.1% ทูน่าลอยน์สดแช่เย็นแซ่แข็ง 1.2% และทูน่าแปรรูป 3.1% ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 22.2%(+1.2%) ตะวันออกกลาง 18.3% (-23.6%) แอฟริกา 14.7% (+5.3%) ญี่ปุ่น 8.0% (-6.5%)ออสเตรเลีย 7.9% (-0.2%) อเมริกาใต้ 5.3% (+13.8%) แคนาดา 4.6% (-20.5%) อาเซียน3.9% (+9.1%) สหภาพยุโรป 2.8% (+35.0%) เอฟตา 2.2% (+5.39%)
- ประเมินแนวโน้มสถานการณ์ คาดว่า อุปทานปลาทูน่าจากมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนกลางจะลดลง ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน เนื่องจากการห้ามทำการประมงด้วยอุปกรณ์ต่อปลา (FAD) คาดว่า อุปสงค์ปลาทูนำสำหรับซาซิมิของญี่ปุ่นในเดือนมิถุนายน จะลดลงตามฤดูกาลด้วยสภาพภูมิอากาศที่ร้อน แต่หาดหวังว่า อเมริกาเหนือและยุโรปมีความต้องการเพิ่มขึ้น