โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ต่างประเทศ

หมอเตือน! ฟังเสียงแบบนี้ก่อนนอนทุกคืน อาจเสี่ยง "สมองเสื่อม" ไม่รู้ตัว

sanook.com

เผยแพร่ 23 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Sanook
พฤติกรรมนอนของคุณอาจกำลังทำร้ายสุขภาพในระยะยาวแบบไม่รู้ตัวหรือเปล่า? ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาเผยนิสัยก่อนนอนที่อันตรายกว่าที่คิด

พฤติกรรมนอนของคุณอาจกำลังทำร้ายสุขภาพในระยะยาวแบบไม่รู้ตัวหรือเปล่า? ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาเผยนิสัยก่อนนอนที่อันตรายกว่าที่คิด

ล่าสุด ดร.ไป่ปิง เฉิน อาจารย์ด้านประสาทวิทยาคลินิกจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐฯ ได้แชร์ว่าเขาหลีกเลี่ยง 3 พฤติกรรมก่อนนอน เพื่อให้หลับได้ดีและไม่กระทบสุขภาพในระยะยาว โดยหนึ่งในนั้นคือกิจกรรมที่หลายคนเข้าใจว่าดี แต่ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีกลับให้ผลตรงข้าม

ทุกวันนี้ หลายคนเปิด “เสียงสีขาว” (White Noise) เพื่อช่วยให้หลับง่ายขึ้น แต่นี่อาจกลายเป็นภัยเงียบ หากเปิดเสียงดังเกินไป เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมในอนาคต ดร.เฉินเตือน

เขาอธิบายว่า “ผมไม่เคยตั้งเครื่องเสียงสีขาวไว้ในระดับเสียงที่ดังเกินไป แม้จะไม่ใช่ทุกคนที่ใช้เครื่องนี้ แต่ถ้าคุณใช้ ผมเข้าใจดี เพราะผมก็ใช้เหมือนกัน”

“หลายคนอาจพยายามกลบเสียงรถ เสียงกรนของคู่รัก หรือเสียงสัตว์เลี้ยงตอนตีสอง แต่ถ้าเปิดเสียงดังเกินไป อาจทำลายการได้ยินในระยะยาว และอย่างที่ผมเคยพูดในวิดีโอก่อน ๆ การสูญเสียการได้ยิน ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดของภาวะสมองเสื่อมในอนาคต”

หลายคนเชื่อว่าเสียงสีขาวช่วยให้นอนหลับสบายและไม่มีอันตราย แต่จริง ๆ แล้ว มีงานวิจัยบางฉบับระบุว่า การสัมผัสกับมลภาวะทางเสียงเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยบางเคส ระบุว่า เสียงสีขาวที่มีระดับเสียงดังอาจเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมในระยะยาวได้

ดร.เฉิน แนะนำว่า ควรตั้งระดับเสียงของเครื่องเสียงรบกวนสีขาวไม่เกิน 50 เดซิเบล และควรวางเครื่องให้ห่างจากเตียงในระยะที่ปลอดภัย เพื่อลดการสัมผัสเสียงดังอย่างต่อเนื่องในระยะใกล้

cottonbro studio

งานวิจัยชี้ว่า สำหรับเด็กเล็ก ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 30 เซนติเมตรเมื่อต้องใช้เสียงสีขาว และยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพื่อทำความเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างการสัมผัสเสียงตั้งแต่อายุน้อยกับความเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยิน

การสูญเสียการได้ยินอาจนำไปสู่ภาวะแยกตัวทางสังคมและการรับรู้ที่ลดลง ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมที่ได้รับการยอมรับในวงการแพทย์ อย่างไรก็ตาม ควรเข้าใจว่าโรคสมองเสื่อมไม่ได้ทำให้สูญเสียการได้ยินโดยตรง แต่การสูญเสียการได้ยินสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมได้

ตามข้อมูลจากสมาคมอัลไซเมอร์ ผู้ที่เริ่มมีปัญหาการได้ยินในช่วงวัยกลางคน (อายุระหว่าง 40–65 ปี) จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการเป็นโรคสมองเสื่อม โดยอาการสูญเสียการได้ยินอาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคด้วย

โฆษกของสมาคมฯ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “หลายคนเริ่มสูญเสียการได้ยินเมื่ออายุมากขึ้น แม้อาจไม่รู้ตัวในทันที การตรวจเช็กการได้ยินจึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม และมีหลักฐานบางส่วนแสดงให้เห็นว่า การใช้เครื่องช่วยฟังอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเสื่อมถอยทางการรับรู้ได้”

Andrea Piacquadio

เสียงสีขาว "White Noise" คืออะไร และช่วยให้นอนหลับดีขึ้นจริงหรือไม่?

ตามข้อมูลจากมูลนิธิ Sleep Foundation “White noise” หรือเสียงสีขาว คือเสียงรบกวนที่ครอบคลุมทุกย่านความถี่ที่มนุษย์สามารถได้ยินได้ เป็นเสียงที่สม่ำเสมอ คล้ายเสียงซ่าเบา ๆ เช่น เสียงจากวิทยุหรือทีวีที่ยังไม่ได้ตั้งช่อง หรือเสียงพัดลมที่เปิดค้างไว้เบา ๆ

งานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเสียงสีขาวในการช่วยให้นอนหลับให้ผลที่หลากหลาย บางการศึกษาพบว่าเสียงนี้ช่วยให้ทารกหลับได้เร็วขึ้น และช่วยให้ผู้ใหญ่นอนหลับได้ดีขึ้น โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีเสียงรบกวน เช่น ใจกลางเมืองนิวยอร์ก

อย่างไรก็ตาม มีบางคนรู้สึกว่าเสียงสีขาวทำให้นอนยากขึ้น แสดงให้เห็นว่า ผลของเสียงประเภทนี้อาจขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลและบริบทในการใช้งานเป็นสำคัญ

วิธีใช้เสียงสีขาวเพื่อช่วยให้นอนหลับดีขึ้น

  • คุณสามารถซื้อเครื่องสร้างเสียงรบกวนสีขาวโดยเฉพาะได้จากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้

  • หรือประหยัดงบด้วยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์ ซึ่งมีให้เลือกมากมายทั้งใน App Store และ Google Play

  • นอกจากนี้ YouTube ยังมีวิดีโอเสียงสีขาวแบบเปิดต่อเนื่องหลายชั่วโมงให้เลือกฟังฟรีอีกด้วย

  • หากต้องการลองแบบอื่น คุณอาจทดลอง “เสียงรบกวนสีต่าง ๆ” เช่น pink noise (สีชมพู), brown noise (สีน้ำตาล) หรือ green noise (สีเขียว) เพื่อหาประเภทที่เหมาะกับคุณที่สุด

หากคุณชอบเสียงธรรมชาติ pink noise อาจเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะมักรวมถึงเสียงฝนตก เสียงน้ำตก หรือเสียงลำธารไหลเบา ๆ ตามข้อมูลจาก Sleep Foundation นักบำบัดบางรายยังใช้ pink noise ในการรักษาอาการหูอื้อ หรือความผิดปกติทางการได้ยินบางประเภทอีกด้วย

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก sanook.com

"กวาง กมลชนก" ถ่ายภาพคู่ "น้องเนย" ลูกสาวสวยมาก ถอดแบบคุณแม่มาเป๊ะ

21 นาทีที่แล้ว

เปิดสเปก iQOO Z10 สเปกพอดี เน้นแบตฯ เยอะถึง 7300 mAh เริ่ม 10,490 บาท

22 นาทีที่แล้ว

"นุ่น วรนุช" โมเมนต์เชียร์ "ต๊อด ปิติ" ถึงขอบสนาม ระหว่างแข่งรถสามีทำใจหาย

32 นาทีที่แล้ว

รู้จัก "มะแขว่น" สมุนไพรเผ็ดซ่า และวิธีกินเพิ่มรสชาติให้อาหาร

38 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความต่างประเทศอื่น ๆ

ปธน.เกาหลีใต้ ทุ่มหนัก!! รัฐแจกเงิน 150,000 ต่อคน ครอบคลุมประชาชนและผู้อยู่อาศัยต่างชาติบางกลุ่ม

THE STATES TIMES

ตัดสินหญิงออสเตรเลียฆาตกรรมพ่อแม่สามี

AFP

จีนบอกกับอียู “ยอมรับไม่ได้” ถ้ารัสเซียพ่ายแพ้สงครามในยูเครน

เดลินิวส์

งานสร้าง ‘สะพานข้ามแม่น้ำโขง’ ทุนจีน ในกัมพูชา คืบหน้าใกล้แล้วเสร็จ

Xinhua

ญี่ปุ่นเตือน “โรคลมแดด” ใน 19 จังหวัด ชี้อากาศร้อนจัดต่อเนื่อง

เดลินิวส์

Apple ยื่นอุทธรณ์ศาลยุโรป สู้ค่าปรับ 500 ล้านยูโร ฐานกีดกันนักพัฒนาแอปนอก App Store

การเงินธนาคาร
วิดีโอ

ผงะ! ตาวัย 61 ปี หายปริศนา สุดท้าย เจอในท้องงูเหลือมยาว 8 เมตร

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

ทรัมป์ประนามพรรคใหม่ของมัสก์ ไร้สาระ

AFP

ข่าวและบทความยอดนิยม

ผลสำรวจผู้มีอายุเกินร้อยปี 1,000 คน พบจุดร่วมที่ไม่คาดคิด ไม่ใช่อาหาร-ออกกำลังกาย

sanook.com

หมอเมืองนอก แนะนำ 5 อาหาร ช่วยเติมน้ำ-เกลือแร่ กินไว้ก่อนร่างพัง ที่ไทยมีครบ!

sanook.com

หมออึ้ง คนไข้ช็อก! ผ่าตัดก้อนฝีที่คอ เจอ "เมล็ดแตงโม 7 เม็ด" ซ่อนอยู่นาน 20 ปี

sanook.com
ดูเพิ่ม
Loading...