โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

บอร์ดอีอีซี ถกปม "สนามบินอู่ตะเภา" สั่ง สกอพ. เจรจาเอกชน ก่อนออก NTP

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 19 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วันที่ 25 กรกฎาคม 2568 นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือบอร์ดอีอีซี ครั้งที่ 3/2568 โดยมี นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เป็นเลขานุกา โดยที่ประชุมฯ กพอ. มีมติรับทราบปัญหาอุปสรรค และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังการลงนามสัญญาร่วมทุน โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

โดยมีผลกระทบต่อความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการฯ และอาจมีผลให้เอกชนคู่สัญญาไม่สามารถดำเนินโครงการได้ รวมถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อภาครัฐ จึงเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบปัญหาอุปสรรคดังกล่าว และมอบหมายให้ สกพอ. เจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคทั้งหมดบนพื้นฐานความสมเหตุสมผล เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการฯ และเกิดการลงทุนได้จริง

สำหรับความคืบหน้าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก ล่าสุดเกิดประเด็นปัญหาความล่าช้า หลังจาก สกพอ. ยังไม่สามารถออก Notice to Proceed หรือ NTP ซึ่งเป็นเอกสารที่จะออกให้แก่ผู้รับเหมา เพื่อแจ้งให้ทราบถึงการเริ่มต้นโครงการก่อสร้างอย่างเป็นทางการให้กับ บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่นจำกัด (UTA) ได้ แม้จะผ่านมา 5 ปีมาแล้ว

แม้ว่าทาง UTA ในฐานะผู้ได้รับสัมปทานในโครงการนี้ จะออกมาประกาศแล้วว่า จะไม่รอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน แต่การเจรจาระหว่าง UTA และอีอีซี ภายใต้เงื่อนไขให้ก่อสร้างไปก่อน โดยที่ยังไม่มีไฮสปีดเทรน 3 สนามบินก็ยังไม่ได้ข้อยุติ ทำให้ที่ผ่านมามีการเลื่อนออก NTP มาเป็นระยะ จากเดิมวางไว้ว่าจะเป็นวันที่ 18 มิถุนายน ที่ผ่านมา จนล่าสุดวางไว้เมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม 2568 ก็ยังไม่สามารถออก NTP ได้

ขณะเดียวกันที่ประชุมยังอนุมัติให้ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ประกอบกิจการพลังงาน ตามอำนาจมาตรา 37 (4) แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ในเขตส่งเสริม เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) โดยการอนญาตเป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการพลังงาน

ทั้งนี้การอนุญาตดังกล่าว ครอบคลุมถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1.การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar) ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 18 เมกะวัตต์

2.การจำหน่ายไฟฟ้า ขนาดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด 15 เมกะวัตต์ ให้แก่กิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ ระยะเวลา 25 ปี

3.การอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar) ลำดับที่ 88 (1)

4.การอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม (พ.ค.2) เป็นระยะเวลา 4 ปี

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

กัมพูชาพึ่งจีนเสริมกองทัพ ไทยยังครองความได้เปรียบด้านกองทัพ

12 นาทีที่แล้ว

“ทักษิณ”ปลอบใจผู้ประสบภัยชายแดนกัมพูชา อีกไม่นานได้กลับบ้าน

23 นาทีที่แล้ว

แถลงการณ์ สปป.ลาว ขอให้ 'ไทย-กัมพูชา' อดทนอดกลั้น แก้ปัญหาด้วยสันติวิธี

42 นาทีที่แล้ว

กองท้พบกสดุดี “7 ทหารกล้า” เสียชีวิตเหตุปะทะชายแดนไทย-กัมพูชา

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสังคมอื่นๆ

กองทัพบูรพาลุยเข้ม รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างกัมพูชา รุกล้ำดินแดนไทย

สยามนิวส์

กองกำลังบูรพา รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างฝ่าย "กัมพูชา" ที่รุกล้ำเข้ามาในเขตแดนไทย

THE ROOM 44 CHANNEL

เปิดภาพข้อความถึงฮุน เซน จากกองทัพไทยไปกัมพูชา แต่ละลูกแสบ ๆ คัน ๆ แซ่บถึงใจ!

สยามนิวส์

"เขมร" เร่งรื้อฐานปืนกล ชายฝั่งเกาะกง หลังไทยเปิดยุทธการ "ตราดพิฆาตไพรี 1"

THE ROOM 44 CHANNEL

ขอสดุดีแด่กำลังพล 6 ทหารกล้า ผู้เสียสละจากการปฏิบัติหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของชาติ

สยามนิวส์

เพจดัง แฉความลับ จุดประสงค์ที่แท้จริง ฮุนเซน ถึงการส่งทหารสู้รบชายแดนไทย

สยามนิวส์

กต.เตรียมส่งหนังสือถึง “ประธานICRC” ประณาม "กัมพูชา"อย่างรุนแรง

THE ROOM 44 CHANNEL

กองทัพภาคที่ 2 เผย กระสุนปืนใหญ่ ตกฝั่ง สปป.ลาว เป็นกระสุนฝ่ายกองทัพ "กัมพูชา"

THE ROOM 44 CHANNEL

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...