โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

จับตา ‘วิทัย’ ผู้ว่า ธปท.คนใหม่ เคลียร์เอกสารจบ ‘ลุ้น ครม.’

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

การคัดเลือก"ผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่"ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แทนนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท.ที่ครบวาระวันที่ 30 ก.ย.2568 ดำเนินการมาถึงขั้นตอนสำคัญคือการเสนอชื่อเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้ ครม.รับทราบและนำชื่อผู้ว่า ธปท.คนใหม่ขึ้นทูลเกล้าฯ ตามขั้นตอนต่อไป

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดความคืบหน้าการเสนอชื่อผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ว่า กระทรวงการคลัง จะมีการเสนอชื่อในการประชุม ครม.วันที่ 22 ก.ค.2568

“ใช่ครับ มันก็ควรที่จะเข้าแล้วครับ” นายพิชัย กล่าว

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ประเด็นผู้ว่าการ ธปท.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดำเนินการลงนามและส่งเอกสารเพื่อบรรจุในวาระพิจารณา ครม.เรียบร้อยแล้วตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะรักษาการนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับเรื่องเพื่อบรรจุวาระการประชุม ครม. ซึ่งกระทรวงการคลังไม่ทราบว่าจะบรรจุวาระหรือไม่ โดยอาจรอความเห็นและตรวจสอบคุณสมบัติให้ครบเพราะเป็นเรื่องใหญ่จึงไม่อยากให้เป็นวาระพิจารณา (จร)

“สัปดาห์ที่แล้ว รมว.คลัง เซ็นเรื่องไปแล้ว แต่กระบวนการเข้า ครม.กับกระบวนการออกจากกระทรวงคนละเรื่องกัน เพราะผู้ที่เซ็นเอกสารวาระเข้า ครม.เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี ซึ่งรักษาการนายกฯ อาจรอให้เรื่องเข้าเป็นวาระพิจารณาปกติไม่อยากให้เข้าเป็นวาระพิจารณาจร” นายจุลพันธ์กล่าว

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำหรับรายชื่อผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่ที่นายพิชัย เสนอ ครม.วันที่ 21 ก.ค.2568 คือ นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน หลังจากการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 15 ก.ค.2568 เตรียมเสนอชื่อนายวิทัย เข้า ครม.แต่ติดขัดเอกสารที่ต้องดูความเรียบร้อยก่อนบรรจุวาระ ครม.

“ทักษิณ” มั่นใจชื่อเข้า ครม.สัปดาห์นี้

ก่อนหน้านี้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยว่ารายชื่อ (ผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่) นั้นได้เข้าสู่การประชุม ครม.แล้ว ในสัปดาห์นี้น่าจะเรียบร้อย โดยสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ตนได้โทรไปสอบถามแล้ว ทราบว่ายังติดขัดเรื่องของเอกสารน่าจะเรียบร้อยในสัปดาห์นี้

ขณะที่นายภูมิธรรมในฐานะประธานที่ประชุม ครม.ได้หารือนพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรีก่อนการประชุม ครม.สัปดาห์ที่แล้วว่าอยากให้บรรจุเป็นวาระปกติ ซึ่งเข้ามาเป็นวาระเพื่อทราบหากไม่มีข้อทักท้วงถือว่า ครม.เห็นชอบได้ โดยไม่ต้องเป็นวาระจร ซึ่งเมื่อส่งเอกสารเพิ่มเติมโดยเฉพาะเอกสารรับรองการตรวจคุณสมบัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็บรรจุวาระครม.ในสัปดาห์นี้ได้

แนวคิด “วิทัย” แก้หนี้เคลื่อนเศรษฐกิจ

สำหรับนายวิทัย มีแนวความคิดเข้าใจสภาวะเศรษฐกิจและนโยบายการเงินที่จะใช้กับสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน โดยทุกคนมองเศรษฐกิจไม่ดีและจะซึมลึกนาน ขณะนี้ภาคการส่งออกและท่องเที่ยวที่เป็นกำลังขับเคลื่อนหลักเริ่มน่ากังวลจากความเปลี่ยนแปลงและไม่แน่นอนจากภาษีสหรัฐ

ส่วนเศรษฐกิจไทยยังเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างหลายมิติไม่ว่าจะเป็นหนี้ครัวเรือน การกระจายรายได้ สังคมสูงวัยและความไม่แน่นอนทางการเมือง

“สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงทั้งเรื่องภาษีทรัมป์ที่เข้ามา หากไม่เปลี่ยนวิธีแก้ปัญหา ยังแยกกันทำงาน โอกาสที่เศรษฐกิจจะฟื้นกลับมาและเติบโตจะเป็นไปได้ยาก” นายวิทัย กล่าว

ทั้งนี้แนวทางการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยไม่สามารถทำสำเร็จได้ด้วยมาตรการเดียว แต่ต้องประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรการต่อเนื่องมาเพื่อบรรเทาและต้องเป็นมาตรการทำได้จริง เพื่อทำให้ประชาชนหายใจคล่องขึ้นมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ซึ่งเสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาคเป็นเรื่องจำเป็นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้โตได้

สำหรับวิธีการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนสามารถทำได้ 3 แนวทาง ได้แก่

1.เศรษฐกิจต้องเติบโต คนมีรายได้เพิ่มจะมีความสามารถในการชำระหนี้เพิ่มขึ้น สัดส่วนหนี้ครัวเรือนที่เป็นเปอร์เซ็นต์และยอดหนี้รวมจะลดลงได้จากขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้น โดยปัจจุบันตัวเลข Nominal GDP อยู่ที่ 4.5% เป็นไปได้ หากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในค่ากลางของกรอบเป้าหมาย 1-3% และเศรษฐกิจโตได้ 2.5% เชื่อว่าภายใน 2-3 ปี สัดส่วนหนี้ครัวเรือนจะลดลงได้ต่ำกว่า 80% ได้

2.ลดดอกเบี้ยเงินกู้ จะช่วยให้ลูกหนี้ตัดเงินต้นได้มากขึ้นแม้จ่ายเท่าเดิม ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ และทำให้สภาพเงินส่วนบุคคลดีขึ้น และจะลดหนี้ครัวเรือนในภาพใหญ่ลงเร็ว

3.มาตรการเสริมอื่นๆ ที่จะเข้ามาช่วยบรรเทาภาระให้ลูกหนี้ได้

ยกโมเดลออมสินช่วยเหลือลูกหนี้

ที่ผ่านมาในการบริหารงานธนาคารออมสินได้มีการดำเนินบทบาทของการเป็นธนาคารเพื่อสังคม (Social Bank) ด้วยการดำเนินโมเดลธุรกิจแบบเชิงพาณิชย์ เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อส่วนบุคคล และภารกิจเพื่อสังคมคู่ขนานกันไป โดยนำกำไรจากผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์มาช่วยอุดหนุนธุรกิจเพื่อสังคมที่ยอมขาดทุนกำไร และความเสี่ยงที่จะเป็นหนี้เสีย (NPL)

ทั้งนี้ ภารกิจสำคัญในการช่วยสังคมของออมสินคือการดึงคนเข้าสถาบันการเงินในระบบ (Financial Inclusion) โดยล่าสุดมีการออกสินเชื่อ เจาะกลุ่มความเสี่ยงสูง เช่น พ่อค้าแม่ค้า ไรเดอร์ พนังงานบริการ ให้ทุกอาชีพที่ยังไม่เคยมีประวัติการกู้ได้เข้าถึงสินเชื่อในระบบ

นายวิทัย กล่าวว่า การให้สินเชื่อกับกลุ่มที่เสี่ยงสูง ประเมินเบื้องต้นว่า 20% จะเป็นหนี้เสีย หากคิดในแง่ร้ายจะมองได้ว่าทำให้เสียวินัยทางการเงิน แต่คนอีก 80% ที่เป็นลูกหนี้ดี คือกลุ่มที่ได้รับโอกาสที่ไม่เคยได้ ได้มีเครดิตที่สามารถเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารอื่นได้ในอนาคต

“การดึงคนเข้าสู่การเงินในระบบพูดกันมานาน ถึงเวลาทำก็ต้องทำอย่าทฤษฎีเยอะ ถ้าไม่กล้าทำเลยก็จะไม่เกิดผลลัพธ์”

ทั้งนี้ความรู้ทางการเงินในการบริหารการเงินและจัดการหนี้เป็นสิ่งสำคัญ โดยการมีหนี้ไม่ใช่เรื่องที่ผิดแต่ต้องเลือกและรู้จักว่าเป็นหนี้เพื่ออะไร พิจารณาอัตราดอกเบี้ยให้ดี หนี้บ้านมีดอกเบี้ยต่ำที่สุด ส่วนแพงที่สุดคือหนี้บัตรไม่แนะนำให้เป็นหนี้บัตรเครดิตเลยถ้าไม่จำเป็น

นายวิทัย กล่าวว่า คนที่มีหนี้บ้าน ยิ่งลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ก็ยิ่งปิดหนี้ได้เร็ว สำหรับคนที่มีหนี้บ้านสามารถจัดการได้ 3 แนวทาง คือ

1.ช่วง 3 ปีแรกที่ดอกเบี้ยบ้านต่ำที่สุด เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3% สำหรับลูกหนี้ที่มีประวัติชำระดี สิ่งที่ต้องทำคือทุกๆ 36 เดือน ให้ขอยื่นรีไฟแนนซ์ หรือรีเทนชั่นกับธนาคารเดิม ให้ดอกเบี้ยปีกลับมาอยู่ในระดับต่ำลง

2.เพิ่มยอดการผ่อนจ่ายในแต่ละเดือนจากยอดขั้นต่ำ จะได้มีระยะเวลาจ่ายค่างวดที่สั้นลง ซึ่งหมายถึงยอดดอกเบี้ยจะลดลงตาม

3.ชำระเงินต้นเพิ่มในแต่ละปี จากเงินโบนัสหรือรายได้พิเศษ ยิ่งตัดเงินต้นในช่วง 3 ปีแรกได้มากจะเป็นยอดดอกเบี้ยรวมที่ลดลง

นายวิทัย กล่าวว่า การเก็บออมเป็นเรื่องสำคัญ โดยอันดับแรกต้องมีเป้าหมายให้ชัดว่าต้องปลายทางต้องการมีเท่าไหร่ให้ลองคำนวณจากเงินที่ต้องการใช้ในแต่ละเดือนหลังเกษียณ ต้องมีเท่าไหร่จึงจะพอใช้ คูณกับระยะเวลาที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังจากนั้น

นอกจากนี้ อย่าออมด้วยการฝากเงินอย่างเดียว ไม่อย่างนั้นจะถูกเงินเฟ้อกินหมด ต้องรู้จักกระจายความเสี่ยง ศึกษาเรื่องการลงทุน ไม่ว่าจะพันธบัตร หรือหุ้นที่สนใจ

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

'พันธมิตรตะวันตก' 25 ประเทศ วอนอิสราเอลหยุดสังหารปาเลสไตน์อย่างไร้มนุษยธรรม

16 นาทีที่แล้ว

'พล.อ.ณัฐพล' แจงใช้กำลังตำรวจจราจล ดูแลประสาทตาเมือนธม เฉพาะจำเป็น

26 นาทีที่แล้ว

GULF มอบเงิน 1.2 ล้าน ช่วยเหลือทหารเหยียบกับระเบิด ขณะลาดตระเวนที่ช่องบก

33 นาทีที่แล้ว

พลัสฯ พลิกโฉม"ชลันต์ทิพย์"ชูโมเดลบริหารต้นทุน–สร้างรายได้ใหม่

36 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

SCB กำไร Q2/68 โต 27.7% ครึ่งปีแรกกำไรพุ่งแตะ 2.5 หมื่นล้านพร้อมเดินหน้า “ธนาคารไร้สาขา”

StockRadars

‘รักษาการนายกฯ’ บอกยังไม่เห็นวาระแต่งตั้ง ‘ผู้ว่าแบงก์ชาติ’ คนใหม่ คาดเข้าวาระจร!

The Bangkok Insight

พาณิชย์ ยันช่วยลำไยทุกมิติ ขับเคลื่อนทุกมาตรการดูดซับผลผลิต–ดันส่งออก

กรุงเทพธุรกิจ

ธอส.เปิดผลงานครึ่งแรกปี68 ปล่อยสินเชื่อใหม่1.07แสนล.

ทันหุ้น

จิตตะเวลธ์ชูGlobal ETF จัดหลักพอร์ตครึ่งปีหลัง

ทันหุ้น

คปภ.เตรียมบังคับ คุ้มครองภัยจากรถ 20ล้านเดือนส.ค.นี้

ทันหุ้น

"ORI" เปิดจองหุ้นกู้ล็อตใหม่ ชูดอกเบี้ย 5.40-5.55% ต่อปี 25-27 ส.ค.นี้

ทันหุ้น

IVL แจ้ง Indovinya ระดมทุนผ่านสินเชื่อร่วม 1.5 พันล้านดอลลาร์ เสริมโครงสร้างการเงิน

StockRadars

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...