โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

นักบินอวกาศนิโคล เอเยอร์ส บันทึกภาพสไปรต์สีแดงเหนืออเมริกาเหนือ

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา
นักบินอวกาศนิโคล เอเยอร์ส (Nichole “Vapor” Ayers) บันทึกภาพสไปรต์สีแดงเหนืออเมริกาเหนือ

เมื่อคืนวันที่ 3 กรกฎาคม พันโท นิโคล เอเยอร์ส นักบินอวกาศสังกัดองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NASA) ได้แชร์ภาพปรากฏการณ์สไปรต์สีแดงที่บันทึกไว้จากสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ขณะโคจรเหนือเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา
ภาพความละเอียดสูงเผยให้เห็นแสงสีน้ำเงินอมม่วงเรืองแสงรอบยอดเมฆฝนคะนอง พร้อมเสาสีแดงสดใสพุ่งทะยานขึ้นไปในชั้นมีโซสเฟียร์ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ Transient Luminous Event (TLE) ที่นักวิทยาศาสตร์เฝ้าสังเกตการณ์
ณ ปัจจุบัน เอเยอร์สและลูกเรือคนอื่น ๆ กำลังปฏิบัติภารกิจ ISS Expedition 73 โดยรับผิดชอบการทดลองทางวิทยาศาสตร์หลายด้าน ตั้งแต่การศึกษาปฏิกิริยาของจุลินทรีย์ในสภาพไร้น้ำหนัก ไปจนถึงการตรวจวัดพลังงานไฟฟ้าในชั้นบรรยากาศ

สไปรต์ (Sprite) คืออะไร?
สไปรต์ (Sprite) คือปรากฏการณ์แสงสว่างชั่วคราวเหนือเมฆฝนฟ้าคะนองที่จัดอยู่ในกลุ่ม Transient Luminous Events (TLE) เกิดขึ้นที่ชั้นมีโซสเฟียร์ (Mesosphere) ของโลก บริเวณความสูงประมาณ 50-90 กิโลเมตรเหนือยอดเมฆคิวมูโลนิมบัส ลักษณะเป็นแสงสีแดงหรือชมพูเรืองแสงเป็นรูปคล้ายร่างแห (Carrot sprite) และเส้นใย (Tendrils) ซึ่งจะปรากฏให้นักวิจัยเห็นเพียงไม่กี่มิลลิวินาทีเท่านั้น
สาเหตุสำคัญมาจากสนามไฟฟ้าเชิงควาซิ-สเตติก (Quasi-electrostatic field) ที่เกิดขึ้นทันทีหลังการปล่อยประจุบวกของฟ้าผ่าลงสู่พื้น สนามไฟฟ้านี้จะเร่งอิเล็กตรอนไปชนกับโมเลกุลไนโตรเจน ทำให้ไนโตรเจนในบรรยากาศปลดปล่อยแสงในช่วงคลื่นสีแดง

การบันทึกภาพสไปรต์ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจสมดุลไฟฟ้าและพลวัตของชั้นบรรยากาศชั้นบน รวมถึงประเมินผลกระทบต่อระบบสื่อสารและการบิน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในชั้นโอโซนและไอโอโนสเฟียร์ได้ดียิ่งขึ้นโดยไม่มีข้อจำกัดจากสภาพอากาศหรือมลภาวะทางแสงบนพื้นโลก
ภาพล่าสุดของนักบินอวกาศเอเยอร์สได้รับความสนใจอย่างล้นหลามบนโซเชียลมีเดีย มียอดวิวมากกว่า 2.7 ล้านครั้ง ภายในไม่กี่วัน นับเป็นหลักฐานชัดเจนว่าการสังเกตจากอวกาศยังคงมอบความตื่นตาตื่นใจและองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้กับชุมชนนักวิทยาศาสตร์และประชาชนทั่วไปเสมอครับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

จะเกิดสึนามิ! ดีอี เตือนอย่าเชื่อ เปิด 10 ข่าวปลอมที่ประชาชนสนใจมากสุด

17 นาทีที่แล้ว

อีลอน มัสก์ ประกาศจัดตั้ง “พรรคอเมริกา” หลังแยกทางกับทรัมป์ เหตุไม่เห็นด้วยกับกฎหมายเศรษฐกิจ

41 นาทีที่แล้ว

อัปเดตล่าสุด น้ำท่วมเท็กซัส ยังวิกฤต ?

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

พายุดานัส มาไทยหรือไม่? กรมอุตุฯ แจงชัด มรสุมแรงขึ้นจริงหรือ?

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอทีอื่น ๆ

อีลอน มัสก์ ประกาศจัดตั้ง “พรรคอเมริกา” หลังแยกทางกับทรัมป์ เหตุไม่เห็นด้วยกับกฎหมายเศรษฐกิจ

TNN ช่อง16

Sony สั่งระงับขาย Xperia 1 VII ในญี่ปุ่นชั่วคราว หลังเจอปัญหาเครื่องดับเอง-รีบูตไม่หยุด

sanook.com

AIS เปิดตัวแพ็ค GeForce NOW จ่ายที่เดียวรวมกับบิลเน็ตบ้าน ได้ที่นี่

sanook.com

Samsung Galaxy M36 5G ใช้ชิปเซ็ต Exynos 1380 กลับมาใช้ดีไซน์โมดูลกล้องแบบนูนขึ้น

Siamphone

กองทัพอากาศไทยพัฒนาโดรนพลีชีพ (Kamikaze UAV) สำเร็จสามารถโจมตีเป้าหมายอย่างแม่นยำ

TNN ช่อง16

เจ็ตแพ็กใต้น้ำ XiaoTun ราคาย่อมเยา ทางเลือกใหม่สำหรับนักดำน้ำทั่วไป

TNN ช่อง16

ข่าวและบทความยอดนิยม

ค้นพบวัตถุจากนอกระบบสุริยะผู้มาเยือนดวงที่ 3 ในประวัติศาสตร์

TNN ช่อง16

งานวิจัยชี้พายุฝุ่นบนดาวอังคารอาจก่อให้เกิดฟ้าผ่าภัยคุกคามยานสำรวจเพอร์เซเวียแรนซ์

TNN ช่อง16

NASA เผชิญโจทย์ใหญ่ หลังจรวดขับดันโครงการอาร์เทมิสเกิดความเสียหายระหว่างการทดสอบ

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...