ไม่ลงทุน = เงินไม่โต เพราะถือไว้เฉยๆ เงินมีแต่จะน้อยลง
ในโลกที่ความแน่นอนดูจะกลายเป็นของหายากมากขึ้นทุกที นักลงทุนหลายคนกำลังเจอกับคำถามเดียวกันว่าจะวางแผนการลงทุนอย่างไรดี ท่ามกลางความผันผวนที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลายลง
คำถามนี้ยิ่งชัดขึ้นเมื่อเราเข้าสู่ครึ่งหลังของปี 2568 ปีที่เศรษฐกิจโลกดูเหมือนถูกโยนเข้าสู่เครื่องปั่นขนาดใหญ่ ทั้งความขัดแย้งระหว่างประเทศ การเจรจาการค้าที่ตึงเครียด และตัวเลขเศรษฐกิจที่ดูจะต่ำกว่าคาด
TODAY Bizview มีโอกาสคุยกับ ‘ยศกร ฟอลเล็ต’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.เอ็กซ์สปริง ถึงมุมมองการลงทุน ภาพรวมเศรษฐกิจ และคำแนะนำการจัดพอร์ตในครึ่งปีหลัง
ซึ่ง ‘บลจ.เอ็กซ์สปริง’ มองว่าในช่วงเวลานี้ ความเข้าใจในภาพใหญ่ของเศรษฐกิจโลกคือสิ่งสำคัญ เพราะแม้ตัวเลข GDP ของทั้งประเทศพัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่จะชะลอตัวลง
[ อย่าถือเงินสดไว้เฉยๆ มันไม่คุ้ม ]
แม้ว่าปัจจัยเสี่ยงต่างๆ จะยังรุมเร้า แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงมั่นคงเสมอคือ ‘ค่าเสียโอกาส’ ของการไม่ลงทุนอะไรเลย ซึ่ง ‘ค่าเสียโอกาส’ ของการไม่ลงทุนอะไรเลย นั่นก็คือการถือเงินสดในมืออาจให้ความรู้สึกปลอดภัยในระยะสั้น
แต่ในระยะยาวแล้ว หากเราไม่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้ อธิบายง่ายๆ ก็คือ วันนี้เรามีเงิน 100 บาท ซื้อสมุดได้ 5 เล่ม แต่อนาคตเรามีเงิน 100 บาทเท่าเดิม แต่เราจะซื้อสมุดได้ลดลง เพราะราคาของแพงขึ้นเรื่อยๆ
นี้คือความหมายของเงินเฟ้อ ที่ทำให้การเงินที่เก็บไว้เฉยๆ เงินก็จะค่อยๆ เสื่อมมูลค่าไปโดยไม่รู้ตัว เพราะการไม่ลงทุน ไม่ได้แค่ไม่โตแต่มันคือ ‘ถอยหลัง’ ทีละนิดทุกวัน
แต่คำถามที่ตามมาก็คงไม่พ้นว่า แล้วถ้าต้องลงจะลงทุนยังไง ดังนั้น ในการวางแผนการเงินและการจัดพอร์ตจึงไม่ใช่เพียงการหาผลตอบแทนที่ดีและมั่นคงที่สุดแต่เป็นการปกป้องมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินอย่างชาญฉลาด และเป็นการมองภาพระยะยาวมากกว่าแค่ในระยะสั้น
‘บลจ.เอ็กซ์สปริง’ จึงยังคงยึดแนวทางจัดพอร์ตอย่างมีโครงสร้าง โดยแนะนำให้แบ่งพอร์ตการลงทุนเป็น 2 ส่วน ได้แก่ Core Portfolio (พอร์ตหลัก) และ Satellite Portfolio (พอร์ตเสริม) เพื่อลดความเสี่ยงในภาพรวม พร้อมเปิดโอกาสในการเติบโต ทั้งในตราสารหนี้ หุ้น และสินทรัพย์ทางเลือก
[ กระจายความเสี่ยงแบบ Core-Satellite ]
สำหรับแนะนำการจัดพอร์ตแบบ Core-Satellite โดยแบ่งออกเป็น
- Core Portfolio 60-70%
- Satellite Portfolio 30-40%
โครงสร้างพอร์ตที่แนะนำในครึ่งปีหลัง 2568
- ตราสารหนี้ 50% : เน้นภาครัฐทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่
- ตราสารทุน 40% : ลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย และกลุ่ม Emerging Europe
- สินทรัพย์ทางเลือก 10% : เช่น ทองคำ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ โครงสร้างพื้นฐาน หุ้นนอกตลาด (Private Equity) และหนี้นอกตลาด (Private Debt)
ยศกร ฟอลเล็ต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.เอ็กซ์สปริง
[ ไทยควรลดดอกเบี้ย – GDP อาจไม่โตตามคาด ]
‘ยศกร’ มองว่า มองว่า ดอกเบี้ยนโยบายของไทยควรจะปรับลดลงมาอยู่ที่ราวๆ 1.25% ถึง 1.50% หรือประมาณ ลดลงอีก 0.25% – 0.50% จากระดับปัจจุบัน ซึ่งเป็นระดับที่น่าจะเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจไทยในตอนนี้
เหตุผลสำคัญก็มาจากหลายเรื่องรวมกัน ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจาก สงครามการค้าและกำแพงภาษีของสหรัฐฯ ที่กดดันภาคส่งออกไทย รวมถึง เงินเฟ้อในประเทศ ที่ยังไม่สูงมาก และ หนี้ครัวเรือน ที่ยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ค่าเงินบาท ในช่วงครึ่งปีแรกก็แข็งค่าขึ้นเยอะ เพราะเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงแรง ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อภาคการส่งออกของไทย ถ้าดอกเบี้ยยังคงสูงอยู่
สำหรับภาพรวม เศรษฐกิจไทยปีนี้ (GDP) ทางบลจ.มองว่าอาจต้องปรับลดคาดการณ์ลง เพราะสถานการณ์ในประเทศยังมีความไม่แน่นอนอยู่พอสมควร โดยเฉพาะเรื่องการเมือง และความมั่นคงของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยังพอมีความหวังอยู่ก็คือ งบประมาณปี 2569 ถ้าได้รับการอนุมัติทันในไตรมาส 3 ก็อาจช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดีขึ้น
เพราะการใช้จ่ายของภาครัฐและการลงทุนของภาครัฐ ถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทยควบคู่ไปกับการบริโภคของคนในประเทศและการส่งออก
แต่ถ้างบประมาณล่าช้าเหมือนปีที่แล้ว ก็มีโอกาสสูงที่จะฉุดการเติบโตของ GDP ให้แผ่วลงอีกครั้ง
[ ตราสารหนี้ น่าลงทุนในช่วงนี้ ]
ปัจจุบันบริษัทมีกองทุนรวมทั้งหมด 7 กองทุน และหากนับรวมกองทุนใหม่ที่กำลัง IPO อยู่ในขณะนี้จะมี 8 กองทุนในอนาคต โดยกองทุนที่กำลังเตรียมจะเสนอขายในอนาคต
แม้หลายคนจะมองว่าตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนไม่หวือหวาเท่าหุ้น แต่สำหรับ ‘เอ็กซ์สปริง’ แล้ว มันคือเกราะป้องกันที่ดีเยี่ยมในช่วงเวลาที่โลกเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนเหมือนในตอนนี้
โดยเฉพาะ กองทุน X-EMBOND ซึ่งเป็นกองทุนใหม่ที่บลจ.กำลังจะออก เป็นกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งให้ผลตอบแทนย้อนหลังเฉลี่ยที่น่าประทับใจ แถมยังมีโอกาสได้รับประโยชน์เต็มที่หากอัตราดอกเบี้ยโลกเริ่มลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง
นอกจากนี้ จุดแข็งอีกด้านของ X-EMBOND คือกระบวนการวิเคราะห์เชิงลึกแบบครบทุกมิติ ทั้งความมั่นคงทางการเงิน ความเสี่ยงในเชิงเครดิต และปัจจัย ESG ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการตัดสินใจลงทุนในยุคนี้
ทำให้กองทุนนี้เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการความมั่นคงพอสมควร แต่ก็ไม่อยากพลาดโอกาสจากภาวะดอกเบี้ยขาลง อย่างไรก็ตามกองทุน X-EMBOND ยังคงอยู่ระหว่างการขออนุมัติ (ยื่นไฟลิ่ง) กับทางสำนักงาน ก.ล.ต.