‘นักวิชาการสื่อ’ ตะลึง! ลอกข่าวแบบไม่เกรงใจ ไม่สนใจจรรยาบรรณ การกำกับดูแลทำไม่ได้จริง
13 ก.ค. 2568- ดร.นันท์วิสิทธิ์ ตั้งแสงประทีป (นิพนธ์) อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และสื่อมวลชนอิสระ เผยแพร่บทความ เรื่อง สงครามข่าวส่งด่วน…ก้าวข้ามจริยธรรม? มีเนื้อหาดังนี้
กรณีการ“ลอกข่าว” ข่าวมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่อดีต ในยุคอะนาล็อกเคยเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้งและหลายรูปแบบเริ่มจากนักข่าวด้วยกัน เพราะสมัยก่อนนักข่าวจะถูกส่งไปกองอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ ถ้านักข่าวคนไหนขี้เกียจมาสายก็มักจะตกข่าวแล้วไปขอลอกข่าวหรือขอข่าวแล้วมา Rewrite ใหม่เขียนใหม่เป็นภาษาของตัวเอง ซึ่งก็ขึ้นกับสายสัมพันธ์ของนักข่าวแต่ละคน ยกเว้นข่าวเจาะหรืออดีตนักข่าวเรียกว่าข่าวซีฟ(มาจากExclusive)ที่เขาไม่ให้กัน
ลักษณะการลอกข่าวยังคงเกิดขึันมาตลอด ในช่วงหลังยุคดิจิทัลก็เคยเกิดขึ้นเป็นข่าวโด่งดังกรณี ผู้ประกาศข่าวชายคนหนึ่งทำช่องของตัวเองจ้างทีมไปลอกข่าวจากสำนักข่าวที่นั่นที่นี่ แล้วมา Edit ใหม่ พาดหัวใหม่ หารูปใหม่ จนวันหนึ่งไปเจอตอของจริงอย่างแยม ฐปณีย์ เอียดสีไชย เจ้าของสำนักข่าว The Reporter เข้าให้เพราะไปลอกเขามา เถียงกันบนโซเชียลอยู่นานระยะหนึ่ง สุดท้ายผู้ประกาศข่าวยอมถอยขอภัยแล้วลบข่าวรวมถึงล้มช่องตัวเองในทุกแพลตฟอร์มที่มีคนตามหลายแสนไปเลย
พัฒนาการของการลอกข่าวไม่เคยหยุดนิ่ง เพราะยุค Digital disruption เข้ามาเต็มที่ การเปิดช่องของบรรดา อินฟลูทำได้ง่าย ถ้าต้องการประหยัดต้นทุน ที่ไม่ใช่แค่เนื้อหาข่าวแต่รวมถึงภาพด้วย สังเกตุได้เดี่ยวนี้สำนักข่าวหรือช่องใหญ่ก็ยังทำกัน แต่จะไม่เรียก “ลอกข่าว“ เพราะถือว่า“ให้เครดิต”ขอบคุณแล้ว เช่น ข่าวสดไปเจาะเรื่องสีกากอล์ฟมาได้ รายการข่าวทีวีก็เอามาเล่าโดยเอ่ยชื่อข่าวสด และขึ้นเครดิตขอบคุณ แค่นี้ก็ไม่ลอกแล้วหรือจะลอกแบบเนียนๆกว่านั้นคือ พอเห็นข่าวไหนน่าสนใจก็้้เอามาแล้วไปหาเพิ่มนิดหน่อยมาเขียนเองใหม่
หนักยิ่งไปกว่านั้น วงการทีวีเขาใช้วิธี Collaboration กันแล้วเช่น..ช่องผู้ประกาศช่อง….ตกข่าวไม่สามารถสัมภาษณ์สีกากอล์ฟได้ แต่คุณหนุ่มได้สัมภาษณ์สีกากอล์ฟแล้วยอมรับเก็บพระไปแล้ว…คน ผู้ประกาศช่องนััน ก็เอาเนื้อหามาเฉยๆมาเล่าแล้วขึ้นต้นว่า ..“วันนี้พี่หนุ่มได้ทีเด็ดมาช่องเดียว….” หรือวันไหนพี่หนุ่มจะไปเอาของเขามาบ้างก็ไม่ว่ากัน อันนี่ไม่เรียก “ลอก” แต่เรียก ”แลกเปลี่ยน“??
ล่าสุดไปเห็นกรณีของ “ไทยโพสต์” สื่อเก่าแก่ที่เปลี่ยนชื่อแต่คนทำรุ่นใหญ่โดนช่องสื่อที่เคยตัังโดยนักการเมืองตอน“สงครามสีส่งด่วน” ลอกข่าวแบบไม่เกรงใจทั้งพาดหัว เนื้อข่าว…. ตกตะลึงไปไม่น้อยเหมือนกันว่า ศิลปะพัฒนาการการลอกไปไกลแล้วทำไมถึงไม่ศึกษา
ที่สำคัญตลกร้ายคือ สื่อที่ลอกมียอดการมีส่วนร่วม(engagement)สูงกว่าต้นฉบับ
การทำข่าว 1 ชิ้นนอกจากต้นทุนการผลิตเนื้อหาต่างๆแล้วสิ่งสำคัญคือการใช้ “มันสมอง” ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญที่ต้องสั่งสมมานานแรมปี สิ่งเหล่านี้ต่างหากคือ “ต้นทุน”ที่มีทัังราคาและคุณค่า
ถามว่าแล้วจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร
คำตอบคือ …แก้ไม่ได้ เพราะเรากำลังอยู่ในยุค
“สงครามข่าวส่งด่วน” ไม่ต้องสนใจเรื่องจริยธรรมในวิชาชีพ ใครเสริฟก่อนใครมีคนติดตามมากกว่า ต้นทุนประหยัดกว่า คนนั้นกำไรและไปสู่จุดหมายได้เร็วกว่า คนข่าวสำนักข่าวอย่าได้ถามหา จริยธรรมจรรยาบรรณใดๆหรือ ถามหาการทำหน้าที่ขององค์กรสื่อ เพราะ การกำกับดูแล(Regulation)ไม่ว่าด้วยวิธีไหนในประเทศไทยก็ทำไม่ได้จริง
#จริยธรรมสื่อ
#จรรยาบรรณสื่อ