โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

มท. ปัดให้สัญชาติแรงงานต่างด้าว ย้ำเป้าหมายชนกลุ่มน้อย-กลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่มานาน

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ภาพไฮไลต์

“ธีรรัตน์” ยืนยัน การให้สัญชาติตามมติ ครม. 29 ต.ค. 67 มีเป้าหมายชัดเจนคือชนกลุ่มน้อย-กลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่มานาน ไม่ได้ให้สัญชาติแรงงานต่างด้าว หรือคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรแล้วขอสัญชาติเพื่อแย่งสิทธิคนไทย

วันที่ 6 กรกฎาคม 2568 น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงการเร่งรัดแก้ไขปัญหาสัญชาติตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) 29 ตุลาคม 2567 ซึ่งได้มีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติ และการสั่งให้คนที่เกิดในราชอาณาจักรไทยและไม่ได้รับสัญชาติไทย โดยมีบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 68 ที่ผ่านมา การดำเนินการเร่งรัดแก้ไขปัญหาสัญชาติตามมติ ครม. ดังกล่าว มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน คือชนกลุ่มน้อย/กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยมาเป็นเวลานาน และได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติและมีข้อมูลในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรไว้แล้ว อาทิ ภาพถ่ายใบหน้า ลายพิมพ์นิ้วมือ ประมาณ 1.4 แสนราย ได้แก่

1. บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรโดยมีบิดาหรือมารดาเป็นชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติกลุ่มต่างๆ หรือมีชื่อในทะเบียนบ้าน มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ขึ้นต้นหลักแรกด้วยเลข 6 และเลขหลักที่ 6 และ 7 เป็นเลข 50 ถึงเลข 72 รวมถึงคนที่มีบิดาหรือมารดาเป็นชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ มีชื่อในทะเบียนบ้าน มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ขึ้นต้นหลักแรกด้วยเลข 5 หรือเลข 8 ด้วย

2. บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรโดยมีบิดาหรือมารดาได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 รวมถึงชาวมอร์แกน โดยคนกลุ่มนี้จะมีชื่อในทะเบียนประวัติ มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักที่ขึ้นต้นหลักแรกด้วยเลข 1 และเลขหลักที่ 6 และ 7 เป็นเลข 89 ซึ่งหมายรวมถึงบิดาหรือมารดาที่ได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติด้วย

น.ส.ธีรรัตน์ ย้ำว่า การดำเนินการในครั้งนี้ไม่ใช่การให้สัญชาติไทยกับคนต่างด้าวทั่วไปที่มีสัญชาติอื่น หรือที่เป็นแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน หรือผู้หนีภัยการสู้รบที่อาศัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย และไม่มีสิทธิยื่นคำขอตามมติ ครม. นี้แต่อย่างใด ไม่ใช่การให้สัญชาติกับใครก็ได้แบบแจกฟรีอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด แต่เป็นความพยายามของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาที่สะสมมาอย่างยาวนาน และเป็นปัญหาของผู้คนที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยนานนับสิบปี มีลูกมีหลานที่เกิดและเติบโตที่นี่ ใช้ชีวิตร่วมกับคนไทยอย่างสงบ มีความผูกพันกับแผ่นดินนี้โดยแท้จริง

ดังนั้น การให้สถานะหรือสัญชาติกับบุคคลกลุ่มนี้ จึงไม่ใช่การเปิดประตูให้ใครก็ได้เข้ามาแล้วรับสิทธิในทันที แต่ตรงกันข้ามมีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจนและเข้มงวด เช่น ต้องเป็นผู้ที่มีข้อมูลทะเบียนก่อนปี 2542 หรือในรอบปี 2548, ปี 2554 ซึ่งทางกรมการปกครองมีฐานข้อมูลจัดเก็บไว้เป็นระบบ รวมทั้งต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบอย่างรอบคอบในระดับพื้นที่ โดยร่วมมือกันระหว่างฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายทะเบียน และฝ่ายปกครอง และหากให้ข้อมูลเท็จหรือมีการสวมสิทธิ จะถูกเพิกถอนสถานะในภายหลัง

อีกทั้งในความเป็นจริง กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ได้เป็นต่างด้าวหน้าใหม่ แต่คือผู้ที่อยู่ในสังคมไทยมานาน หลายครอบครัวอยู่กันมารุ่นต่อรุ่นโดยไม่มีสถานะทางกฎหมายที่แน่นอน ทั้งที่ใช้ชีวิตร่วมกับคนมีสัญชาติไทย ทำงานในไร่นา ร้านอาหาร ก่อสร้าง หรือแม้แต่ร่วมพัฒนาท้องถิ่นกับชุมชนมาช้านาน บางกลุ่มอยู่มาก่อนที่บรรพบุรุษของเราจะอพยพมาที่ประเทศไทยเสียอีก แต่ด้วยถิ่นฐานที่ห่างไกลทำให้ตกสำรวจในการจัดทำทะเบียนราษฎรยาวนานเรื่อยมา การให้สถานะจึงไม่ใช่การแย่งสิทธิคนไทย แต่เป็นการทำให้ทุกคนที่อาศัยอยู่ร่วมกันมีความชัดเจนในกฎหมาย เพื่อให้รัฐสามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบ ลดช่องโหว่การเอารัดเอาเปรียบ

ที่สำคัญคือยกระดับคุณภาพชีวิตของคนที่อาศัยอยู่ในประเทศเดียวกันให้เป็นธรรมและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะการมีสถานะที่ชัดเจน ยังช่วยลดปัญหาสังคมในระยะยาว เช่น การไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา การสาธารณสุข หรือแม้แต่การจดทะเบียนแรงงานอย่างถูกต้อง ซึ่งในทางกลับกันจะช่วยรัฐในการเก็บภาษี สร้างรายได้ และลดความเปราะบางในระบบความมั่นคงของประเทศ

และสุดท้ายกลุ่มคนเหล่านี้จำนวนมากมีลูกหลานที่เกิดในไทย ได้รับการศึกษาแบบไทย พูดไทย คิดแบบไทย และมีหัวใจรักแผ่นดินนี้ พวกเขาไม่ได้มาเพื่อแย่ง แต่พร้อมจะร่วมสร้าง และบางคนอาจกลายเป็นทรัพยากรบุคคลที่จะเข้ามาร่วมเป็นกำลังในการพัฒนาชาติไทยยิ่งกว่าที่เราคาดคิดอีกด้วย ประเทศไทยไม่เคยลืมคนไทย และในขณะเดียวกันประเทศไทยก็ไม่ทิ้งคนที่อยู่ร่วมแผ่นดินนี้อย่างสงบสุขมานานหลายสิบปีเช่นกัน

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : มท. ปัดให้สัญชาติแรงงานต่างด้าว ย้ำเป้าหมายชนกลุ่มน้อย-กลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่มานาน

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

ดูดวงรายวัน ประจำวันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม 2568

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เขมรป่วนรายวันที่ปราสาทตาเมือนธม พบเจ้าหน้าที่กัมพูชาหลายสิบคน แต่งชุดคล้าย อส.

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

โครงเหล็กไซต์ก่อสร้างทรุดตัว พังถล่มทับคนงาน ได้รับบาดเจ็บ ภายในซอยนิมิตใหม่ 6

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

แพร ชนันท์ภัสส์ ร้องไห้ เล่าปมซื้อรถเต่าจาก ตั้ม วิชญะ สามีหญิงออน พูดหมดโดนอะไรมาบ้าง

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ปลัดกระทรวงมหาดไทย ย้ำ การให้สัญชาติตามมติ ครม. 29 ต.ค. 2567 มีเป้าหมายที่ชัดเจน

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

“นายกฯ อิ๊งค์” มอบบัตรประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ ปลื้มใจขั้นตอนขอสิทธิ์ เหลือแค่ 5 วัน

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์
ดูเพิ่ม