โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ทำไม "เงินเดือนสูง" ไม่การันตีความมั่นคง รายรับ เป็นโอกาส แต่ "รายจ่าย" คือ เข็มทิศ ตัดสินชีวิต

Thairath Money

อัพเดต 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ภาพไฮไลต์

"เคยสงสัยไหม… ทำไมบางคนเงินเดือนครึ่งแสน แต่ยังใช้ชีวิตเดือนชนเดือน?"

คนหนึ่งได้เงินเดือน 50,000 ใช้หมดตั้งแต่กลางเดือน

แต่อีกคนได้เงิน 20,000 แต่มีเงินเก็บหลักแสนใน 2 ปี

สะท้อนคำกล่าว : ชีวิตไม่วัดกันที่หาได้เท่าไร แต่วัดกันที่เราใช้เงินอย่างไร? และหากวันนี้ ยังใช้จ่ายเดือนชนเดือน ไม่ได้วางแผนการเงิน แล้วอีก 240 เดือนในบั้นปลายชีวิตจะเป็นอย่างไร

ลองคิดง่ายๆ เริ่มต้นทำงานในวัย 22 ปี คนเรามีระยะเวลาทำงานหาเงิน 38 ปี หรือ ราว 456 เดือน ก่อนเกษียณอายุตอน 60 ปี ซึ่งตามค่าเฉลี่ยอายุขัยคนไทย อยู่ที่ 80 ปี เท่ากับ เราจะมีระยะเวลาหลังเกษียณ นานถึง 20 ปี หรือ 240 เดือน

แล้วเงินเท่าไหร่ …ถึงจะพอใช้หลังเกษียณ

ลองคิดง่ายๆ ว่าหากคุณต้องการใช้เงิน วันละ 500 บาท (15,000 บาท/เดือน) เท่ากับเราควรมีเงินเก็บอย่างน้อย 4,025,315 บาท เพื่อใช้หลังเกษียณไปอีก 20 ปี

คำถาม คือ วันนี้เตรียมพร้อมรับมือค่าใช้จ่ายเหล่านั้นแล้วหรือยัง ไม่ว่าจะเป็นฐานะที่มั่นคง ไม่ต้องเป็นภาระใคร และ ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินอีกต่อไป เมื่อยังต้องเอาชีวิตรอดไปวันๆ แม้จะทำงาน มีรายได้เยอะก็ตาม

เงินเดือนสูงไม่การันตีความมั่นคง

กับดักแนวคิดของสังคม ที่คนส่วนใหญ่ มักคิดว่า “เงินเยอะ = ชีวิตดี” แต่ในความเป็นจริง หากเราขาดการบริหารเงิน รายจ่ายจะขยายตามรายได้เสมอ

“ยิ่งรวย ยิ่งไม่เหลือเก็บ” สภาพนี้คือ ปรากฎการณ์ที่เรียกว่า Lifestyle Inflation หรือ ที่บางคนเรียกว่า "ภาวะเงินเดือนขึ้น แต่เงินเก็บไม่ขยับ"

การเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายเมื่อรายได้ของเราเพิ่มขึ้น โดยที่ความต้องการในการใช้จ่ายสูงขึ้นเป็นผลตามโดยอัตโนมัติ ท้ายที่สุด … ยิ่งหาได้มาก ยิ่งใช้มาก โดยไม่รู้ตัว

รายจ่าย คือ เข็มทิศที่กำหนดอนาคต

รายรับ คือ โอกาส แต่ “การใช้เงิน” คือ การตัดสินใจ

  • ใช้ตามใจ : พาชีวิตออกนอกเส้นทาง
  • ใช้อย่างมีแผน : พาชีวิตใกล้เป้าหมาย

ยกตัวอย่าง เปรียบเทียบพฤติกรรมคน 2 แบบ

  • คน A: ใช้เงินเพื่อแสดงสถานะ
  • คน B: ใช้เงินเพื่อสร้างความมั่นคง

คุณคิดว่า ชีวิตใครจะไปได้ดีกว่ากันในระยะยาว เพราะ “นิสัยใช้เงิน บอกทางเดินชีวิตได้”

  • หาได้ 100 ใช้ 120 แล้วยังหยิบยืมชาวบ้าน บั่นปลายล้มละลายแน่นอน
  • หาได้ 100 ใช้ 90 อีก 10 เป็นเงินออม ชนชั้นกลาง ยังไม่รวย แต่ไม่ลำบาก
  • หาได้ 100 ใช้ 50 อีก 50 เป็นเงินออม และเงินลงทุน นี่คือเส้นทางของเศรษฐีเงินล้าน

เช่นเดียวกับ คนรายได้น้อย ที่วางแผนดี อาจไปได้ไกลกว่า เหมือนกัน เพราะ คนรายได้น้อยหลายคนมีวินัย เช่น

ใช้สูตร 50/30/20 หรือหักเก็บก่อนใช้ 3 ส่วน

- 50% ใช้จ่ายจำเป็น เช่น ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าอาหาร

- 30% สำหรับสิ่งที่อยากได้ เช่น เที่ยว ช้อป กินของอร่อย

-20% เพื่อเก็บออมและลงทุน

แม้รายได้น้อย แต่เมื่อรู้จัก “วางโครงสร้างรายจ่าย” อย่างมีระบบ ก็สามารถคุมงบได้ ไม่ให้บานปลาย และยังสร้างเงินก้อนได้ในระยะยาว

หรือ บางคนใช้สูตร “เก็บก่อนใช้” เช่น หักเงินออมทันที 10-20% ทุกเดือน แล้วค่อยใช้ที่เหลือ เป็นการบังคับตัวเองให้รวยในอนาคต

มีเป้าหมายทางการเงินที่ชัด เช่น เงินสำรองฉุกเฉิน, ลงทุน, เกษียณ ภายใต้ข้อย้ำว่า "วินัยทางการเงิน" สำคัญกว่า "ตัวเลขรายได้"

-เก็บเงินสำรองฉุกเฉิน 3-6 เดือน เพื่อรองรับเหตุไม่คาดฝัน

-ลงทุนในกองทุนรวม หรือออมเงินเพื่อดาวน์บ้าน

-วางแผนเกษียณตั้งแต่อายุยังน้อย

“ จะทำให้มีความชัดเจนว่า เงินที่ใช้วันนี้ ส่งผลต่ออนาคตอย่างไร และไม่หลงไปกับความอยากชั่วคราว "

สุดท้าย เคล็ดลับ เปลี่ยน “รายจ่าย” ให้เป็นเครื่องนำทาง ด้วยวิธีง่ายๆ ที่แค่เริ่ม

  • ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายทุกเดือน

  • รู้ว่าเงินรั่วไหลตรงไหน และปรับแผนให้สมดุล เช่น หลังจากจดรายจ่ายสัก 1-2 เดือน จะเห็นภาพชัดว่า การจ่ายค่ากาแฟแก้วละ 80 บาทในทุกๆวัน ทำให้เงินเราหายไปถึงเดือนละ 2,400 บาท อาจต้องลดความถี่ลง หรือ หาร้านกาแฟที่ราคาถูกลงกว่า 80 เพื่อประหยัดในทุกๆวัน

  • เปลี่ยนการใช้จ่ายให้ “ฉลาดขึ้น” ไม่ใช่ “งดทุกอย่าง”
    ตั้งงบใช้จ่ายรายเดือน พร้อมหักเงินเก็บ/ลงทุนทันทีเมื่อเงินเดือนออก เช่น ตั้งบัญชีแยกไว้สำหรับเก็บออม แล้วสั่งโอนอัตโนมัติทันทีที่เงินเดือนเข้า จากนั้นจึงค่อยวางงบรายจ่าย

ท้ายที่สุด อาจสรุปได้ว่า เงินเดือนสูงไม่ใช่คำตอบ แต่การวางแผน นั่นแหละ คือ ทางรอด

ที่มา : ตลท ,สมาคมนักวางแผนการเงินไทย

อ่านข่าวการเงินส่วนบุคคล และการวางแผนการเงิน กับ Thairath Money เพื่อให้คุณ "การเงินดีชีวิตดีได้ที่ https://www.thairath.co.th/money/personal_finance

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : ทำไม "เงินเดือนสูง" ไม่การันตีความมั่นคง รายรับ เป็นโอกาส แต่ "รายจ่าย" คือ เข็มทิศ ตัดสินชีวิต

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : Thairath Money
- LINE Official : Thairath

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Thairath Money

ทำงาน 1 ชั่วโมง ซื้อเบอร์เกอร์ได้แค่ 2 ชิ้น ญี่ปุ่นค่าแรงเพิ่ม แต่ค่าครองชีพพุ่ง กำลังซื้อลดน้อยลง

41 นาทีที่แล้ว

ไทยเจรจาการค้าสหรัฐฯ ไม่จบ หวั่นกดตลาดหุ้นร่วงอีก เปิดกลยุทธ์ลงทุน เอาตัวรอดอย่างไร ?

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

Thailand’s inflation rate falls for third month in a row

Thai PBS World

เปิดอาณาจักรกูลิโกะไทย ขายอะไรบ้าง

SMART SME

ขุนคลัง เผยไทยชงข้อเสนอลดภาษี 0% ให้สินค้าสหรัฐหลายรายการ แต่ยันไม่กระทบคนไทย

เดลินิวส์

กรุงศรี เดินหน้าสร้าง Sustainability DNA สู่เป้าหมายธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคอย่างยั่งยืน

Manager Online

'พิชัย' เผย เตรียมลดภาษีนำเข้าให้สหรัฐฯเหลือ 0% หลายรายการ แต่ไม่ให้ทั้งหมด

Khaosod

ออมสิน ทำไว รับลูก ครม.ยกหนี้เอ็นพีแอลให้ลูกหนี้สินเชื่อโควิด เฟสแรก 2 แสนราย

เดลินิวส์

ผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ผลกระทบหากปิดดีลข้อเสนอภาษีสหรัฐฯ ไม่ทันเส้นตาย

Thai PBS

จตุพร เกลี่ยงาน 2 รมช.พาณิชย์ สุชาติ คุม 4 กรมใหญ่ ฉันทวิชญ์ ดูงานหน่วยงาน เจรจา-ค้าต่างประเทศ

MATICHON ONLINE

ข่าวและบทความยอดนิยม

บทเรียนการเงินที่ผิดพลาด แนวคิดที่จับต้องได้ ตามสไตล์ เทียน-สไปรท์-ไบรอัน

Thairath Money

หาเงินเก่ง ใช่ว่าจะรวย 10 นิสัยการเงินที่ “คนรวย” ทำ แต่คนทั่วไปมองว่าเป็น “ตัวร้าย”

Thairath Money

หยุดติดหรู ก่อนติดหนี้ ต้องใช้เงินน้อยลงและออมให้มากขึ้น เปิดสูตรการออมฉบับง่าย มือใหม่ก็ทำได้

Thairath Money
ดูเพิ่ม
Loading...