โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

'ลุงเนวิน' ยกทีม 'บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด' ลุยสงขลา เยือนสนามติณสูลานนท์ ในช่วงข่าวย้ายขั้ว เปลี่ยนค่าย

THE STATES TIMES

อัพเดต 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • นายหัวไทร

ลุงเนวิน-เนวิน ชิดชอบ ประธานบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดโพสต์เฟซบุ๊ก “เพื่อสนับสนุนเยาวชนเล่นกีฬา บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ตอบรับเตะแมตช์การกุศล บีจีปทุม ยูไนเต็ด 11 ตุลาคม 68 ณ สนามติณสูลานนท์ จังหวัดสงขลา“

แม้เป้าหมายโปรเจกต์ 'บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เตะที่สนามติณสูลานนท์' ที่ เนวิน ชิดชอบ ประธานบุรีรัมย์ฯ ประกาศนั้นเป็นนัดการกุศล ซึ่งจัดขึ้นเพื่อ ระดมทุนช่วยเหลือเยาวชนและโรงเรียนที่ขาดแคลนอุปกรณ์กีฬาในจังหวัดสงขลา เป็นนัดฟาดแข้งกับคู่แข่งคือทีม บีจี ปทุม ยูไนเต็ด

แต่น่าจะมีเป้าหมายทางการเมืองแฝงอยู่ด้วยเป็นแน่แท้…?

'เนวิน' เลือกสนามติณสูลานนท์และช่วงเวลานี้ อาจจะด้วยเหตุผล
1. สนามติณสูลานนท์ (Tinsulanonda Stadium)เป็นสนามใหญ่กลางจังหวัดสงขลา รองรับผู้ชมได้หลายหมื่นที่นั่ง จึงเป็นสถานที่เหมาะสมสำหรับจัดแมตช์ระดับนี้
สนามอยู่ในพื้นที่ที่การสนับสนุนด้านกีฬาและประชาชนยังต้องการโอกาสมาก

2. นัดการกุศลเพื่อสังคม ยิ่งทำในพื้นที่ห่างไกลอย่างสงขลา ยิ่งช่วยเสริมสร้างโอกาสให้เยาวชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์โดยตรง รายได้จากแมตช์ (หักค่าใช้จ่ายน้อยมาก) จะนำไปซื้ออุปกรณ์กีฬาแจกให้โรงเรียนและส่งเสริมกิจกรรมกีฬาในชุมชน

จึงไม่แปลกที่ 'เนวิน' จะเลือกสนามติณสูลานนท์ ที่ผ่านการทดสอบ แมตช์ ใหญ่อย่าง 'คิงส์คัพ' มาแล้ว ตัวเลขแฟนบอลสงขลาหลายหมื่นคนแน่นสนาม องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาก็ปรับปรุงดูแลสนามอย่างดี

แม้จะจัดว่าเป็น 'แมตช์การกุศล' แต่การที่เนวิน ชิดชอบ นำทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ไปเตะที่สนามติณสูลานนท์ จ.สงขลา วันที่ 11 ตุลาคม 2568 มีนัยทางการเมืองชัดเจน โดยเฉพาะในบริบทของการเมืองภาคใต้และการเปลี่ยนขั้วอำนาจ

'เนวิน' ไปเจรจาเปิดดีลฟุตบอลการกุศลในช่วงเวลาที่การเมืองในสงขลากำลังมีข่าวหนาหูเรื่อง 'ย้ายค่าย-เปลี่ยนขั้ว' ของบ้านเขารูปช้าง

นิพนธ์ บุญญามณี เมื่อครั้งคิดสร้างทีมฟุตบอลก็ได้รับความกรุณาจากเนวินยกทีมฟุตบอลมาให้หนึ่งทีม และเปลี่ยนชื่อเป็นทีมวัวชน ความสัมพันธ์ในเชิงลึกจึงยังมีอยู่ ดีลฟุตบอลการกุศลจึงง่ายขึ้น

เหตุผลที่แมตช์นี้น่าจะเกี่ยวข้องกับการเมือง

1. สงขลาเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นจังหวัดที่ยึดครองโดยประชาธิปัตย์มานาน แต่การเลือกตั้งปี 2566 คะแนนเสียงถูกแบ่งออกมากขึ้น (ภูมิใจไทย-รวมไทยสร้างชาติ-พลังประชารัฐ ก็เริ่มเข้ามาเบียดแทรก ประชาธิปัตย์เริ่มถดถอย

การที่เนวินเข้ามาจัดกิจกรรมใหญ่แบบนี้อาจตีความได้ว่า 'ทดสอบกระแส' หรือ 'ปักธงทางการเมือง'

ต้องเข้าใจว่า เนวินเป็นผู้อยู่เบื้องหลังพรรคภูมิใจไทย แม้จะไม่มีตำแหน่งในพรรค แต่เนวินเป็นที่รับรู้ในวงการการเมืองว่าอยู่เบื้องหลังและมีอิทธิพลสูง การเคลื่อนไหวของเนวินในภาคใต้จึงมักถูกจับตามองว่า

“พรรคภูมิใจไทยจะขยับฐานเสียงหรือไม่” ทั้งการพบกับ นิพนธ์ บุญญามณี และโกหน่อ-สมชาย โล่สถาพรพิพิธ บ้านใหญ่จังหวัดตรัง

การเลือกช่วงเวลา 11 ต.ค. 2568 อันเป็นช่วงใกล้กับการเตรียมเลือกตั้งท้องถิ่น / หรือระดับชาติหากมีการยุบสภา

การจัดแมตช์ลักษณะนี้อาจถูกใช้เป็นเวทีสร้างชื่อ สร้างเครือข่ายในพื้นที่ และวางรากฐานการเมืองท้องถิ่น การเมืองระดับชาติผ่านกีฬา

กลยุทธ์ 'กีฬาเป็นเครื่องมือการเมือง' ของเนวิน เขาใช้กีฬา โดยเฉพาะฟุตบอล เป็นเครื่องมือทางการเมืองมานาน (เช่นการสร้างบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ให้เป็นพลังแห่งภูมิภาค) การขยายกิจกรรมสู่ 'ภาคใต้' ที่เดิมไม่ใช่ฐานของเนวิน เป็นสัญญาณว่ากำลังมีการขยายอิทธิพล

อ่านสัญญาณทางการเมือง แมตช์นี้มีโอกาสเป็นการเปิดทางให้ภูมิใจไทยหรือแนวร่วมเข้าไปยืนในสงขลาและภาคใต้ลึกซึ้งขึ้น

สนามติณสูลานนท์ 11 ตุลาคม จึงไม่ใช่แค่สนามกีฬา แต่เป็นสนามทดลองการเมืองแบบซอฟต์พาวเวอร์ ทดสอบศักยภาพ 'นิพนธ์ บุญญามณี'

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE STATES TIMES

อินเดียไฟเขียววีซ่าท่องเที่ยว เตรียมเปิดประตูรับชาวจีน หลังจากหยุดไปตั้งแต่ช่วงโควิด-19 และปมขัดแย้งชายแดน

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ชาวยูเครนลุกฮือ!! ออกมาชุมนุมประท้วงกลางกรุงเคียฟ หลัง ‘เซเลนสกี’ เซ็นรับรองกฎหมายควบคุมหน่วยงานต้านโกง

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ผู้บริหารธนาคาร Wells Fargo ถูกห้ามออกจากจีน รัฐบาลจีนย้ำเป็น ‘คดีรายบุคคล’ ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘เซินเจิ้น’ โกยยอดการค้าต่างแดนแซงทุกเมืองในจีน แค่ครึ่งปีแรกฟันไปเกือบ 10 ล้านล้านบาท

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม