โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

นักเศรษฐศาสตร์เตือน! สงครามการค้า "ทรัมป์" ศึกหนักของไทย แนะเร่งปรับโครงสร้างประเทศ

Manager Online

เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • MGR Online

นักเศรษฐศาสตร์ เห็นพ้องสถานการณ์สงครามการค้า โดยการเก็บภาษีในอัตราสูงกับไทยมีเป้าหมายเพื่อ "ดิสรัปซัพพลายเชน" ในภูมิภาค โดยเฉพาะจีน ห่วงลงทุนชะงัก แนะรัฐบาลเร่งปรับโครงสร้างประเทศ เพิ่มการ "อัพสกิล-รีสกิล" แรงงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว

นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) กล่าวว่า สงครามการค้าในครั้งนี้ ประเทศไทยเจอศึกค่อนข้างหนัก โดยมองว่า สิ่งที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ อยากได้ในสงครามครั้งนี้ คือ 1. ต้องการให้เปิดอุตสาหกรรมในประเทศ ลดอัตราภาษี ยกเลิก non-tariff พิธีการต่าง ๆ 2. อยากให้มีการย้ายฐานการผลิตไปสหรัฐฯ และ 3. ทรานชิปเมนต์

"อัตราภาษีที่ไทยกำลังโดนขู่ มองว่าเขาต้องการดิสรัป ซัพพลายเชนทั้งภูมิภาค โดยมีเป้าหมายสำคัญคือจีน และทำให้เกิดสงครามในหลายมิติ โดยในประเทศที่เห็นชัด ๆ คือการบังคับให้เราเลือกระหว่างภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตร บริการ ซึ่งภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบแน่นอน เพราะตลาดสหรัฐฯ เป็นตลาดใหญ่ที่ไทยส่งออก 18% ประเด็นตอนนี้อาจไม่ใช่ว่าเราโดนเท่าไหร่ แต่เราโดนเท่าไรเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ซึ่งตอนนี้ประเทศรอบ ๆ ต่ำกว่าเราหมด" นายพิพัฒน์ กล่าว

ดังนั้น คำถามสำคัญคือไทยที่มีความไม่แน่นอนในหลาย ๆ ด้าน แล้วทำไมต่างชาติจะต้องมาลงทุนในไทย ซึ่งนี่อาจเป็นวิธีการเจรจาของทรัมป์ที่ใช้ความไม่แน่นอนเป็นเครื่องมือให้เกิดการตกลงเกิดขึ้นเร็ว ซึ่งสิ่งที่จะกระทบมากกว่าความสามารถในการแข่งขัน คือความสามารถในการเป็นฐานการลงทุน

ทั้งนี้ นายพิพัฒน์ มองว่า ถ้าไทยไม่สามารถเจรจาได้ ก็จะเหนื่อย เพราะสิ่งที่ไทยต้องเจอคือผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและการลงทุน การเกษตรและบริการ และเงื่อนไขเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องทางการค้า รวมถึงการที่ไทยอาจจะต้องเลือกระหว่างสหรัฐฯ กับจีน

"แรงกดดันครั้งนี้รุนแรง ไทยต้องมาปรับโครงสร้าง เปิดเสรีอย่างค่อยเป็นค่อยไป และหาวิธีชดเชยเยียวยา โดยประเด็นสำคัญคือการอัพสกิลรีสกิลแรงงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันได้ในระยะยาว" นายพิพัฒน์ กล่าว

ส่วนปัจจุบันนโยบายอัตราดอกเบี้ยมีความเหมาะสมกับพื้นฐานเศรษฐกิจไทยแล้วหรือไม่ นายพิพัฒน์ กล่าวว่า ช็อกครั้งนี้ที่ไทยเจอค่อนข้างรุนแรง การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สื่อสารชัดเจนว่า ไม่ได้ขัดกับการผ่อนคลายนโยบายการเงิน แต่อยากเก็บกระสุนไว้เผื่อช็อกใหญ่กว่านี้ ในมุมมองของตนมองว่าช็อกครั้งนี้ใหญ่มาก ดังนั้น อาจต้องมานั่งคิดเรื่องการออกแบบ Policy space เพิ่มเติม

"ไม่ใช่ว่าเราเหลือลดดอกเบี้ยได้อีก 5 ครั้ง แล้วต้องมานั่งคิดระมัดระวังว่าจะลดอย่างไรใน 5 ครั้ง แต่สิ่งสำคัญกว่าคือทำอย่างไรให้การลดดอกเบี้ยมีผลที่ดีต่อเศรษฐกิจ ที่ผ่านมาจะได้เห็นว่าการผ่อนคลายนโยบายการเงิน ในเรื่องการส่งผ่านอาจมีข้อจำกัด ดังนั้น ต้องกลับไปคิดว่าทำอย่างไรให้การใช้นโยบายการเงินมีประสิทธิผลมากที่สุด และถ้าหากใช้หมดแล้วยังมีนโยบายอะไรอีกที่จะสามารถทำได้" นายพิพัฒน์ กล่าว

ด้านนายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ตอนนี้เรามองแต่ประเทศเวียดนามว่าเป็นคู่แข่ง แต่เมื่องมองในภาพกว้าง สิ่งที่ควรมองคือสหรัฐฯ เป็น America First และต้องการจัดการประเทศจีน รวมถึงจัดการประเทศที่พึ่งพาจีน รวมถึงต้องการสร้างซัพพลายเชนในละตินอเมริกา ดังนั้น ไทยต้องหาจังหวะในการปรับโครงสร้างของประเทศ ในขณะที่เครื่องจักรทั้งท่องเที่ยวและส่งออกกำลังมีปัญหา

อย่างไรก็ดี มีความกังวลนโยบายเยียวยาผลกระทบจากมาตรการภาษีทรัมป์ของรัฐ ที่จะออกซอฟท์โลน โดยตั้งคำถามว่า การเยียวยาจะยั่งยืนหรือไม่ ถ้าต้องเปิดการแข่งขันจริงธุรกิจเหล่านั้นอาจสู้ไม่ได้ และตั้งคำถามว่าจะต้องช่วยไปอีกนานเท่าไร ดังนั้น จึงอยากให้ใช้จังหวะนี้ให้รัฐบาลใช้ซอฟท์โลนช่วยเยียวยา แต่ต้องเป็นอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน และในที่สุดต้องสามารถแข่งขันได้ ไม่ใช่ช่วยไปเรื่อย ๆ เหมือนที่ช่วยภาคเกษตร ที่สุดท้ายเหมือนน้ำซึมบ่อทราย

"ถ้าเทียบกับเวียดนาม ไทยเสียเปรียบในเรื่องภาษีถ้าโดน 36% ถ้าเขาจะเลือกลงทุนในไทย ด้านการส่งออกอาจไม่กระทบมาก ทั้งปีภาพรวมอาจบวก แต่ผลจะมาในระยะกลางและยาว ความไม่มั่นใจเป็นตัวทำให้การลงทุนชะงัก ตอนนี้เรามีทั้งเรื่องภาษีที่สู้ไม่ได้ และมีเรื่อง FTA ที่เสียเปรียบ" นายบุรินทร์ กล่าว

นอกจากนี้ จากการที่สหรัฐฯ ไม่ค่อยอยากคุยกับไทย สะท้อนว่าไทยมีความสำคัญน้อยลงในเศรษฐกิจโลก ดังนั้น เราต้องทำตัวเองให้สำคัญ เช่น ปฏิรูปเกษตร และการศึกษา และมากกว่าการเยียวยาคือการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และทำให้มีการแข่งขันให้มากขึ้นเพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่

website : mgronline.com
facebook : MGRonlineLive
twitter : @MGROnlineLive
instagram : mgronline
line : MGROnline
youtube : MGR Online VDO

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Manager Online

ตร.สันกำแพงเร่งจับตัวหนุ่มหัวร้อนถีบเด็กออทิสติก7ขวบเจ็บหนักเหตุฉุนเสียงหมาเห่า หลังแม่ร้องพร้อมคลิปหลักฐาน

26 นาทีที่แล้ว

ตร.เร่งคลี่คลายคดีพบศพหนุ่มจีนถูกแก๊งเพื่อนร่วมชาติลวงจับเรียกค่าไถ่แล้วสังหารโหดโยนทิ้งป่าแม่ริม-ส่อเอี่ยวธุรกิจมืด

45 นาทีที่แล้ว

(คลิป)“เจ้าคุณริด”ยันเจ้าคณะฯพิจิตรติดต่อขอสึกจริงแต่ยังไร้เงา ล่าสุดเจ้าตัวยังไม่สึก-ยันบริสุทธิ์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ตร.ทางหลวง สกัดจับรถบรรทุกลอบขนไม้พะยูง 102 ท่อนจาก จ.ตราด มุ่งหน้าหนองคายเตรียมส่งขาย ตปท.

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

'แพทองธาร' รมว.วัฒนธรรม หารือ ภาคเอกชน-เลขาธิการ BOI เดินหน้าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทยต่อเนื่อง

VoiceTV

เซ็นจ้างแล้ว 135 ล้าน ทบทวนศึกษา “สายสีแดง” วงเวียนใหญ่-มหาชัย จบปีหน้า

เดลินิวส์

ททท.ปรับสมดุลโครงสร้างตลาดท่องเที่ยวปี 69 เจาะกลุ่มคุณภาพคาดสร้างรายได้โตเพิ่ม 7%

สยามรัฐ

GULF ซื้อหุ้น AISBB เพิ่มดันถือ 50% จ่อเปลี่ยนชื่อใหม่ ปักหมุดผู้นำคลาวด์-ดิจิทัลครบวงจร

PostToday

'กลุ่มดุสิตธานี'เปิดตัวแบรนด์ใหม่'ดุสิต โฮเทล' รุกตลาดอัปเปอร์อัปสเกลคาดภายใน 2 ปีเซ็นสัญญาเพิ่มอีก 8 แห่ง

สยามรัฐ

เจาะสงครามกินด่วน! ตี๋น้อยฮิต ลูกค้าวันละ 1.2 แสนคน MK เทหมดหน้าตัก ส่ง 'โบนัสสุกี้' ท้าสู้

MATICHON ONLINE

เงินบาทไทยพุ่ง แข็งค่าจัดใน 28 ปี ย้อนวิกฤตต้มยำกุ้ง | คุยกับบัญชา | 11 ก.ค. 68

BTimes

YLG เผยครึ่งปีแรก 68 ทองคำพุ่ง 25%

Wealth Me Up

ข่าวและบทความยอดนิยม

รมว.คลัง ส่งสัญญาณเจรจาภาษีสหรัฐไม่จบง่าย! เตรียมพร้อมรับมือเร่งดึงลงทุน-ปรับโครงสร้างรับมือโลกใหม่

Manager Online

หากเจรจาภาษีสหรัฐฯ ไม่ทันเส้นตาย 1 ส.ค. ศก.ไทยเสี่ยง ทั้งส่งออก-ลงทุน-บริโภค

Manager Online

เอกชนโอดภาษีสหรัฐฯ 36% สูงเกินรับไหว หวังต่อรองต่ำกว่าเวียดนาม-แนะลดภาษี 0%บางส่วน

Manager Online
ดูเพิ่ม
Loading...