หมอให้คำตอบสุดเซอร์ไพรส์ ว่าคนเราควร "ช่วยตัวเอง" บ่อยแค่ไหนถึงจะพอดี?
แพทย์หญิงเผยมุมมองเรื่อง “ช่วยตัวเองบ่อยแค่ไหนถึงจะพอดี” พร้อมคำตอบที่อาจทำให้หลายคนแปลกใจ
แม้การช่วยตัวเองจะเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ แต่ในบางสังคมก็ยังมีมุมมองที่เป็นเรื่องต้องห้ามหรือเขินอายอยู่
ในวิดีโอที่โพสต์บนช่อง YouTube ของเธอเมื่อต้นปีนี้ แพทย์หญิงเจน คอเดิล (Dr. Jen Caudle) ได้ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับคำถามที่หลายคนสงสัยว่า "ช่วยตัวเองบ่อยแค่ไหนถึงเรียกว่าเกินไป?" ซึ่งคำตอบของเธออาจทำให้คุณประหลาดใจ
ควรช่วยตัวเองบ่อยแค่ไหน?
เธอเริ่มต้นด้วยประโยคให้กำลังใจว่า "ฉันมีข่าวดีจะบอกค่ะ ก่อนอื่น ขอให้คุณจำไว้ว่าการช่วยตัวเองไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไรเลย มันสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพและความพึงพอใจในชีวิตได้ ดังนั้นอย่าไปรู้สึกผิดหรือคิดว่ามันไม่โอเคค่ะ"
ดร.เจน คอเดิล กล่าวต่อว่า “เอาเข้าจริงแล้ว คุณอยากช่วยตัวเองบ่อยแค่ไหนก็ได้” เพราะ “ไม่มีตัวเลขที่ตายตัวว่าต้องเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม”
เธออธิบายว่า “มันไม่มีตัวเลขสูงสุดหรือต่ำสุดที่แน่นอน ไม่ได้มีเกณฑ์แบบว่า "คุณช่วยตัวเองได้ไม่เกินกี่ครั้งต่อวัน" หรือ "ต้องอย่างน้อยกี่ครั้งต่อสัปดาห์" บางคนอาจจะทำวันละหลายครั้ง บางคนอาจทำแค่ไม่กี่ครั้งในรอบหลายเดือน มันขึ้นอยู่กับอารมณ์ สถานการณ์ และความต้องการของแต่ละคน”
แต่อย่างไรก็ตาม เธอก็เตือนว่า สิ่งสำคัญคือไม่ให้การช่วยตัวเองกระทบต่อการใช้ชีวิตโดยรวม
“ข้อแม้เดียวคือ คุณสามารถช่วยตัวเองได้บ่อยเท่าที่ต้องการ ตราบใดที่มันไม่ไปรบกวนชีวิตประจำวัน ไม่กระทบสุขภาพจิต ความสัมพันธ์ หรือหน้าที่การงาน และคุณยังใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ”
“แต่ถ้าในบางกรณีมันเริ่มกลายเป็นพฤติกรรมหมกมุ่นหรือควบคุมไม่ได้ แบบนั้นควรเข้ารับการประเมินและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญที่มีใบอนุญาตนะคะ”
ประโยชน์ของการช่วยตัวเอง
รู้หรือไม่ว่าการช่วยตัวเองตอนเช้าอาจช่วยให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าขึ้น?
ดร.แชม ซิงห์ จาก The Handy เคยเปิดเผยว่า “ความจริงแล้วไม่มีช่วงเวลาใดที่ดีที่สุดเป็นพิเศษสำหรับการช่วยตัวเอง ทุกคนควรหาช่วงเวลาที่ "เหมาะกับตัวเอง" มากที่สุด”
แต่เขาก็เสริมว่า ถ้าคุณมีเป้าหมายที่ชัดเจนในแต่ละวัน การเลือกช่วงเวลาก็อาจส่งผลต่างกันได้เช่นกัน เช่น
- “บางคนรู้สึกหลับง่ายขึ้นเมื่อช่วยตัวเองก่อนนอน เพราะร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย”
- “ในขณะที่บางคนชอบทำในตอนเช้า เพราะมันช่วยเติมพลัง กระตุ้นให้รู้สึกตื่นตัวมากขึ้น”
การช่วยตัวเองช่วยเรื่องสุขภาพกายและใจได้อย่างไร?
ดร.ซิงห์ อธิบายว่า การช่วยตัวเองมีผลดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น
- คลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ
- ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น
- บรรเทาอาการหงุดหงิดหรือไม่สบายตัวก่อนมีประจำเดือน
- เป็นกิจกรรมผ่อนคลายทางจิตใจเล็ก ๆ ที่ช่วยลดความเครียด
นอกจากนี้ เขายังเสริมว่า “การรู้จักร่างกายตัวเองมากขึ้น ทำให้สามารถสื่อสารกับคู่รักได้ดีขึ้น และมีความพึงพอใจในความสัมพันธ์ทางเพศมากขึ้นด้วย”
ในแง่วิทยาศาสตร์ การช่วยตัวเองช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเคมีแห่งความสุข เช่น
- เอ็นดอร์ฟิน
- โดปามีน
- ออกซิโทซิน
ซึ่งทั้งหมดนี้มีบทบาทในการเพิ่มอารมณ์ที่ดี ลดความวิตกกังวล และทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
โดยเฉพาะในผู้หญิง การถึงจุดสุดยอดจะกระตุ้นให้มดลูกหดตัว จากนั้นจะเกิดการคลายตัว ซึ่งกระบวนการนี้สามารถช่วยลดอาการปวดเกร็งช่วงมีประจำเดือนได้อีกด้วย
กล่าวโดยสรุป การช่วยตัวเองไม่เพียงปลอดภัย แต่ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งกายและใจ หากทำอย่างเหมาะสมและไม่หมกมุ่นเกินไป
หยุดช่วยตัวเองแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?
นักเขียนนิรนามสายสุขภาพทางเพศคนหนึ่งเคยเปิดเผยว่า การหยุดช่วยตัวเองอาจส่งผลกระทบมากกว่าที่หลายคนคิด ทั้งต่อตัวเอง และคนรอบข้างด้วย
เธอเล่าว่า อารมณ์ของเธอเริ่มขึ้น ๆ ลง ๆ อย่างชัดเจน
"การถอนตัวจากการช่วยตัวเองอาจฟังดูเกินจริง แต่ความจริงคือ ตอนช่วยตัวเอง ร่างกายจะหลั่งสารแห่งความสุขออกมาเป็นชุดเลย ดังนั้นพอหยุดไป ร่างกายก็คงตั้งคำถามว่า ‘ของดี ๆ แบบนั้นหายไปไหนแล้ว?’”
เมื่อไม่มีการปลดปล่อย เธอบอกว่าอารมณ์ทางเพศของเธอสะสมต่อเนื่อง
"จากที่เคยถึงจุดสุดยอดภายในไม่กี่นาที กลายเป็นต้องใช้เวลาเป็นวัน บางครั้งเป็นสัปดาห์ ความสุขทางเพศไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ที่ทำตามตารางอีกต่อไป แต่มันกลายเป็นสิ่งที่เฝ้าฝันถึงและตั้งตารอ"
"ทุกครั้งที่มีอารมณ์ขึ้นมาโดยไม่ตั้งใจ ฉันจะคิดว่า "แฟนจะกลับมากี่โมงนะ" แทนที่จะรีบคว้าเครื่องสั่นมาจัดการตัวเอง"
เธอยอมรับว่าความต้องการเริ่มกระทบต่อแฟนหนุ่ม "ฉันเริ่มรู้สึกหมดความอดทน และก็ต้องยอมรับว่า แม้เขาจะพยายามตามใจฉัน แต่เขาไม่ได้อยากกลายเป็น "พ่อพันธุ์ประจำตัว" ตลอดเวลา"
สุดท้ายเธอจบท้ายด้วยอารมณ์ขันว่า "ศักดิ์ศรีก็หลุดลอยไปหมด เมื่อคุณอยากปลดปล่อยแต่ไม่รู้จะทำยังไงดี"