วิกฤต "ข้าวกล่องญี่ปุ่น" ร้านเล็กแบกต้นทุนไม่ไหว ล้มละลายพุ่ง
วิกฤต "ข้าวกล่องญี่ปุ่น" ร้านเล็กแบกต้นทุนไม่ไหว ล้มละลายพุ่ง
ข้าวกล่องแบบญี่ปุ่น หรือเบนโตะที่เป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่น
และเป็นหนึ่งประเภทของธุรกิจที่กำลังถูกจับตาว่าจะไปต่อในทิศทางไหน
จะตกอยู่ในภาวะวิกฤตหรือไม่
พูดได้ว่าวันนี้ร้านเบนโตะต่างๆ ในญี่ปุ่น โดยเฉพาะเจ้าเล็กๆ
กำลังเผชิญช่วงเวลาที่ยากลำบากอย่างยิ่
เพราะเจอกับต้นทุนที่สูงขึ้น
พฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลง และการแข่งขันจากผู้เล่นรายใหญ่
หลักฐานที่ชัดเจน อ้างอิงได้จากข้อมูลของบริษัทวิจัยธุรกิจ
เทโกกุ ดาต้าแบงก์ (Teikoku Databank) ระบุว่า
ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่าน หรือนับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคมของปีนี้
มีร้านเบนโตะในญี่ปุ่นถึง 22 ราย ทำเรื่องยื่นขอล้มละลายแล้ว
ด้วยยอดหนี้สะสมรวมกันมากกว่า 10 ล้านเยน
ขณะที่ปีที่แล้ว ปี 2024
มีร้านเบนโตะที่ล้มละลายไปแล้วมากถึง 52 ร้าน
แต่สำหรับปีนี้ถ้าดูเหมือนว่าตัวเลขกำลังจะแซงหน้า วิกฤตยังไม่จบ
เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าเสี่ยงที่จะล้มแชมป์
เพราะเมื่อจบสิ้นปีทั้งปีนี้
อาจจะมีร้านเบนโตะล้มละลามมากที่สุดในรอบ 15 ปี
หรือเป็นสถิติที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010
สาเหตุ"ล้มละลาย"
1. ข้าว
แม้ว่าในกล่องจะมีอาหารหลายอย่าง เช่น หมู ไก่ เนื้อ ปลา หรือผัก
แต่ทั้งหมดนี้ต้องขายหรือเสิร์ฟคู่กับข้าว
แต่ถ้าใครที่ตามข่าวก็จะทราบกันดีกว่า
ปีนี้ประเทศญี่ปุ่นเผชิญกับวิกฤตข้าวญี่ปุ่นแพง
เมื่อราคาข้าวสารในญี่ปุ่นพุ่งสูงอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบหลายสิบปี
หรือคิดแล้วแพงขึ้นมากกว่าสองเท่าเมื่อเทียบเป็นรายปี
หนักถึงขั้นว่า ล่าสุดรัฐบาลญี่ปุ่นต้องนำข้าวในคลังออกมาระบายเป็นการฉุกเฉิน
เพื่อเพิ่มปริมาณข้าวในประเทศ ให้เพียงพอต่อการบริโภค
และหวังจะกดราคาข้าวที่วางขายอยู่ให้ถูกลง
ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น
แต่ว่าก่อนหน้านี้เป็นเวลาหลายเดือนที่ทุกอย่างปั่นป่วนไปหมด
ถึงขั้นว่าซุปเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งต้องจำกัดการซื้อ
ร้านข้าวบางแห่ง ยอมใช้ข้าวจากต่างประเทศทดแทน
เช่นเดียวกับ ร้านเบนโตะเหล่านี้
ที่ร้านค้าข้าวกล่องส่วนใหญ่ไม่สามารถหาข้าวมาได้
หรือได้มาในราคาที่แพงขึ้น
กลายเป็นต้นทุนที่บวกเพิ่มขึ้น บางเจ้าขายแพงขึ้นก็กระทบลูกค้า
และหลายเจ้ายอมสู้ขายในราคาเดิม แต่แน่นอนว่ากำไรก็หายไป
2. วิถีชีวิตการทำงาน
การทำงานของคนญี่ปุ่นยุคใหม่คล้ายกับทั่วโลก
นับจากยุคโควิด 19
หลายบริษัทอนุญาตให้พนักงานไม่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน
มีผลทำให้ยอดการสั่งข้าวกล่องจากบริษัทต่างๆ ที่ใช้เลี้ยงพนักงานหายไป
เช่นเดียวกับยอดซื้อจากคนที่ออกไปทำงานออฟฟิตก็น้อยลง
แม้กระทั่งการสั่งข้าวเพื่อการจัดอีเวนท์ของญี่ปุ่น
เช่น จัดประชุม จัดงานแต่งงาน งานศพ
ที่เคยสั่งข้าวกล่องไปเลี้ยงคนเข้าร่วมงานก็ยังลดลงไปด้วย
3.เศรษฐกิจ
คนญี่ปุ่นรัดเข็มขัดมากขึ้น ประหยัดมากขึ้น
พฤติกรรมของคนในปัจจุบันเปลี่ยนไป
มองหาและซื้ออาหารราคาประหยัดมากขึ้น
โดยเฉพาะข้าวกล่องตามร้านสะดวกซื้อของญี่ปุ่นนั้นมีราคาย่อมเยา
บางร้านมีข้าวกล่องวางขายในราคาไม่ถึง 500 เยน
จึงกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
และเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของร้านเบนโตะทั่วไปตามท้องตลาดอีกด้วย
จากข้อมูลที่มีอยู่ตอนนี้ ที่พบว่ามีร้านเบนโตะ
ไม่ถึงครึ่งหรือคิดเป็น 45%
ที่ยังมีผลกำไรเพิ่มขึ้นในปีที่่ผ่านมา
แต่ที่เหลือคือหนัก ตั้งแต่กำไรลดลง ไปถึงกับการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามยังการสำรวจครั้งนี้ นั้นยืนยันว่าไม่ใช่เจ้าเล็กทุกรายที่ต้องล้ม
หลายคนปรับตัวทัน และยังยืนหยัดอยู่รอดได้
ข้อมูลพบว่าร้านที่ยังอยู่รอดในสภาพปัจจุบันนี้
มักเป็นร้านที่มีเมนูขึ้นชื่อ พิเศษ หรือ หากินยาก
และจะมีขายแค่ในบางจังหวัด บางภูมิภาค หรือบางช่วงเวลาเท่านั้น
ดังนั้นใครไปไหวก็ไปต่อ ใครไม่ไหวก็ต้องล้มลงไป
โดยเฉพาะคนตัวเล็ก
ร้านเบนโตะของญี่่ปุ่นเป็นเหมือนกับเหยื่ออีกหนึ่งรายจากภาวะเศรษฐกิจในยุคนี้ของญี่่ปุ่น
ไดสุเกะ อิอิจิมะ นักวิเคราะห์จากเทโกกุ ดาต้าแบงก์กล่าวว่า ร้านเบนโตะหลายแห่งกำลังดิ้นรนหาทางฝ่าฟั สถานการณ์นี้ แต่ดูเหมือนว่าพวกเขาจะทำได้แค่ตั้งรับและพยายามประคองตัวเอาไว้เท่านั้นเอง
ทั้งนี้อุปสรรคสำคัญประการหนึ่ง ก็คือ ในมุมของคนญี่ปุ่น รู้สึกว่าเบนโตะต้องขายในราคาที่ไม่แพง เมื่อเทียบกับการกินอย่างอื่นนอกบ้าน จึงทำให้ร้านเบนโตะไม่สามารถขึ้นราคาได้มากนัก ดังนั้นร้านค้าเล็กๆ บางแห่งที่ไม่มีความมั่นคงทางการเงิน อาจต้องเลิกกิจการไปในที่สุด จากสถานการณ์เช่นนี้ "
อนาคตของธุรกิจ ภายใต้ต้นทุนที่ยังคงพุ่งสูง
อีกหกเดือนหลังจากนี้จับตากันให้ดี
จะเป็นอย่างไรต่อไป เพราะมีรายงานแล้วว่าจะมีสินค้าที่ขึ้นราคาอีกอย่างแน่นอน
มากกว่า 2 หมื่นรายการ และมากกว่า 2 พันรายการที่จะแพงขึ้นถึง 5 เท่า
ญี่ปุ่นกับยุคข้าวยากหมากแพง คำนี้คงไม่ไกลเกินจริงมากนัก
ผลสำรวจของบริษัทวิจัย เทโกกุ ดาต้าแบงก์ อีกตัวนึงที่เพิ่งเผยแพร่ ในวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา
ระบุว่า ภายในปีนี้จะมีอาหารและเครื่องดื่มในญี่ปุ่นที่ขึ้นราคาอีกกว่าสองหมื่นรายการ เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี
สาเหตุหลักๆ มาจากต้นทุนวัตถุดิบที่แพงขึ้นและค่าขนส่งที่สูงขึ้น
โดยในเดือนกรกฎาคมนี้ แค่เพียงเดือนเดียว มีผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ 195 ราย วางแผนปรับขึ้นราคาสินค้าแล้ว 2,105 รายการ มีตั้งแต่เครื่องปรุงรสและขนมขบเคี้ยว และจะขึ้นราคามากถึง 5 เท่า เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ขณะที่สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า
มีการปรับขึ้นราคาสินค้าในญี่ปุ่นตลอดเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว มากว่า 18,697 รายการ
เยอะสุดในกลุ่มของเครื่องปรุงรส ซึ่งรวมถึงน้ำซุปและก้อนแกงกะหรี่ ( 6,108 รายการ)
ตามมาด้วยเครื่องดื่ม เช่น เบียร์และน้ำอัดลม ( 4,483 รายการ)
และอาหารแปรรูป เช่น อาหารแช่แข็งและข้าวปรุงสำเร็จบรรจุหีบห่อ ( 4,138 รายการ)
นอกจากต้นทุนด้านวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้นแล้ว เทโกกุยังเผยอีกว่า ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าขนส่ง ต้นทุนสาธารณูปโภคนั้นสูงขึ้น รวมไปถึงค่าใช้จ่ายด้านแรงงานที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากญี่ปุ่นเกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน
นอกจากนี้ยังต้องจับตาเรื่องของต้นทุนพลังงานในญี่ปุ่นอีกด้วย เนื่องจากที่ผ่านมาเกิดภาวะราคาน้ำมันดิบผันผวนท่ามกลางความตึงเครียดในตะวันออกกลาง ทำให้บริษัทในญี่ปุ่นจำเป็นต้องจับตาดูผลกระทบ และอาจจะต้องขึ้นราคาพลังงานซ้ำเติมไปอีก
ทั้งนี้มองย้อนกลับไป ญี่ปุ่นมีการปรับราคาสินค้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปี 2566 มีจำนวนรายการอาหารที่มีการปรับราคามากถึง 32,396 รายการ
ปี 2567 อยู่ที่ 12,520 รายการ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- รัฐมนตรีพาณิชย์ กางแผน แก้สินค้าเกษตรตกต่ำ - ปราบนอมินี - รับมือภาษีทรัมป์
- กกร. มองเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มอ่อนแรงลงจากหลายปัจจัยรุมเร้า
- พนักงาน “ถูกเลิกจ้าง” รับเงินทดแทน 60% จากประกันสังคม มีเงื่อนไขอะไรบ้าง ได้เงินนานแค่ไหน
- นายกฯ เผยหารือ ผู้นำฝรั่งเศส กระชับ-ยกระดับสัมพันธ์ ส่งเสริมการค้าเสรี
- ส.อ.ท.ชี้การเมืองเปลี่ยนเสี่ยงฉุดเศรษฐกิจไทย